บทความ

โลกอาจเข้าสู่ยุคหนาวเย็น อีกครั้งเมื่อดวงอาทิตย์จะพักหลับยาว!

รูปภาพ
😭นักวิทย์หวั่น “โลกอาจเข้าสู่ยุคหนาวเย็น” อีกครั้ง เมื่อดวงอาทิตย์จะพักหลับยาว! นักดาราศาสตร์เผย อีกไม่นานโลกอาจเข้าสู่ยุคหนาวเย็น ซึ่งมีสาเหตุมาจากกรณีที่วัฏจักรของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปี่ที่แล้วนั้น นายวิมุติ วสะหลาย กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยข้อมูลถึงความกังวลในอนาคต ว่า โลกอาจเผชิญกับยุคหนาวเย็นต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากวัฏจักรของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดย ดวงอาทิตย์นั้นจะมีวัฏจักรเป็นของตัวเอง ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เรียกว่า วัฏจักรของกัมมันตภาพสุริยะ เช่น การเกิดจุดมืด (sunspot) การลุกจ้า (Flare) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของพายุสุริยะ หากช่วงไหนดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยามาก (ดวงอาทิตย์คึกคัก) ก็จะมีกัมมันตภาพขึ้นสูงสุด ดวงอาทิตย์จะแผ่พลังงานออกมาสูงกว่าช่วงอื่น ☀โดยเฉพาะในย่านอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี ซึ่งตามปกติแล้ววัฏจักรของระบบสุริยะจะมีผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลก หากวัฏจักรนี้มีความผิดปกติในระยะยาวนาน ก็จะส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างมาก ขณะนี้เรายังอยู่ในวัฏจักรที่ 24 ซึ่งได้ผ่านช่วงสูงสุดมาแล้วในป

โลกเผชิญหายนะภูมิอากาศ สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ เมื่อสนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว 42,000 ปีก่อน

รูปภาพ
รูปโลกมีสนามแม่เหล็กสีแดงม่วง โลกเผชิญหายนะภูมิอากาศ สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ เมื่อสนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว 42,000 ปีก่อน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้พยากรณ์ไว้ว่า เหตุการณ์ที่สนามแม่เหล็กโลกพลิกกลับโดยสลับตำแหน่งของขั้วเหนือ-ขั้วใต้กันนั้น กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในราว 2,000 ปีข้างหน้า แต่ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า เหตุการณ์นี้จะทำให้เกิดหายนะภัยร้ายแรงทั่วโลกอย่างที่นวนิยายหรือภาพยนตร์ฮอลลีวูดจินตนาการไว้หรือไม่ แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้เผยผลวิจัยลงในวารสาร Science หลังศึกษาเหตุการณ์ดังกล่าวในอดีตอย่างละเอียด โดยพวกเขาพบว่าเหตุสนามแม่เหล็กโลกกลับขั้วในช่วงสั้น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะถึงยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "เหตุการณ์ลาส์ชอมป์" (Laschamps Event) มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับเหตุวิกฤตด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกในเวลานั้น มีการศึกษาปริมาณของคาร์บอนกัมมันตรังสีหรือคาร์บอน-14 ในวงปีของซากฟอสซิลต้นไม้โบราณ โดยต้นไม้นี้มาจากพื้นที่ชุ่มน้ำทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์ และมีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยเดียวกับเหตุการณ์ลา

ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว ระเบิดเวลาใต้แผ่นดินอาร์กติก

รูปภาพ
เซียร์เกย์ ซีมอฟ นักนิเวศวิทยา นั่งยองๆ อยู่ในแอ่งโคลนเลียบแม่น้ำโคลีมาอันกว้างใหญ่และเย็นเยียบ ใต้ผาชันที่มีดินร่วยซุย ไซบีเรียตะวันออกในยามนี้เป็นฤดูร้อน และอยู่ห่างจากเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นมาไกลโข  แม้จะไม่มีน้ำค้างแข็งหรือหิมะให้เห็นสักนิด ทว่าหน้าผาชื่อดูวานนียาร์แห่งนี้ก็ถูกแม่น้ำโคลีมากัดเซาะและเผยให้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง  เป็นพื้นดินแช่แข็งที่เรียกว่า ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) อยู่ลึกลงไปหลายร้อยเมตรและกำลังอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าโลก ทั่วพื้นที่ทั้ง 23 ล้านตารางกิโลเมตรของจุดเหนือสุดของโลกแห่งนี้ ชั้นดินเยือกแข็งของอาร์กติกไม่ได้ละลายทีละน้อยอย่างที่นักวิทยาศาสตร์เคยทำนายไว้ ในทางภูมิศาสตร์ อาร์กติกกำลังหลอมละลายชนิดชั่วข้ามคืน และยังปลดปล่อยคาร์บอนมหาศาลที่ถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินเยือกแข็งนานนับพันปีออกมา เมื่อก๊าซเข้าสู่บรรยากาศในรูปมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเร็วขึ้น ถ้าเราไม่ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง ภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ชั้นดินเยือกแข็งจะกลายเ

ย้อนอดีตภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ หมอกซุปถั่ว

รูปภาพ
ย้อนอดีตภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ‘หมอกซุปถั่ว’ ที่ปกคลุมกรุงลอนดอน มลพิษที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตหลายพันคน ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในปี 1952 ได้เกิดภาวะอากาศหนาวผิดปกติ และยังมีสภาพอากาศแปรปรวนจนทำให้เกิดหมอกหนาจัดที่เรียกกันว่า ‘หมอกซุปถั่ว’ (Pea-Soupers) มีลักษณะเป็นหมอกสีเหลืองดำ เกิดจากการเพิ่มการเผาถ่านหินของโรงไฟฟ้าในสภาพอากาศที่ไม่มีลม ด้วยสภาพอากาศเช่นนี้ จึงทำให้เกิดหมอกหนาและทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นได้เพียง 90 ซม.  เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ประชาชนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ นอกที่พักอาศัยได้ ขณะเดียวกัน ทางการรถไฟ ต้องใช้เครื่องมือ Detonator เพื่อให้สัญญาณโดยจะติดไว้ตามแนวรางรถไฟ หมอกซุปถั่วที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนราว 4,000 คน เสียชีวิตจากหนองในปอด เพราะหายใจอากาศที่เป็นพิษติดต่อกันนานถึง 5 วัน จนต่อมารัฐบาลอังกฤษต้องออกมาตรการเพื่อควบคุมการเผาถ่านหินในโรงงานและโรงไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำรอยอีก (Pea-Soupers) เรียบเรียง : S

ทิเบตสำรวจพบ ไวรัสโบราณ อายุ 15,000 ปี ที่ใกล้ตื่นขึ้นอีกครั้ง เพราะโลกกำลังละลาย

รูปภาพ
เมื่อปี 2015 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ พบกลุ่มเชื้อไวรัสโบราณ 33 ชนิด จากตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต โดยพวกมันมีอายุเก่าแก่ถึง 15,000 ปี (ซึ่งในจำนวนดังกล่าวกว่า 28 ชนิดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่เคยถูกพบมาก่อน) และที่น่าเป็นห่วงคือพวกมันกำลังจะปรากฎขึ้นอีกครั้งเพราะโลกกำลังละลาย ภาพเมื่อปี 2015 – ตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต โดยการค้นพบครั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมจากแกนน้ำแข็งที่ถูกขุดขึ้นมาเมื่อปี 1992 แต่ด้วยความสงสัยและไม่แน่ใจว่าแบคทีเรียที่พบอาจมาจากอุปกรณ์ขุดเจาะที่ไม่สะอาด พวกเขาจึงทำการเจาะตัวอย่างแกนน้ำแข็งจากแหล่งเดียวกันขึ้นมาตรวจสอบอีกครั้ง ปรากฏว่าแกนน้ำแข็งแท่งใหม่ที่ถูกขุดขึ้นมายังคงเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจำนวนมาก จึงสรุปได้ว่า – “ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ยังคงมีเชื้อไวรัสโบราณที่หลับไหลอยู่จริง แถมเมื่อทดลองทำการละลาย ไวรัสทั้งหมดก็ตื่นขึ้นและเคลื่อนไหวทันทีอีกด้วย” ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบว่ามีเชื้อไวรัสโบราณซ่อนอยู่ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ เพราะเมื่อปี 2005 นักวิจัยจากนาซา พบเชื่อแบคทีเรียที่ฝังตัวอ

อนาคตบนเส้นด้ายของ แอนตาร์กติกา

รูปภาพ
หิ้งน้ำแข็งที่แตกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของหายนะ มองจากด้านบนผิวขรุขระของหิ้งน้ำแข็งปรากฏรอยแตกขนาดใหญ่ที่บ่งชี้ว่ามันกำลังจะหลุดออกจากชั้นน้ำแข็งเดิมที่มีอายุหลายพันปี แผ่นน้ำแข็งที่กำลังจะหลุดออกนี้เป็นส่วนหนึ่งของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี ที่ตั้งอยู่บนแหลมทางตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกา อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลโดยรอบคือสาเหตุ และการหลุดออกครั้งนี้จะเปลี่ยนหน้าตาของแผนที่ทวีปแอนตาร์กติกาตลอดไป ด้วยขนาดของหิ้งน้ำแข็งที่ใหญ่ถึง 6,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับพื้นที่กว้างใหญ่กว่ากรุงลอนดอน 4 เท่า และคิดเป็นราว 2 ใน 3 ของสาธารณรัฐไซปรัส เกาะบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พืดน้ำแข็งฝั่งตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกานี้มีความหนาราว 2.5 ไมล์ และครอบคลุมพื้นที่ขนาด 2 เท่าของรัฐเท็กซัส รอบๆของพืดน้ำแข็งประกอบด้วยภูเขาน้ำแข็งจำนวนมาก นั่นแปลว่าหากมหาสมุทรยังคงอุ่นขึ้นเรื่อยๆจนละลายชั้นน้ำแข็งที่เปราะบางเหล่านี้จนหมด ทีมนักวิจัยเชื่อว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ฟุต “หิ้งน้ำแข็งบริเวณนี้เป็นจุดที่ละลายเร็วที่สุดบนโลก” อีริค ริกนอท นักธรณีวิทยาจาก NASA Jet Propuls

ลาวาสีครามที่อินโดนีเซีย

รูปภาพ
ลาวาสีครามในอินโดนีเซีย นี่คือภาพของลาวาสีครามจากภูเขาไฟ Kawah Ijen บนเกาะชวาตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียที่ถูกถ่าย โดย Olivier Grunewald ช่างภาพชาวฝรั่งเศส  โดยสาเหตุที่ทำให้ลาวาเป็นสีฟ้า เนื่องจากเมื่อลาวาจากใต้ดินที่มีความร้อนสูงเผาไหม้กำมะถันเข้มข้นที่อยู่บนพื้นผิว จะทำให้เกิดเปลวไฟสีฟ้า ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดในตอนกลางคืน  โดยกำมะถันที่ถูกปล่อยออกมาภายใต้ความดันสูง และเผาไหม้ที่อุณหภูมิ 600°C (1,112°F) นั้น สามารถทำให้เกิดเปลวไฟได้สูงถึง 5 เมตรเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก Nerdist) Kawah Ijen เป็นภูเขาไฟที่มีกรวยสลับชั้น ความสูง 2,799 เมตร บนยอดเขามีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกรดกำมะถัน และมีการทำเหมืองกำมะถันที่เกิดจากการเย็นตัวลงของลาวาโดยรอบแอ่งอีกด้วย Kawah Ijen แปลและเรียบเรียงโดย Felis