บทความ

นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม

รูปภาพ
นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม ระบุยิ่งเกิดไฟป่า โลกก็จะยิ่งร้อน เป็นวงจรป้อนกลับ คาดกลางศตวรรษนี้ เหตุการณ์ไฟป่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาอีก 50% งานศึกษาใหม่พบว่าที่ผ่านมา เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลทำให้อาร์กติกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล (brown carbon) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่าไม้นั้น ถูกพัดเข้าไปยังบริเวณขั้วโลกเหนือ ก่อนหน้านี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ (black carbon) ที่มีต้นกำเนิดมาจากการเผาถ่านหิน และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล สามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้อนุภาคเหล่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ของมันก็ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับผลกระทบจาก ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล โดยงานศึกษาที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล มีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 3% แต่ในงานชิ้นใหม่ นักวิจัยพบว่า “ละอองผงฝุ่นเขม่าน้ำตาลในอาร์กติก มีส่วนในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 30% ของปริมาณที่ก่อเกิดโดยผงฝุ่นเขม่าดำ” ดังนั้น เขม่

แม่น้ำแคนาดาเปลี่ยนทิศหายไปใน 4 วัน แทนที่จะใช้เวลานับพันปี

รูปภาพ
แม่น้ำแคนาดาเปลี่ยนทิศหายไปใน 4 วัน แทนที่จะใช้เวลานับพันปี ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นธารน้ำที่ละลายจากปลายธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ช (ซ้าย) ซึ่งเป็นตัวการลักน้ำจากแม่น้ำสายหนึ่งไปสู่อีกสายหนึ่ง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯและแคนาดา ร่วมกันเผยแพร่ผลสำรวจทางภูมิศาสตร์ล่าสุดของดินแดนยูคอนทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาในวารสาร Nature Geoscience โดยระบุว่าแม่น้ำสลิมส์ ซึ่งเป็นทางเดินของน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ช ได้เหือดแห้งหายไปภายในระยะเวลาเพียง 4 วันระหว่างช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่แล้ว เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้ธารน้ำแข็งกร่อนสั้นลงจนเกิดปรากฏการณ์ "ลักน้ำ" (River piracy) จากทะเลสาบต้นน้ำของแม่น้ำสายดังกล่าว ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ "ลักน้ำ" ซึ่งเปลี่ยนทางเดินของน้ำจากแม่น้ำสายหนึ่งไปยังอีกสายหนึ่งนั้นหาพบได้ยาก และตามปกติต้องใช้เวลานานนับพันปีจึงจะทำให้แม่น้ำสายหนึ่งแห้งหายไปได้ แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับแม่น้ำสลิมส์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ทีมนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ชนั้นมีทะเลสาบธารน้ำแข็งที่ส่ว

ขั้วโลกร้อนระอุ! อุณหภูมิที่อาร์กติกและแอนตาร์กติกา พุ่งสูงกว่าปกติ 30 และ 40 องศาเซลเซียสตามลำดับ

รูปภาพ
ขั้วโลกร้อนระอุ! อุณหภูมิที่อาร์กติกและแอนตาร์กติกา พุ่งสูงกว่าปกติ 30 และ 40 องศาเซลเซียสตามลำดับ บริเวณขั้วโลกทั้งสองกำลังเผชิญความร้อนมากขึ้น โดยในพื้นที่บางส่วนของแอนตาร์กติกามีอุณภูมิร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึง 40 องศาเซลเซียส ขณะอุณหภูมิในอาร์กติ ร้อนกว่าค่าเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส สถานีสภาพอากาศในแอนตาร์กติกาบางแห่งบันทึกอุณหภูมิทุบสถิติในบางแห่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยเรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องตกใจ เนื่องจากในบริเวณอาร์ติกก็เผชิญอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเช่นกัน โดยพื้นที่ขั้วโลกเหนือเข้าใกล้จุดละลาย ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ปกติในช่วงกลางเดือนมีนาคม "ทั้งสองพื้นที่มีฤดูกาลที่ตรงข้ามกัน คุณจะไม่ได้เห็นขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายในช่วงเวลาเดียวกัน นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติ และมันเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก" Walt Meier เผย "ฉันไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ที่แอนตาร์กติกา" Ted Scambos ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Colorado เผย ขณะ Matthew Lazzara ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Wisconsin เผยว่า "นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดีที่สิ่งแบบนี้เกิดขึ้น" ทั้ง Lazzara และ Meier ชี้ว่า ส

นักวิจัยใช้ เรด้าศึกษา แอนตาร์กติก พบธารน้ำแข็ง สูญเสียน้ำแข็งมาก กว่าที่คาดการณ์เอาไว้ กังวลผลกระทบน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

รูปภาพ
นักวิจัยใช้ เรด้าศึกษา แอนตาร์กติก พบธารน้ำแข็ง สูญเสียน้ำแข็งมาก กว่าที่คาดการณ์เอาไว้ กังวลผลกระทบน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว งานศึกษาชิ้นใหม่จาก University of Houston ใช้เทคโนโลยีเรดาร์ ศึกษาธารน้ำแข็ง 3 แห่งในขั้วโลกใต้ และบันทึกข้อมูลในแบบที่สมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน โดยข้อมูลนี้ช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับธารน้ำแข็งในดินแดนห่างไกลของโลก อีกทั้งยังสร้างความตระหนักถึงความฉุกเฉินของความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต จากการใช้ดาวเทียมเรดาร์ นักวิจัยได้ศึกษาอัตราการสูญเสียน้ำแข็งของธารน้ำแข็ง Pope, Smith และ Kohler ในแอนตาร์กติกา โดยพบว่าธารน้ำแข็งเหล่านี้สูญเสียน้ำแข็งอย่างรวดเร็วมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งนักวิจัยชี้ว่าเป็นสัญญาณเตือนว่าสิ่งต่างๆกำลังเปลี่ยนไปอย่างไม่มั่นคง และอาจมีความหมายโดยนัยถึงธารน้ำแข็งอื่นๆในพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีเรดาร์จะช่วยให้นักวิจัยสามารถทำการศึกษาได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงยังสามารถช่วยคาดการณ์ระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นได้แม่นยำยิ่งขึ้น นักวิจัยชี้ว่าหากธารน้ำแข็งทั่วโลกละล

ดวงตาแห่งแอฟริกา Eye of Africa

รูปภาพ
ดวงตาแห่งแอฟริกา  (Eye of Africa) หรือโครงสร้างริชาร์ท (The Richat Structure)   หากมองจากทางอากาศพื้นที่แห่งนี้จะมีลักษะคล้ายกับดวงตาที่ปรากฏขึ้นบนทะเลทรายซาฮารา สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (Islamic Republic of Mauritania) จึงเป็นที่มาของฉายาอีกอย่างคือ ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮารา มีรูปทรงคล้ายโดม กว้างประมาณ 40 กิโลเมตร สามารถมองเห็นได้ไกลจากอวกาศถึง 50 กิโลเมตร โดยไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปดวงตาได้จากพื้นดินเพราะเป็นการยกตัวขึ้นของหินตะกอนที่มีอายุมากกว่าพันปีมาแล้ว เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนที่รักการผจญภัย ถึงแม้ว่าแต่ละสถานที่จะดูลึกลับ  น่ากลัว แฝงไปด้วยปริศนาและความน่าพิศวงมากมาย แต่มันก็สร้างสีสันและความสวยงามให้กับโลกใบนี้ไม่ใช่น้อย ภาพถ่ายดาวเทียมแลนเซท 7 (Landsat 7,) ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนเซท 7(Landsat 7,)   ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮาร่า Eye of the Sahara หรือดวงตาแห่งอัฟริกา “Eye of Africa.”รูปทรง  ริชาท (Richat Structure )หรือที่เรียกกันว่า  ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮาร่า Eye of the Sahara หรือดวงตาแห่งอัฟริกา “Eye of Africa.” อยู่ในเขตทะเลทรายซา

ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ครั้งแรกในรอบ 40 ปี

รูปภาพ
ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ครั้งแรกในรอบ 40 ปี ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ มี เรื่องแปลก มากๆ เมื่อเดลี่เมล์ รายงานว่าวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา ทะเลทราย ซาฮาร่า ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นทะเลทรายที่ร้อนที่สุดในโลก หิมะตก บริเวณที่หิมะตก อยู่ในประเทศแอลจีเรีย เมืองเซฟรา เป็นที่ตกตะลึงแก่ชาวเมืองเป็นอย่างมาก  เนื่องจากไม่เคยมีหิมะตกในบริเวณดังกล่าวกว่า 4 ทศวรรษแล้ว ครั้งล่าสุดที่บันทึกไว้คือ เมื่อปี 1979หรือ 37 ปีที่แล้วเลยทีเดียว ช่างภาพท้องถิ่นผู้บันทึกภาพกล่าวว่า เขาตกใจมากที่ตื่นมาแล้วพบหิมะขาวโพรน ปกคลุมไปทั่วทะเลทราย ที่กว้างใหญ่ เขาจึงรีบบันทึกภาพเก็บไว้เพราะกลัวมันจะละลายหลังจากบันทึกภาพเสร็จ หิมะดังกล่าวก็ค่อยๆละลาย และหายไปหมดในเวลา ห้าโมงเย็น ส่วนสาเหตุนั้นพบว่าเกิดจากความกดอากาศสูงจากยุโรปแผ่เข้ามาทำให้ บริเวณแอฟริกาเหนือมีอากาศเย็นและ บางพื้นที่ หรือ แม้แต่ทะเลทรายซาฮาร่า ก็ยังมีหิมะตกเห็นแบบนี้แล้ว ก็มีความหวังเล็กๆ ว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเห็นหิมะตกในเมืองไทย ก็เป็นไปได้  แต่อีกนัยหนึ่งก็ได้เห็นถึงความน่ากลัว และความวิปริต ขอ

ไข่น้ำแข็ง เกลื่อนชายหาดฟินแลนด์ หลังเจอสภาพอากาศผันผวนผิดปกติ

รูปภาพ
พบก้อนน้ำแข็งรูปไข่จำนวนมาก บนชายหาดเกาะไฮลัวโท (Hailuoto) ของฟินแลนด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่อยู่อาศัยบนเกาะไฮลัวโท (Hailuoto) ของฟินแลนด์ พบก้อนน้ำแข็งรูปไข่จำนวนมากเรียงรายอยู่บนชายหาด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยปรากฏการณ์ประหลาดนี้เกิดขึ้น หลังพื้นที่แถบนั้นเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงฉับพลันและมีลมพัดแรง ซึ่งสภาพอากาศผันผวนเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  นายริสโต มัตติลา ช่างภาพมือสมัครเล่นซึ่งบันทึกภาพ "ไข่น้ำแข็ง" เหล่านี้ไว้ได้บอกว่า "เช้าวันนั้นผมไปเดินเล่นที่ชายหาดกับภรรยา สภาพอากาศแจ่มใสแต่ก็ออกจะหนาวอยู่ โดยอุณหภูมิ -1 องศาเซลเซียส และมีลมพัดจัดกว่าปกติ" หิมะม้วน : พบปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หาดูได้ยากในอังกฤษ พบภูเขาน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสมบูรณ์แบบในธรรมชาติ พบวงแหวนน้ำแข็งยักษ์ก่อตัวในแม่น้ำสหรัฐฯ "ผมอยู่บนเกาะนี้มา 25 ปี แต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน ไข่น้ำแข็งฟองกลม ๆ ละลานตา ปกคลุมชายหาดเป็นแนวยาวราว 30 เมตร ก้อนน้ำแข็งลูกเล็กที่สุดมีขนาดประมาณเท่าไข่ไก่ ส่วนลูกที่ใหญ่ที่สุดนั้นเท่ากับลูกฟุตบอลเห็นจะได้"   นายจ