บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2021

นักวิจัยพบสาเหตุที่เนินพุโคลนบนเกาะชวาพ่นโคลนไม่หยุดมานาน 11 ปีแล้ว

รูปภาพ
ค้นหา เนินพุโคลน Lusi บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ปะทุพ่นโคลนออกมาอย่างต่อเนื่องมานาน 14 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2006 สร้างความสงสัยแก่นักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเพราะอะไรมันถึงไม่หยุดพ่นโคลนออกมาเสียที ถ้าเป็นเนินพุโคลนทั่วไปมันควรหยุดไปตั้งนานแล้ว  ในที่สุดนักวิจัยก็ค้นพบสาเหตุแล้วว่าเกิดจากการเชื่อมต่อกับภูเขาไฟข้างเคียงที่ใต้ดินระดับลึก  ซึ่งทำให้ทราบว่า Lusi จะไม่ยอมหยุดพ่นโคลนในเวลาอันใกล้อย่างแน่นอน เนินพุโคลน (Mud Volcano) จัดเป็นภูเขาไฟประเภทหนึ่งถูกสร้างขึ้นโดยการปะทุของโคลน ของเหลวข้น น้ำ และก๊าซ ซึ่งอาจจะเกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาได้หลายอย่าง เนินพุโคลนมีตั้งแต่ขนาดเล็กสูงเพียง 1 – 2 เมตร จนถึงขนาดใหญ่สูงหลายร้อยเมตรกว้างหลายกิโลเมตร เนินพุโคลนขนาดใหญ่ที่สุดก็คือ Lusi นี่เอง มันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 กิโลเมตร Lusi เริ่มปะทุตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2006 พ่นโคลนออกมาจำนวนมหาศาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด  ช่วงสูงสุดในเดือนกันยายน ปี 2006 มันพ่นโคลนออกมามากถึง  180,000 คิวบิกเมตรต่อวัน  ซึ่งมากพอสำหรับถมเต็มสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิก 7

เมื่อไวรัสยักษ์โบราณอายุกว่า 30,000 ปี คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

รูปภาพ
เมื่อไวรัสยักษ์โบราณอายุกว่า 30,000 ปี คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง    ค้นหา เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอกซ์-มาร์กเซย์ ในประเทศฝรั่งเศส ค้นพบว่า ไวรัสขนาดยักษ์ ที่ถูกฝังอยู่ในสภาพ ” เพอร์มาฟรอสต์ ” คือถูกแช่งแข็งมาตลอดระยะเวลา 30,000 ปีจากรัสเซีย สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้เมื่อหลุดพ้นจากสภาวะดังกล่าว ข้อมูลนี้ได้สร้างความกังวล ทั้งในแวดวงวิชาการด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยา เนื่องจากวิตกว่า จะมีผลกระทบต่อมนุษย์หรือไม่ ไพโธไวรัสยักษ์โบราณอายุ 30,000 ปี ขนาดของมันใหญ่มากเมื่อเทียบกับไวรัสชนิดอื่นๆ ข้อมูลจาก ฌ็อง-มิเชล คลาเวรี หนึ่งในทีมวิจัยและเป็นผู้ร่วมเขียนผลการวิจัยครั้งนี้ ไวรัสยักษ์โบราณดังกล่าวได้มาจากการเจาะชั้นน้ำแข็งเพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างจากยุคโบราณ จากบริเวณ โคลิมา ในพื้นที่ด้านตะวันออกไกลของรัสเซีย เมื่อปี 2000 ด้วยวิธีการใช้หัวเจาะที่เป็นท่อกลวงเจาะลึกลงไปในชั้นน้ำแข็งบริเวณริมหน้าผา ก่อนดึงขึ้นมาเก็บเป็นตัวอย่างป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจาก ไวรัสและแบคทีเรีย ใหม่ๆ ในยุคนี้ โดยในน้ำแข็งตัวอย่างดังกล่าวพบ “ไวรัส ที่ไม่เคยรู้จัก” กัน

เกิดรอยแยกขนาดใหญ่ในเคนยาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวใต้แผ่นดิน

รูปภาพ
เกิดรอยแยกขนาดใหญ่ในเคนยาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวใต้แผ่นดิน ค้นหา สำนักข่าวต่างประเทศเผย เกิดรอยแตกขนาดใหญ่ในเขตเกรตริฟต์แวลลีย์ พื้นที่ Mai Mahiu ประเทศเคนยา ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว รวมไปถึงการกัดเซาะ ของฝนที่ตกลงมาทางการได้สั่งให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยชาวบ้านต้องทิ้งบ้านเรือน และฟาร์มของพวกเขา เกรตริฟต์แวลลีย์ คือหุบเขารอยเลื่อนขนาดใหญ่ เป็นรอยแยกยาวต่อเนื่องขนาดยาวที่สุดในโลก ขนาดความกว้างประมาณ 30-100 กิโลเมตร เป็นหน้าผาดิ่งจากที่ราบสูงรอบ ๆ ลึกกว่า 450-800 เมตร พาดผ่าน 19 ประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้  เรียงกันได้ดังนี้ เริ่มต้นจากประเทศซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน เวสต์แบงก์ (ปาเลสไตน์) ผ่านเข้าสู่ทะเลแดง เลียบชายฝั่งอียิปต์และซูดาน ก่อนจะเข้าสู่เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) รวันดา บุรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย มาลาวี และสิ้นสุดในโมซัมบิก รวมความยาวที่พาดผ่านตั้งแต่เหนือจรดใต้ ประมาณ 6,750 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 เท่าของเส้นรอบวงโลก (เส้นศูนย์สูตร) โดยที่ขอบด้านข้างของหุบเขาทรุดสู

8 เมืองใหญ่จะสาบสูญศตวรรษหน้า

รูปภาพ
หลงลืมกันไปนานถึงพิษภัยของ ภาวะโลกร้อน  ต้องขอบคุณ “วิกฤติฝุ่นพิษ” ที่กระตุ้นให้คนไทยหวาดผวาตื่นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นี่แค่สัญญาณเตือนเบาะๆเท่านั้น เมื่อเร็วๆนี้มีการทำนายจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวหอกของโลกว่า ในอีก 8 ทศวรรษข้างหน้า จะมี 8 เมืองใหญ่มหาอำนาจของโลกต้องกลายเป็นเมืองผีสิงไร้ผู้คนอาศัย เพราะทนการแผดเผาของอุณหภูมิโลกที่ร้อนระอุเป็นไฟไม่ได้ 🌎ในรายงานสุดลับของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อตั้งโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการ สิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) คาดการณ์ว่าภายในปี 2040 อุณหภูมิทั่วโลกจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จากระดับเดิมในยุคก่อนอุตสาหกรรม ส่งผลให้ กรุงเทพมหานคร, ชิคาโก, ไมอามี, นิวออร์ลีนส์, ดูไบ, อาบูดาบี, เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง และนิวเดลี เสี่ยงจะหายวับไปกับตา กลายเป็น “เมืองร้าง” ในอีกไม่กี่ ปีข้างหน้า ช็อกไหมล่ะ เกิดอะไรขึ้นกับเมืองทรงอิทธิพลเหล่านี้?! นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักพากันคาดการณ์ว่า “ไมอามี” และ “นิวออร์ลีนส์” จะถูกน้ำท่วมจมหายเป็น “เมืองบาดาล” ในอีก 8 ทศวรรษข้างหน้า เพราะมีทำเลที่ตั้

พบฟอสซิลต้นไม้ อายุ 280 ล้านปีที่ขั้วโลกใต้

รูปภาพ
ค้นหา พบฟอสซิลต้นไม้  อายุ 280 ล้านปี ที่ขั้วโลกใต้ เมื่อเร็วๆ นี้นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินมิลวอกกี  ในเมืองมิลวอกกี  รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ต้นไม้อายุ 280 ล้านปี ที่เชื่อว่าจะเป็นหลักฐานสำคัญบ่งชี้ถึงป่าขั้วโลกที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ ทีมวิจัยพบฟอสซิลของต้นไม้ 13 ต้นมีอายุประมาณ 260 ล้านปี ซึ่งบวกลบความผิดพลาดแม่นยำก็ไม่เกิน 20 ปี นั่นหมายความว่ามีป่าเติบโตขึ้นมาก่อนที่ไดโนเสาร์ตัวแรกจะปรากฏตัวขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน (Permian) คือยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิกเมื่อประมาณ 295-248 ล้านปีก่อน และป่าขั้วโลกโตขึ้นบริเวณละติจูดที่พืชไม่สามารถเติบโตได้ในทุกวันนี้ เป็นไปได้ว่าฟอสซิลพืชดังกล่าวจะเป็นสายพันธุ์ที่ทนทานต่อการอยู่รอดได้ โดยทีมวิจัยกำลังพยายามหาสาเหตุว่าทำไมพืชเหล่านี้จึงสูญพันธุ์ 🌍ทั้งนี้ ในยุคเพอร์เมียนนั้น บริเวณทวีปแอนตาร์กติกาจะมีอุณหภูมิอุ่นกว่าปัจจุบันและขณะนั้นแอนตาร์กติกาคือส่วนหนึ่งของทวีปกอนด์วานา ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินใหญ่

หมู่เกาะวานูอาตูจะฟ้องศาลเอาผิดกับผู้สร้างแก๊สเรือนกระจก

รูปภาพ
ค้นหา วานูอาตู เป็นชาติหมู่เกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของออสเตรเลียและเมื่อเร็วๆ นี้ นายราฟ เรเวานู(Ralph Regenvanu  ) รัฐมนตรีต่างประเทศของวานูอาตูกล่าวว่าประเทศของเขากำลังพิจารณาเอาความทางกฏหมายต่อบรรดาเจ้าของอุตสาหกรรมเเละประเทศต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากพลังงานเชื้อเพลิงจาก ซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเป็นต้วสร้างมลภาวะทางอากาศ สาเหตุของภาวะโลกร้อน นายเรเกนวานูกล่าวว่าวานูอาตูเป็นชาติที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลกมากกว่าชาติอื่นๆ เเม้ว่าจะเป็นชาติที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์น้อยที่สุดก็ตาม เขากล่าวว่าถึงเวลาเเล้วที่ประเทศอุตสาหกรรมที่สร้างมลภาวะมากที่สุดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่วานูอาตูต้องประสบเนื่องจากภาวะโลกร้อน เขากล่าวว่าบริษัทเจ้าของอุตสาหกรรมน้ำมัน แก๊สเเละถ่านหิน ทำกำไรได้หลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทุกปีและควรรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งเเวดล้อมเเละเศรษฐกิจของประเทศอย่าง วานูอาตู ที่เริ่มได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งภาวะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น