บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ไฟป่า

นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยไฟป่าจากถ่านกำมันตรังสีที่เก่าแก่ที่สุด อายุกว่า 430 ล้านปี จากประเทศเวลส์และโปแลนด์

รูปภาพ
นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยไฟป่าจากถ่านกำมันตรังสีที่เก่าแก่ที่สุด อายุกว่า 430 ล้านปี จากประเทศเวลส์และโปแลนด์อันเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนชีวิตบนโลกในยุค Silurian เมื่อสี่ร้อยกว่าล้านปีก่อน ย้อนกลับไปในยุคนั้น ชีวิตของพืชต้องพึ่งพาน้ำเป็นอย่างมากเพื่อที่จะขยายพันธุ์ ทำให้ส่วนมากพืชจะไม่ค่อยถูกพบในภูมิภาคที่อากาศแห้ง ไฟป่าที่กล่าวถึงในงานศึกษาชิ้นนี้ได้เผาไหม้พืชที่เตี้ยมาก หรืออาจสูงเพียงเข่าหรือเอวเท่านั้น นักวิจัยกล่าวว่าโลกเราถูกปกคลุมด้วยเชื้อราดึกดำบรรพ์อย่าง  Prototaxites เป็นสำคัญมากกว่าเหล่าต้นไม้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อรานี้มากนัก แต่เชื่อว่าสามารถเติบโตได้สูงถึงเก้าเมตร Ian Glasspool นักพฤกษศาสตร์บรรพชีวินวิทยาจาก Colby College ในรัฐเมนกล่าวว่า "ตอนนี้ดูเหมือนว่าหลักฐานการเกิดเพลิงไหม้ของเราใกล้เคียงกับหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ของพืชบนบกที่เก่าแก่ที่สุด ทันทีที่มีเชื้อเพลิง อย่างน้อยก็ในรูปแบบของฟอสซิลของพืช ไฟป่าแทบจะเกิดในทันทีทันใด" นักวิจัยกล่าวว่าไฟสามารถแพร่กระจายและทิ้งคราบถ่านไว้ได้ แสดงให้เห็นว่าระดับออกซิเจนในบรรยากาศของโลกอยู่ที่อย่างน้อย 16

นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม

รูปภาพ
นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม ระบุยิ่งเกิดไฟป่า โลกก็จะยิ่งร้อน เป็นวงจรป้อนกลับ คาดกลางศตวรรษนี้ เหตุการณ์ไฟป่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาอีก 50% งานศึกษาใหม่พบว่าที่ผ่านมา เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลทำให้อาร์กติกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล (brown carbon) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่าไม้นั้น ถูกพัดเข้าไปยังบริเวณขั้วโลกเหนือ ก่อนหน้านี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ (black carbon) ที่มีต้นกำเนิดมาจากการเผาถ่านหิน และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล สามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้อนุภาคเหล่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ของมันก็ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับผลกระทบจาก ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล โดยงานศึกษาที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล มีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 3% แต่ในงานชิ้นใหม่ นักวิจัยพบว่า “ละอองผงฝุ่นเขม่าน้ำตาลในอาร์กติก มีส่วนในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 30% ของปริมาณที่ก่อเกิดโดยผงฝุ่นเขม่าดำ” ดังนั้น เขม่