กำเนิดปิโตรเลียม ?


นักโบราณคดีเชื่อว่าประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล พวกชนเผ่าบาบิโลเนียน (Babylonian) เริ่มใช้น้ำมัน (ปิโตรเลียม) เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้และเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนเป็นชาติแรกที่ทำเหมืองถ่านหินและขุดเจาะบ่อก๊าซธรรมชาติลึกเป็นร้อย เมตรได้ก่อนใคร

น้ำมันประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ หลายชนิดมากมายจนมีคำพูดว่าไม่มีน้ำมันจากบ่อไหนเลยในโลกที่มีการผสมผสาน ส่วนประกอบได้คล้ายกัน แต่จะเห็นว่าส่วนประกอบกว้าง ๆ คล้ายกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญคือ มีเทน (Methane) เป็นหลักที่เหลือซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าได้แก่ อีเทน (Ethane) โปรเพน (Propane) และบิวเทน (Buthane) ปิโตรเลียมจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ได้จากการสลายตัวของสิ่งมี ชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมกัน ความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน ?
สถานี บริการน้ำมันต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ มี
กำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 90 ปี แล้ว โดยมีกำเนิดหลังจากที่ได้มีผู้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกขึ้นมา เมื่อประมาณปี 2443 โดยมีผู้ตั้งร้านค้าขายน้ำมันเพื่อเปิดบริการสำหรับเจ้าของรถ โดยกรรมวิธีแบบง่าย ๆ คือ เวลาเจ้าของรถจะมาเติมน้ำมันเชื้อเพลิงก็เทน้ำมันจากถังที่เก็บ ซึ่งมีขนาดเล็กไปสู่ถังน้ำมันของรถ และมีการพัฒนากรรมวิธีจำหน่ายน้ำมันตามเทคโนโลยีดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ในบทนี่ผู้เขียนจะกล่าวถึงความเป็นมาของบริษัทผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะ รายใหญ่ ๆ ได้แก่ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด และลักษณะของการแข่งขัน ความต้องการ และการจัดหาของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และช่องทางการจัดจำหน่ายของน้ำมันเชื้อเพลิง

ความเป็นมาของบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ก่อนปี พ.ศ. 2435 น้ำมันที่จำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันก๊าดที่มาจากรัสเซียเพียง แห่งเดียวจนกระทั่งปี 2435 ก็เริ่มมีการสั่งน้ำมันก๊าดจากเกาะสุมาตรามาจำหน่ายควบคู่ไปกับน้ำมันก๊าดจา กรัสเซีย น้ำมันก๊าดจากรัสเซียนี้มีชื้อว่า “น้ำมันก๊าดตรามงกุฎ

ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งน้ำมันดิบในปัจจุบันนี้มิใช่จะหามาได้ง่าย ๆ ในสมัยโบราณก็เพียงอาศัยใช้น้ำมันที่ไหลซึมขึ้นมาสู่พื้นดิน ในปลายศตวรรษที่ 18 มีรายงานการขุดน้ำมันในประเทศพม่า โรมาเนีย โปแลนด์และเยอรมันนี โดยใช้มือขุดเป็นส่วนใหญ่ เมื่อ Colonel Drakew ได้ขุดหลุมแรกสำเร็จที่ความลึก 69.5 ฟุต ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1859 อันเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะหาน้ำมันได้เพียงพอที่จะสร้างอุตสาหกรรมขึ้นมาได้ จากนั้นก็มีบ่อน้ำมันขึ้นอีกมากมาย ในศตวรรษที่ 20 การขุดน้ำมันจะทำใกล้ ๆ แหล่งที่มีน้ำมันซึมออกมาจากบนดิน ไม่มีการใช้หลักธรณีวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องเลย หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีการค้นหาแหล่งน้ำมันดิบ โดยใช้หลักทางธรณีวิทยา่

เมื่อน้ำมัน ได้เกิดขึ้นที่พื้นที่แห่งหนึ่งแล้ว มันมันไม่อยู่ที่นั่น แต่จะไหลไปสู่แหล่งอื่นโดยอาศัยความดันอันเกิดจากพื้นหินที่ทับถมลงมาบนแอ่ง น้ำมันนั้นในเวลานาน ๆ น้ำมันก็จะถูกบีบออกจากแหล่งกำเนิดถ้าหากมีช่องว่างให้ไปได้ตามรูซึมหรือรอย แตกของพื้นหินเข้าไปยังที่ใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านบน ด้านข้าง หรือด้านล่างได้ทั้งสิ้น ถ้าซึมขนบนอาจมาถึงผิวดินได้ ทำให้เห็นน้ำมันในที่ต่าง ๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วนั้นเมื่อไหลซึมมาเรื่อย ๆ จะไม่สามารถไหลผ่านไปได้ตลอด เมื่อซึมผ่านมาเจอชั้นหินที่ทึบ นำ้มันก็ไม่สามารถที่จะซึมผ่านต่อไปได้ก็จะหยุดอยู่แค่นั้น และรวมตัวกันอยู่ ณ ที่แห่งนั้นกลายเป็นบ่อน้ำมัน การที่มันจะไปรวมกันเป็นแอ่งได้ ต้องมีหินพรุนที่มีลักษณะพื้นที่อุ้มน้ำมันไว้ได้ เช่น ชั้นหินทราย ชั้นหินปูน ประกอบกับทางองค์ประกอบทางธรณีวิทยาขอหินรอบ ๆ แอ่งน้ำมันนั้นเป็นหินแน่นที่มีลักษณะที่จะกั้นไม่ให้น้ำมันหนีไปที่อื่นได้ ปิโตรเลียมจะอยู่ในหินพรุนเหล่านั้น เมื่อน้ำมันอยู่ในแอ่งเป็นเวลานาน เกิดกระบวนการต่าง ๆ ภายใต้สถาวะความดันและอุณหภูมิสูง ก็จะได้แก๊สธรรมชาติออกมา ซึ่งจะอยู่กับน้ำมันดิบนั่นเอง
(ภาพประกอบ)

ลักษณะทางธรณีวิทยาที่จะพบน้ำมันดิบและแ็ก๊สธรรมชาติ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

1. Anticline Trap เป็นชั้นหินที่มีโครงสร้างเป็นรูประฆังคว่ำ
2. Fauil Trap เป็นโครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน
3. Stratigraphic Trap ชั้นหินจะมีแนวตรง ๆ
4. Salt Dome เป็นโครงสร้างรูปโดม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู