บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ สิ่งแวดล้อม

มลพิษทางอากาศทำให้กระดูกมนุษย์อ่อนแอลง

รูปภาพ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพหัวใจ, ปอด, ดวงตา, ทารกในครรภ์ หรือแม้แต่สุขภาพจิต ล่าสุดยังพบว่าสามารถทำให้กระดูกเสื่อมจนเปราะหักง่ายก่อนวัยได้อีกด้วย   ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดยสถาบันเพื่อสุขภาพโลกแห่งบาร์เซโลนา (ISGlobal) ของสเปน ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสารการแพทย์ JAMA Network Open โดยระบุว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนต้นของเมืองที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับสูง มีแนวโน้มที่สัดส่วนแร่ธาตุในกระดูกจะลดน้อยถอยลงกว่าปกติ มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของฝุ่น PM2.5 จากสถานที่ 23 แห่งโดยรอบเมืองไฮเดอราบัดของอินเดีย กับความหนาแน่นของแร่ธาตุในมวลกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังของชาวอินเดีย 3,700 คน ที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว ซึ่งคนเหล่านี้มีอายุโดยเฉลี่ย 35.7 ปี  ผลปรากฏว่าพื้นที่ที่ทำการศึกษามีค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ในอากาศตลอดทั้งปีที่ 32.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยกำหนดไว้ถึง 3 เท่า ทีมผู้วิจัยพบว่า เมื่

โลกจะเผชิญอุณหภูมิร้อนสุดขั้วตลอด 4 ปีข้างหน้า

รูปภาพ
สภาพภูมิอากาศโลกมีแนวโน้มจะร้อนแรงขึ้นตลอดช่วงระยะเวลา 4 ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากวงจรสภาพอากาศตามธรรมชาติเข้าสู่ระยะที่ร้อนที่สุดช่วงหนึ่งในรอบไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เสริมให้ภาวะโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์มีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก การทำนายสภาพอากาศโลกดังกล่าว มาจากผลการศึกษาทางสถิติที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ซึ่งระบุว่านับแต่ปีนี้เป็นต้นไป ทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับคลื่นความร้อนและภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นไปจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย ดร. ฟลอเรียน ซีวีลเลก จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้บอกว่า ในช่วงสิบกว่าปีแรกของต้นศตวรรษที่ 21 คือระหว่างปี 1998-2010 ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของมนุษย์นั้นไม่ได้บรรเทาเบาบางลง แต่เราไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรงมากนัก เพราะได้รับความเย็นชดเชยจากวงจรสภาพอากาศตามธรรมชาติที่ยังคงเป็นปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) อยู่ อย่างไรก็ตาม โลกได้เข้าสู่วงจรสภาพอากาศช่วงใหม่ที่มีความร้อนระอุมากขึ้นในปีนี้ ทำให้ปี 2018 มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาวะโลกร้อนในระยะยาวถึง

โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร

รูปภาพ
โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร  หากปล่อยให้ร้อนอีก 2 องศาเซลเซียส หากเกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นจริง หลายพื้นที่ของโลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนผู้คนไม่อาจอาศัยอยู่ได้ ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติชี้ว่า โลกของเรามีความเสี่ยงจะเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดที่ไม่อาจแก้ไขให้คืนสภาพเดิมได้ในอีกไม่ กี่ร้อยปีข้างหน้า แม้ว่าชาติต่าง ๆ จะพยายามร่วมมือกันตัดลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้สำเร็จ ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ก็ตาม รายงานดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า หากเรายังคงปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก จนถึงจุดที่เหนือกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส เมื่อนั้นจะเกิดการรบกวนระบบดูดซับคาร์บอนในธรรมชาติ ให้กลับกลายเป็นตัวการปลดปล่อยคาร์บอน ปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแทน ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดถาวร ในแต่ละปี ผืนป่าสำคัญอย่างป่าแอมะซอน รวมทั้งมหาสมุทรต่าง ๆ และชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ในแถบขั้วโลก ได้ดูดซับคาร์บอน จากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ถึง 4.5 พันล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วย