บทความ

มาดูผลผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน

รูปภาพ
มาดูผลผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน ผล กระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลกๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ โรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ วิถีโคจรของดาวเทียมในอวกาศ ฯลฯ! สารภูมิแพ้แพร่ระบาด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้นทุกๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือ ประชาชนไอ จาม ป็นภูมิแพ้ และหอบหืดกันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปกับสภาพมลพิษในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการดังกล่าว อย่าง ไรก็ตาม มีงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากขึ้น คือต้นเหตุทำให้พืชพรรณต่างๆ ผลิใบเร็วกว่าเดิม ขณะเดียวกันปริมาณละอองเกสรที่ฟุ้งกระจายไปตามอากาศก็มากขึ้นเช่นกัน คนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดเมื่อสูดละอองเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาการจึงกำเริบง่าย สัตว์อพยพไร้ที่อยู่ ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อ

ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร

รูปภาพ
ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป”กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วมเช่นกัน คุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร ปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นกา

กำเนิดปิโตรเลียม ?

รูปภาพ
นักโบราณคดีเชื่อว่าประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล พวกชนเผ่าบาบิโลเนียน (Babylonian) เริ่มใช้น้ำมัน (ปิโตรเลียม) เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้และเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนเป็นชาติแรกที่ทำเหมืองถ่านหินและขุดเจาะบ่อก๊าซธรรมชาติลึกเป็นร้อย เมตรได้ก่อนใคร น้ำมันประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ หลายชนิดมากมายจนมีคำพูดว่าไม่มีน้ำมันจากบ่อไหนเลยในโลกที่มีการผสมผสาน ส่วนประกอบได้คล้ายกัน แต่จะเห็นว่าส่วนประกอบกว้าง ๆ คล้ายกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญคือ มีเทน (Methane) เป็นหลักที่เหลือซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าได้แก่ อีเทน (Ethane) โปรเพน (Propane) และบิวเทน (Buthane) ปิโตรเลียมจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ได้จากการสลายตัวของสิ่งมี ชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมกัน ความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน ? สถานี บริการน้ำมันต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ มี กำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 90 ปี แล้ว โดยมีกำเนิดหลังจากที่ได้มีผู้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกขึ้นมา เมื่อประมาณปี 2443 โดยมีผู้ตั้งร้านค้าขายน้ำมันเพื่อเปิดบริการสำหรับเจ้าของรถ โดยกรรมวิธีแบบง่าย ๆ คือ เวลาเจ้

ถ่านหิน ?

รูปภาพ
ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคแรกเริ่มเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์รู้จักการนำถ่านหิน มาใช้ในการผลิตไอน้ำเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ จนถึงปัจจุบันถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก หากแต่ขณะนี้เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขึ้นแล้ว ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยมลพิษจากกระบวนการเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักวิชาการ และผู้ประกอบธุรกิจพลังงานในประเทศไทย "บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม" (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง Sustainable Coal Utilization (การใช้ถ่านหินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ขึ้น ณ โรงแรมเซนจูรี่ ปาร์ค เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกยังมีการใช้พลังงานจากถ่านหิน มากเป็นอันดับสองรองจากน้ำมัน โดยมีสัดส่วนการใช้อยู่ที่ 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมด นอกจากนี้ ถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า คือปร

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทางออกของวิกฤติพลังงาน ?

รูปภาพ
กระแสการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อแก้วิกฤติพลังงาน กำลังเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงกันหนาหูมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จนเมื่อเร็วๆ นี้ 2 ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดจนกระทรวงพลังงาน ซึ่งมาร่วมรายการ “รู้ทัน...ประเทศไทย” ของ “เอเอสทีวี” ก็ออกมาย้ำชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และมั่นใจได้ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะเป็นทางออกของวิกฤติพลังงาน ได้แบบอุ่นใจอย่างแน่นอน ดร.กอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยี และประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กล่าวถึงภาพลักษณ์ในเชิงอาวุธทำลายร้ายสูงของนิวเคลียร์ ซึ่งยังติดอยู่ในใจของคนไทยว่า แม้การทำระเบิดปรมาณู และการผลิตกระแสไฟฟ้าต่างใช้ธาตุกัมมันตภาพรังสีคือ “ยูเรเนียม” เป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกันจริง ทว่าความจริงแล้วกลับมีความเข้มข้นของสารต่างกันมาก “การใช้ในเชิงพลังงานไม่ได้นำธาตุยูเรเนียมมาวางใกล้ๆ กันมาก จนทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่เพื่อให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคยูเรเนียม และคายความร้อนออกมาต้มน้ำให้เดือด และได้ไอน้ำไปปั่นกระแสไฟฟ้า ตามหลักการขอ

80 วิธีหยุดโลกร้อน

รูปภาพ
รายงานฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change : IPCC) ซึ่งเป็นรายงานที่รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 30 ประเทศ และใช้เวลาในการวิจัยถึง 6 ปี ระบุไว้ว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90% ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และมนุษย์ถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญของปัญหาโลกร้อนในครั้งนี้ 80 วิธีหยุดโลกร้อนไม่ว่าใครก็สามารถช่วยลดความร้อนให้กับโลกได้ตั้ง 80 ช่องทาง... ประชาชนทั่วไป 1.ลด การใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี 2.ลดการสูญเสีย พลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง 3.เปลี่ยน หลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว

ภาวะโลกร้อน ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ

รูปภาพ
ตัดต่อและเรียบเรียงจาก ?CARBON CREDIT โลกสีดำจาก พิธีสารเกียวโต? ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสาร a day weekly ฉบับที่ 043 ประจำวันที่ เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เรียบเรียงโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ ?ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย มหาสมุทรร้อนขึ้นระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำแข็งทะเลบางลง ชั้นดินเย็นแข็งคงตัวละลาย เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ทะเลสาบเล็กลง หิ้งน้ำแข็งพังทลาย ทะเลสาบจับตัวเป็นน้ำแข็งช้าลง แห้งแล้งยาวนาน ธารน้ำในเขตภูเขาเหือดแห้ง ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้นไม้ออกดอกเร็วขึ้น ช่วงเวลาอพยพเปลี่ยนแปลง ถิ่นอาศัยเปลี่ยนไป นกทำรังเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะการังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง อุณหภูมิในเขตละติจูดสูงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว?เกิดอะไรขึ้นกับโลกกันแน่? นี่เพียงแค่บทเกริ่นนำของบทความไตรภาค ?มหันตภัยแห่งอนาคต: สัญญาณเตือนภัยจากปรากฏการณ์ โลกร้อน ?ในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ชี้ให้เห็น ภาวะโลกร้อน ที่ม