ทิเบตสำรวจพบ ไวรัสโบราณ อายุ 15,000 ปี ที่ใกล้ตื่นขึ้นอีกครั้ง เพราะโลกกำลังละลาย


เมื่อปี 2015 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ พบกลุ่มเชื้อไวรัสโบราณ 33 ชนิด จากตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต โดยพวกมันมีอายุเก่าแก่ถึง 15,000 ปี (ซึ่งในจำนวนดังกล่าวกว่า 28 ชนิดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่เคยถูกพบมาก่อน) และที่น่าเป็นห่วงคือพวกมันกำลังจะปรากฎขึ้นอีกครั้งเพราะโลกกำลังละลาย

ภาพเมื่อปี 2015 – ตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต
โดยการค้นพบครั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมจากแกนน้ำแข็งที่ถูกขุดขึ้นมาเมื่อปี 1992 แต่ด้วยความสงสัยและไม่แน่ใจว่าแบคทีเรียที่พบอาจมาจากอุปกรณ์ขุดเจาะที่ไม่สะอาด พวกเขาจึงทำการเจาะตัวอย่างแกนน้ำแข็งจากแหล่งเดียวกันขึ้นมาตรวจสอบอีกครั้ง ปรากฏว่าแกนน้ำแข็งแท่งใหม่ที่ถูกขุดขึ้นมายังคงเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจำนวนมาก จึงสรุปได้ว่า – “ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ยังคงมีเชื้อไวรัสโบราณที่หลับไหลอยู่จริง แถมเมื่อทดลองทำการละลาย ไวรัสทั้งหมดก็ตื่นขึ้นและเคลื่อนไหวทันทีอีกด้วย”

ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบว่ามีเชื้อไวรัสโบราณซ่อนอยู่ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ เพราะเมื่อปี 2005 นักวิจัยจากนาซา พบเชื่อแบคทีเรียที่ฝังตัวอยู่ในธารน้ำแข็งอลาสกา อายุกว่า 32,000 ปี ชื่อ Carnobacterium Pleistocenium –  ต่อมาในปี 2007 นักวิจัยยังพบแบคทีเรียโบราณอายุ 8 ล้านปี ใต้ธารน้ำแข็งในหุบเขาบีคอนและมัลลินส์ของทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้)

ไมเคิล คราเวรี และก้อนน้ำแข็งที่ขุดขึ้นจากชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์
ไม่เพียงเท่านี้ ในปี 2014 ไมเคิล คราเวรี นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Aix-Marseille ประเทศฝรั่งเศส 

พบแบคทีเรียขนาดยักษ์ (ใหญ่จนมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา) อายุ 30,000 ปี ลึกลงไป 30 เมตร ใต้ชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ในไซบีเรีย จำนวน 2 ชนิด คือ Pithovirus Sibericum และ Mollivirus Sibericum ซึ่งทั้งสองเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แต่โชคดีที่เชื้อไวรัสนี้ติดต่อในอะมีบาเท่านั้น (ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า ยังมีเชื้อไวรัสอันตรายอีกมากที่เรายังไม่รู้จัก ซึ่งกำลังซ่อนตัวอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งทั่วโลก และหากถามว่าเชื้อไวรัสเหล่านี้อันตรายหรือไม่ ? (คำตอบคือ : จริงครับ) เพราะในปี 2016 เด็กวัย 12 ปี ที่อาศัยอยู่แถบคาบสมุทรยามาลในอาร์กติกเซอร์เคิล เสียชีวิตจากการติดเชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งนักวิจัยคาดว่า เชื้อนี้มาจากซากกวางเรนเดียร์ที่ติดเชื้อดังกล่าวและถูกฝังอยู่ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ จนกระทั่งผุดขึ้นจากใต้น้ำแข็งในช่วงฤดูร้อน (โรคแอนแทรกซ์ คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis เคยถูกนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพ)

ภาพชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์
อย่างไรก็ตาม ไมเคิล คราเวรี ระบุว่า “ความอันตรายของไวรัสพวกนี้ คือ ‘การที่เราไม่รู้จักมัน’ ซึ่งหมายความว่าเราไม่มีทางรับมือกับมันได้หากพวกมันตื่นขึ้นมาจริง ๆ เพราะมันอาจก่อเป็นโรคติดต่อชนิดใหม่ที่สร้างความหายนะไปทั่วโลกได้ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลสำคัญ ว่าทำไมเราถึงควรให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังเสียที”

– ลึกลงไปกว่า 5,000 เมตร ใต้แผ่นเปลือกโลกที่ไม่มีทั้งแสงอาทิตย์ ไม่มีสารอาหาร แถมยังมีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดใดอาศัยอยู่ได้ 
แต่ทว่า วันที่ 10 ธันวาคม 2018 นักวิจัยกลับพบแบคทีเรียจำนวนมหาศาล ที่เติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อให้มันว่า “แบคทีเรียซอมบี้” (Zombie Bacteria) เพราะมันอึดถึกทนสุดยอดเลยนั่นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู