บทความ

อาถรรพ์สามเหลี่ยมมาดากัสการ์

รูปภาพ
อาถรรพ์สามเหลี่ยมมาดากัสการ์ “ทะเลปิศาจ” อาณาเขตอาถรรพณ์ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ฝั่งเกาะมาดากัสการ์นี่เอง หากมองดูแผนที่ท่าน จะเห็นว่ามาดากัสการ์ เป็นเกาะใหญ่เบ้อเริ่มอยู่ใกล้ไปทางแผ่นดินใหญ่แอฟริกา ถัดไปทางทิศตะวันออกมีเกาะใหญ่ อีกเกาะหนึ่งคือเกาะ มอริเชียส ถัดมอริเชียสขึ้นไปทางเหนือมีเกาะซีเชลล์ทอดอยู่สง่าภาคภูมิ... บริเวณเกาะทั้งสามในมหาสมุทรอินเดียนี้เอง ที่มีเหตุการณ์ประหลาดๆเกิดขึ้นบ่อยจนน่านน้ำบริเวณนั้นได้รับนามว่า “ทะเลปิศาจ” ชื่อ “ทะเลปิศาจ” นี่ยังนับว่าเบาะๆนะครับ นักเขียนฝรั่งบางคนเรียกซะเข้าไส้ไปเลยว่า “นรกของคนถูกสาป-Limbo of the Damned” คู่กับ “Limbo of the Lost” อันหมายถึงบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอาถรรพณ์ครับ เช่นเดียวกับบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ทะเลปิศาจแห่งมาดากัสการ์เป็นจุดที่เรือและเครื่องบินสูญหายไปโดยปราศจากร่องรอยหลายสิบลำ นับแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา ได้มีเรือหายไป ณ จุดนี้ถึง 46 ลำ ก่อนหน้านี้ ขึ้นไปก็มีเรือสูญหายอีกมาก บางครั้งหายไปหมดทั้งเรือและกะลาสี บางครั้งหายเฉพาะกะลาสี เหลือแต่เรือเปล่าๆ ฯลฯ จะขอคัดตอนสำคัญๆ ที่น่าเชื่อถือ เพราะผ่

โลกเปลี่ยนไปหิ้งน้ำแข็งหนา 1,000 ฟุตกำลังจะแยกตัวออกจากแอนตาร์กติกา!

รูปภาพ
โลกเปลี่ยนไป!! หิ้งน้ำแข็งหนา 1,000 ฟุตกำลังจะแยกตัวออกจากแอนตาร์กติกา! สภาพภูมิอากาศบนโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจนเรียกได้ว่าเข้าสู่สภาวะวิกฤติ เพราะแม้แต่หิ้งน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่เท่ากับรัฐเดลาแวร์ทั้งรัฐ ก็กำลังจะแตกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาในเร็ววันนี้ นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าแผ่นน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของรัฐที่เล็กที่สุดในสหรัฐอเมริกา กำลังค่อยๆ แยกตัวออกจากทวีปน้ำแข็งแอนตาร์กติกา ซึ่งรอยแยกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่ามันจะหลุดออกจากแอนตาร์กติกาภายในเวลาไม่กี่เดือน หิ้งน้ำแข็ง (ice shelf) นี้มีชื่อว่า Larsen C มันหนากว่า 1,100 ฟุต (335 เมตร) และมีพื้นที่กว้างถึง 5,180 ตารางกิโลเมตร ภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่ารอยแยกระหว่างหิ้งน้ำแข็งและทวีปแอนตาร์กติกาเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2010 และแตกตัวอย่างรวดเร็วจนมีความยาวเพิ่มขึ้นประมาณ 29 กิโลเมตรในปี 2015 และในเดือนมีนาคมปี 2016 ก็ยาวขึ้นอีกอย่างน้อย 22 กิโลเมตร ในเดือนพฤศจิกายนปี 2016 ทีมสำรวจ Operation IceBridge จากนาซ่า ยืนยันผลการสำรวจว่ารอยแยกระหว่างหิ้งน้ำแข็ง Larsen C

