บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ภาวะโลกร้อน

เมืองแห่งป่าเมืองแห่งอนาคตช่วยลดมลพิษในจีน

รูปภาพ
“เมืองแห่งป่า”เมืองแห่งอนาคตช่วยลดมลพิษในจีน จีนเปิดตัวโครงการก่อสร้าง "เมืองแห่งป่า"ที่แรกของประเทศและของโลกที่เมืองหลิ่วโจว ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เพื่อให้เมืองแห่งนี้ทำหน้าที่เสมือนผืนป่าช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในจีน เมืองแห่งนี้เป็นผลงานการออกแบบโดย สเตฟาโน โบเอริ สถาปนิกชาวอิตาลีผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานการออกแบบอาคารแนวอิงธรรมชาติที่มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ โดยเมืองแห่งป่าจะมีอาคารกว่า 70 หลังที่สามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้ราว 30,000 คน และมีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้กว่า 1 ล้านต้น คาดว่าโครงการนี้จะเริ่มการก่อสร้างได้ในปี 2020 ผู้ออกแบบเชื่อว่า ต้นไม้ในเมืองแห่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของจีน เนื่องจากสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ต้นเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ปีละ 10,000 ตัน และช่วยผลิตก๊าซออกซิเจน 900 ตัน ทั้งจะช่วยลดอุณหภูมิบริเวณโดยรอบ รวมทั้งเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้แก่สัตว์ป่า

8 เมืองใหญ่จะสาบสูญศตวรรษหน้า

รูปภาพ
หลงลืมกันไปนานถึงพิษภัยของ ภาวะโลกร้อน  ต้องขอบคุณ “วิกฤติฝุ่นพิษ” ที่กระตุ้นให้คนไทยหวาดผวาตื่นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นี่แค่สัญญาณเตือนเบาะๆเท่านั้น เมื่อเร็วๆนี้มีการทำนายจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวหอกของโลกว่า ในอีก 8 ทศวรรษข้างหน้า จะมี 8 เมืองใหญ่มหาอำนาจของโลกต้องกลายเป็นเมืองผีสิงไร้ผู้คนอาศัย เพราะทนการแผดเผาของอุณหภูมิโลกที่ร้อนระอุเป็นไฟไม่ได้ 🌎ในรายงานสุดลับของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อตั้งโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการ สิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) คาดการณ์ว่าภายในปี 2040 อุณหภูมิทั่วโลกจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จากระดับเดิมในยุคก่อนอุตสาหกรรม ส่งผลให้ กรุงเทพมหานคร, ชิคาโก, ไมอามี, นิวออร์ลีนส์, ดูไบ, อาบูดาบี, เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง และนิวเดลี เสี่ยงจะหายวับไปกับตา กลายเป็น “เมืองร้าง” ในอีกไม่กี่ ปีข้างหน้า ช็อกไหมล่ะ เกิดอะไรขึ้นกับเมืองทรงอิทธิพลเหล่านี้?! นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักพากันคาดการณ์ว่า “ไมอามี” และ “นิวออร์ลีนส์” จะถูกน้ำท่วมจมหายเป็น “เมืองบาดาล” ในอีก 8 ทศวรรษข้างหน้า เพราะมีทำเลที่ตั้

หมู่เกาะวานูอาตูจะฟ้องศาลเอาผิดกับผู้สร้างแก๊สเรือนกระจก

รูปภาพ
ค้นหา วานูอาตู เป็นชาติหมู่เกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของออสเตรเลียและเมื่อเร็วๆ นี้ นายราฟ เรเวานู(Ralph Regenvanu  ) รัฐมนตรีต่างประเทศของวานูอาตูกล่าวว่าประเทศของเขากำลังพิจารณาเอาความทางกฏหมายต่อบรรดาเจ้าของอุตสาหกรรมเเละประเทศต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากพลังงานเชื้อเพลิงจาก ซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเป็นต้วสร้างมลภาวะทางอากาศ สาเหตุของภาวะโลกร้อน นายเรเกนวานูกล่าวว่าวานูอาตูเป็นชาติที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลกมากกว่าชาติอื่นๆ เเม้ว่าจะเป็นชาติที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์น้อยที่สุดก็ตาม เขากล่าวว่าถึงเวลาเเล้วที่ประเทศอุตสาหกรรมที่สร้างมลภาวะมากที่สุดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่วานูอาตูต้องประสบเนื่องจากภาวะโลกร้อน เขากล่าวว่าบริษัทเจ้าของอุตสาหกรรมน้ำมัน แก๊สเเละถ่านหิน ทำกำไรได้หลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทุกปีและควรรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งเเวดล้อมเเละเศรษฐกิจของประเทศอย่าง วานูอาตู ที่เริ่มได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งภาวะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ชี้ภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้ละลายเร็วขึ้น

รูปภาพ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2011 ทวีปแอนตาร์ติกาสูญเสียแผ่นน้ำเเข็งไปแล้ว 76 ล้านตันต่อปี พวกเขากล่าวว่าการละลายของแผ่นน้ำเเข็งได้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 219 พันล้านตันต่อปี เริ่มตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 หรือเมื่อหกปีที่แล้ว อิสเบลลา เวลลิค็อกนา (Isabella Velicogna) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (University of California Irvine) หนึ่งในผู้ร่างผลการวิจัยทั้งหมด 88 คน กล่าวว่า คนเราควรกังวลต่อเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรรู้สึกหมดหวัง แผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลายอยู่ในขณะนี้เเละกำลังละลายอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาด   😂ด้านแอนดรูว์ เชพเปิร์ต (Andrew Shepherd) หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ในอังกฤษ กล่าวว่า เป็นไปได้ที่การละลายของแผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพียงอย่างเดียวจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 16 เซ็นติเมตรทั่วโลกภายในก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้  เขากล่าวว่าภายใต้สภาพตามธรรมชาติเเล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดว่าแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเเม้เเต่น้อย  จึงไม่มีสาเหตุอื่นใดนอกเสียจากการเปลี่ยนแป

ทั่วโลกร่วมประท้วงโลกร้อนรอบใหม่

รูปภาพ
ผู้คนทั้งจากฝั่งยุโรปไปจนถึงเอเชีย ร่วมเดินขบวนประท้วงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ         ในวันศุกร์การประท้วงเริ่มต้นจากนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย     ที่ผู้ประท้วงรวมตัวกันด้านหน้าที่ทำการพรรค New South Wales Liberal เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิกโครงการด้านพลังงานฟอสซิลใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ชุมนุมออสเตรเลียมองว่าเหตุไฟป่าร้ายแรง เมื่อไม่      กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศ นั้น เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ ผู้ประท้วงเป่าบอลลูนเป็นรูปเด็กทารก พร้อมข้อความว่า “ลองทายน้ำหนักตัวของฉัน เป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์.ซิ!” กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Friday for Future ประเมินว่าการประท้วงล่าสุดนี้เกิดขึ้น ใน 2,300 เมือง ใน 153 ประเทศ  ทั่วโลก ในวันศุกร์เกรต้า ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน มีกำหนดการร่วมเดินขบวนที่กรุงลิสบอน แห่งโปรตุเกส แต่ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ทำให้การเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติดจากนิวยอร์กเป็นไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนด แต่เธอก็ยังทวีตต่อผู้สนับสนุนให้ออกมาร่วมเดินขบวนกันตามกำหนดการเดิ

มหาสมุทรร้อนจนระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30 ซม.ก่อนสิ้นศตวรรษนี้

รูปภาพ
ภาวะโลกร้อน : มหาสมุทรร้อนจนระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30 ซม.ก่อนสิ้นศตวรรษนี้ ทีมนักวิจัยนานาชาติเผยผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Science โดยชี้ว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้มาก ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการขยายตัว จนระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 30 เซนติเมตร ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้ ปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลขยายตัวเนื่องมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น (Thermal expansion) ทำให้มีความเสี่ยงที่เมืองตามแนวชายฝั่งจะถูกน้ำทะเลหนุนท่วม นอกจากนี้ การที่มหาสมุทรร้อนยิ่งกว่าเดิมยังหมายความว่าหลายพื้นที่จะต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนบ่อยครั้งขึ้น เช่นการเกิดพายุที่มีความรุนแรงผิดปกติ นายซีค เฮาส์ฟาเธอร์ หนึ่งในทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ของสหรัฐฯ บอกว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2018 ที่ผ่านมานั้น ถือเป็นปีที่มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติมา สัญญาณของภาวะโลกร้อนนั้นสามารถตรวจพบในมหาสมุทรได้ง่ายกว่าบนบก และเนื่องจากมหาสมุทรดูดซับความร้อนส่วนเกินในชั้

ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร

รูปภาพ
ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป”กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วมเช่นกัน คุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร ปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นกา

ร่วมแก้ ปัญหาโลกร้อน13 อย่างง่ายๆ หยุด ภาวะโลกร้อน

รูปภาพ
13 อย่างง่ายๆ หยุด ภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรง คุณสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้ 1. เปลี่ยนหลอดไฟ การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี 2. ขับรถให้น้อยลง หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์ 3. รีไซเคิลของใช้ ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี 4. เช็คลมยาง การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์ 5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์ 6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี 7. ปรับอุณหภูมิห