บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

ปราการน้ำแข็งสูงยิ่งกว่าตึกระฟ้า300 ชั้น ปิดกั้นทางเข้าทวีปอเมริกายุคโบราณเมื่อราว 20,000 ปีก่อน

รูปภาพ
ปราการน้ำแข็งสูงยิ่งกว่าตึกระฟ้า300 ชั้น ปิดกั้นทางเข้าทวีปอเมริกายุคโบราณเมื่อราว 20,000 ปีก่อน หลักฐานทางธรณีวิทยาที่ค้นพบล่าสุดชี้ว่า มีกำแพงน้ำแข็งขนาดยักษ์ที่สูงตระหง่านเท่ากับตึกระฟ้า 300 ชั้น ปิดกั้นไม่ให้มนุษย์เดินเท้าอพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาได้ เมื่อราว 20,000 ปีก่อน ทีมนักธรณีวิทยานานาชาติจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร PNAS ฉบับออนไลน์ ประจำวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา  โดยระบุว่าการค้นพบใหม่นี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่ช่วยยืนยันว่า บรรพบุรุษของชนพื้นเมืองอเมริกันที่มาถึงทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เมื่อราว 23,000 - 33,000 ปีก่อน ใช้วิธีล่องเรือเลาะมาตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มากกว่าจะเดินข้ามสะพานแผ่นดินเบริงเจีย (Beringia land bridge) ที่เชื่อมต่อไซบีเรียกับอเมริกาเหนือ ซึ่งยังไม่ปรากฏขึ้นในยุคนั้น ปัจจุบันคำถามที่ว่ามนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโมเซเปียนส์ เดินทางมาถึงทวีปอเมริกาได้อย่างไรและเมื่อใดกันแน่ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการค้นพบหลักฐานใหม่หลายชิ้น ทั้งฟอสซิลรอยเท้ามนุษย์และเครื่องมือหินอายุเก่

เลขาธิการ UN ระบุ ภายใน 5 ปี ทุกพื้นที่บนโลกควรมีระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว-ภัยจากภาวะโลกรวนในอนาคต

รูปภาพ
เลขาธิการ UN ระบุ ภายใน 5 ปี ทุกพื้นที่บนโลกควรมีระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว-ภัยจากภาวะโลกรวนในอนาคต  ชี้ระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพียง 24 ชม. ก็สามารถช่วยลดความเสียหายได้มากกว่าที่คิด António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ออกมาระบุว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกคนบนโลกควรจะได้รับการครอบคลุม ภายใต้ระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับกับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว และภัยต่าง ๆ จากภาวะโลกรวน โดยระบุว่าในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกกว่า 1 ใน 3 และผู้คนในแอฟริกากว่า 6 ใน 10 ยังขาดระบบเตือนภัยพิบัติ แต่ยิ่งวิกฤตโลกรวนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนจำนวนมากก็จะยิ่งต้องเผชิญกับผลกระทบ จากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว ที่รวมถึงปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน คลื่นความร้อน พายุ และปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง โดยรายงานล่าสุดจาก IPCC เผยว่า มวลมนุษยชาติกว่าครึ่งหนึ่ง อาศัยอยู่ภายใน ‘โซนเสี่ยงภัย’ จากภาวะโลกรวน อย่างไรก็ตาม Guterres กล่าวว่าในปัจจุบัน เงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate finance) ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มักถูกนำไปใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจก มากกว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ความจริงแล้ว “เราค

นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม

รูปภาพ
นักวิทย์ฯ เผย ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีส่วนทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น-น้ำแข็งละลายเร็วกว่าเดิม ระบุยิ่งเกิดไฟป่า โลกก็จะยิ่งร้อน เป็นวงจรป้อนกลับ คาดกลางศตวรรษนี้ เหตุการณ์ไฟป่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาอีก 50% งานศึกษาใหม่พบว่าที่ผ่านมา เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลทำให้อาร์กติกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล (brown carbon) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่าไม้นั้น ถูกพัดเข้าไปยังบริเวณขั้วโลกเหนือ ก่อนหน้านี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ (black carbon) ที่มีต้นกำเนิดมาจากการเผาถ่านหิน และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล สามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้อนุภาคเหล่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ของมันก็ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับผลกระทบจาก ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล โดยงานศึกษาที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ผงฝุ่นเขม่าน้ำตาล มีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 3% แต่ในงานชิ้นใหม่ นักวิจัยพบว่า “ละอองผงฝุ่นเขม่าน้ำตาลในอาร์กติก มีส่วนในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 30% ของปริมาณที่ก่อเกิดโดยผงฝุ่นเขม่าดำ” ดังนั้น เขม่

แม่น้ำแคนาดาเปลี่ยนทิศหายไปใน 4 วัน แทนที่จะใช้เวลานับพันปี

รูปภาพ
แม่น้ำแคนาดาเปลี่ยนทิศหายไปใน 4 วัน แทนที่จะใช้เวลานับพันปี ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นธารน้ำที่ละลายจากปลายธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ช (ซ้าย) ซึ่งเป็นตัวการลักน้ำจากแม่น้ำสายหนึ่งไปสู่อีกสายหนึ่ง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯและแคนาดา ร่วมกันเผยแพร่ผลสำรวจทางภูมิศาสตร์ล่าสุดของดินแดนยูคอนทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาในวารสาร Nature Geoscience โดยระบุว่าแม่น้ำสลิมส์ ซึ่งเป็นทางเดินของน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ช ได้เหือดแห้งหายไปภายในระยะเวลาเพียง 4 วันระหว่างช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่แล้ว เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้ธารน้ำแข็งกร่อนสั้นลงจนเกิดปรากฏการณ์ "ลักน้ำ" (River piracy) จากทะเลสาบต้นน้ำของแม่น้ำสายดังกล่าว ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ "ลักน้ำ" ซึ่งเปลี่ยนทางเดินของน้ำจากแม่น้ำสายหนึ่งไปยังอีกสายหนึ่งนั้นหาพบได้ยาก และตามปกติต้องใช้เวลานานนับพันปีจึงจะทำให้แม่น้ำสายหนึ่งแห้งหายไปได้ แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับแม่น้ำสลิมส์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ทีมนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ธารน้ำแข็งคาสคาวูล์ชนั้นมีทะเลสาบธารน้ำแข็งที่ส่ว

ขั้วโลกร้อนระอุ! อุณหภูมิที่อาร์กติกและแอนตาร์กติกา พุ่งสูงกว่าปกติ 30 และ 40 องศาเซลเซียสตามลำดับ

รูปภาพ
ขั้วโลกร้อนระอุ! อุณหภูมิที่อาร์กติกและแอนตาร์กติกา พุ่งสูงกว่าปกติ 30 และ 40 องศาเซลเซียสตามลำดับ บริเวณขั้วโลกทั้งสองกำลังเผชิญความร้อนมากขึ้น โดยในพื้นที่บางส่วนของแอนตาร์กติกามีอุณภูมิร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึง 40 องศาเซลเซียส ขณะอุณหภูมิในอาร์กติ ร้อนกว่าค่าเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส สถานีสภาพอากาศในแอนตาร์กติกาบางแห่งบันทึกอุณหภูมิทุบสถิติในบางแห่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยเรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องตกใจ เนื่องจากในบริเวณอาร์ติกก็เผชิญอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเช่นกัน โดยพื้นที่ขั้วโลกเหนือเข้าใกล้จุดละลาย ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ปกติในช่วงกลางเดือนมีนาคม "ทั้งสองพื้นที่มีฤดูกาลที่ตรงข้ามกัน คุณจะไม่ได้เห็นขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายในช่วงเวลาเดียวกัน นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติ และมันเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก" Walt Meier เผย "ฉันไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ที่แอนตาร์กติกา" Ted Scambos ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Colorado เผย ขณะ Matthew Lazzara ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Wisconsin เผยว่า "นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดีที่สิ่งแบบนี้เกิดขึ้น" ทั้ง Lazzara และ Meier ชี้ว่า ส