พายุลึกลับกลางทะเล

รูปภาพ
พายุประหลาดลึกลับกลางทะเล ที่กำลังบ้าคลั่ง เรื่องราวและความแปลกประหลาดของท้องทะเลยังมีอีกมาก อย่างเรื่องราวของพายุประหลาด ที่จู่ ๆ ที่ก่อตัวแล้วหายไปอย่างลึกลับนั้นมีปรากฏอยู่มากมาย เรื่องราวเหล่านี้ ผู้ที่ชำนาญเฉพาะทางก็บอกกันไปต่าง ๆ นานา บ้างว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ต่างดาว บ้างว่าเกิดการเหลื่อมของประตูมิติอย่างสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า บ้างว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีคนในทวีปแอตแลนติสเป็นผู้ทำให้เกิด ซึ่งแต่ละเรื่องที่กล่าวก็เป็นไปได้ว่า ผู้ชำนาญทางด้านไหนจะเป็นผู้วิเคราะห์ ทีนี้มาดูตัวอย่างของพายุประหลาดที่มีผู้บันทึกไว้ได้ เรื่องที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรกนั้นไม่เป็นที่โด่งดัง แต่ภายหลังมีผู้คนพบมากขึ้นและบ่อยขึ้น จึงมีการพูดถึงและนำมาอ้างอิงบ่อยครั้ง เรื่องแรกที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องของกัปตันเรืออังกฤษ ที่บันทึกเรื่องราวไ้ว้ได้ในราวปี ค.ศ. 1945 เมื่อคราวโดนพายุใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างกระทันหัน ระหว่างจะเดินทางไปสก๊อตแลนด์ กัปตันโมฮาวีร์ วอสคัฟฟ์ โดยโดยสารเรือจากฝั่งอังกฤษไปยังหมู่เกาะสก๊อตแลนต์ ระหว่างที่จะไปนั้น ไม่เห็นว่ามันจะ

หลุมลึกลับแห่งเขาบาลดี้

รูปภาพ
สภาพแวดล้อมของธรรมชาติในชนบท Mount Baldy 's Mysterious Holes หลุมลึกลับแห่งเขาบาลดี้ Mount Baldy 's Mysterious Holes หรือที่แปลว่า ภูเขาหัวล้าน ที่แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในมณฑลซานดิโอ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกามีความยาวประมาณ 12 ไมล์ เป็นที่ที่คนมันมาพักผ่อนหย่อนใจหรือเดินสำรวจ จนกระทั่งในปี 2013 ได้เกิดเรื่องประหาดขึ้น เมื่อ Nathan Woessner วัย 6 ขวบ กำลังเดินสำรวจอยู่ในบริเวณนี้ จู่ๆ ก็ได้เกิดหลุมทรายดูดขึ้น หนูน้อยรายนี้ถูกดูดลงไปใต้พื้นทรายลึกกว่า 3 เมตร เจ้าหน้าที่ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงจึงนำตัวหนูน้อยออกมาได้อย่างปลอดภัย เรื่องดังกล่าวสร้างความงุงงงสงสัยให้กับนักธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก เพราะภูมิทัศน์ของเขาหัวล้านเป็นทราย ซึ่งไม่น่าจะสร้างอากาศจนเป็นเหตุให้เกิดหลุมยุบ หรือทรายดูดได้ แม้จะใช้เรด้าห์ตรวจจับก็ยังไม่พบช่องว่างที่จะทำให้เกิดหลุม แต่หลุมได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้รัฐบาลสั่งปิดปิดอุทยาน จนถึงวันนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงสรุปไม่ได้ว่าหลุมยุบเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ฝนกรด (acid rain)

รูปภาพ
ฝนกรด (อังกฤษ: acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย ฝนกรด เป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4) , กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง ความเสียหายอันเกิดมาจากฝนกรด ได้แพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้

อันตรายจากคราบน้ำรั่วไหลลงสู่ทะเลหรือ (Oil spill)

รูปภาพ
การเกิดน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลหรือ Oil spill นั้นเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุเช่นการเกิด อุบัติเหตุท่อส่งน้ำมันกลางทะเลรั่วอุบัติเหตุเรืออับปางหรือชน กันการขนถ่ายน้ำมันการถ่ายน้ำมันเครื่องการระบาย น้ำออกจากตัวเรือเป็นต้น การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ทะเลในปริมาณมาก หรือมี คราบน้ำมันติดค้างอยู่เป็นเวลานานโดยปราศจากการป้องกันและการบริหารจัดการจะส่งผล กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศทางทะเลผลกระทบ ที่จะตามมาในอนาคตคือปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งใน ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ การปนเปื้อนน้ำมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในทะเลเนื่องจากน้ำมันบนผิวน้ำไปขัดขวางการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนระหว่าง อากาศและน้ำทำให้เกิดน้ำเน่าเสียสัตว์น้ำ ขาดออกซิเจนและรากต้นไม้ในป่าชายเลนไม่สามารถหายใจได้จึงเป็นการทำลายระบบ นิเวศป่าชายเลน ผลกระทบต่อสัตว์ สัตว์ที่ ได้รับผลกระทบมีตั้งแต่สัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นปลาแพลงตอนสัตว์ เปลือกแข็ง (เช่นกุ้งเคย krill ซึ่งมี บทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร) นกทะเลเพนกวินนากทะเลแมวน้ำสิงโต ทะเลแต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและมีอัตราการตายสูงมักเป็นพวกนก น้ำเช่น ปลา หอย กุ้ง  แมงกระพรุ่น  หรือ

ทองคำคืออะไรอะไรคือทองคำ(gold)

รูปภาพ
ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติของทองคำ มีความแวววาวอยู่เสมอทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุดด้วยทองเพียงประมาณ2 บาทเราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดีได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่งจุดหลอมเหลว1064และจุดเดือด2970องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว(Ductility)และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleabi