ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร

(ภาพประกอบ)

ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า
น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต
หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป”กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วมเช่นกัน

คุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร
ปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน”
อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน
โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มกระบวนการสร้างโลกร้อน
นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังเกิดจากการสูญเสียงป่าธรรมชาติ เพราะไม่มีต้นไม้ดูดชับคาร์บอนไดออกไซค์
ตลอดจนการทำเกาตรและปศุสัตว์ที่ก่อให้เกิดก๊าชมีเทนซึ่งเป็นก๊าชที่ทำให้โลกร้อนได้เช่นกัน
ภาวะโลกร้อนมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลง
สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะค่อยๆ ตายลง
ส่วนผลต่อมนุษย์เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย
ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มแต่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น
น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลายทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ
บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกมีเวลาเพียงสิบปีเท่านั้นที่จะจัดการการความหายนะครั้งใหญ่
ที่อาจทำให้ระบบอากาศของโลกกลายเป็นเครื่องมือทำลายล้าง อาทิ สภาพอากาศอันรุนแรง น้ำท่วม ความแห้งแล้งโรคระบาด และคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงกว่าที่เคยพบมา

ขณะที่ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ด้านโลกร้อนเกิดขึ้นที่เห็นแล้วโดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่าจากการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1 – 2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติแต่ในทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8 –12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง
เราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี เช่น ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากๆ
ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า หรือยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย
เช่น สาร CFCsซึ่งมีในสเปรย์ชนิดต่างๆ สนับสนุนการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และใช้วัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
แล้วคุณ .... เลือกที่จะป้องกันหรือรับมือกับภาวะโลกร้อนด้วยวิธีใดบ้างแล้วหรือยัง
ข้อมูล www.thaihealthor.th www.dmr.go.thwww.greenpeace.org.asia/thwww.howproductsimpact.net
และ www.modern - planet.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู