นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม

นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม ระบุยิ่งเกิดไฟป่า โลกก็จะยิ่งร้อน เป็นวงจรป้อนกลับ คาดกลางศตวรรษนี้ เหตุการณ์ไฟป่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาอีก 50%

งานศึกษาใหม่พบว่าที่ผ่านมา เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลทำให้อาร์กติกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล (brown carbon) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่าไม้นั้น ถูกพัดเข้าไปยังบริเวณขั้วโลกเหนือ

ก่อนหน้านี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ (black carbon) ที่มีต้นกำเนิดมาจากการเผาถ่านหิน และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล สามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้อนุภาคเหล่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ของมันก็ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับผลกระทบจาก ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล

โดยงานศึกษาที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล มีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 3% แต่ในงานชิ้นใหม่ นักวิจัยพบว่า “ละอองผงฝุ่นเขม่าน้ำตาลในอาร์กติก มีส่วนในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 30% ของปริมาณที่ก่อเกิดโดยผงฝุ่นเขม่าดำ” ดังนั้น เขม่าจากไฟป่าครั้งที่ผ่าน ๆ มาจึงมีผลกระทบต่ออาร์กติกมากกว่าที่คิด

สิ่งที่น่ากังวลคือ ในเวลา 50 ปีที่ผ่านมา อาร์กติกร้อนขึ้นเร็วกว่าจุดอื่น ๆ บนโลกถึง 3 เท่า เพราะว่าโดยปกติแล้ว น้ำแข็งและหิมะในอาร์กติกจะเป็นตัวสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ แต่เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย อาร์กติกก็จะขาดพื้นผิวที่ช่วยสะท้อนแสง น้ำที่มีสีเข้มกว่าก็จะยิ่งดูดความร้อน ส่งผลให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นอีก

ดังนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นวงจรป้อนกลับ กล่าวคือ เมื่อโลกร้อนขึ้น ไฟป่าก็จะเกิดบ่อยขึ้น เมื่อมีผงฝุ่นเขม่าน้ำตาลเพิ่มขึ้น โลกก็จะยิ่งร้อนขึ้น และน้ำแข็งก็จะละลายหายไปมากกว่าเดิม โดยงานศึกษาจาก UN เมื่อเร็ว ๆ นี้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 เหตุการณ์ไฟป่าอาจเพิ่มขึ้นมามากถึง 50% เลยทีเดียว

Why a Half Degree Rise in Global Temperature Would Be Catastrophic

The Science of Wildfires: Why They're Getting Worse | WSJ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมฆสีมุก เมฆสารพัดสีปรากฏการณ์เมฆแปลกๆที่หาดูได้ยากมาก

Troll A นอร์เวย์ แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก...

อารยธรรมต่างดาวอาจตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือของเราได้