บทความ

ครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมง

รูปภาพ
ข่าวนี้อาจจะเป็นที่มาของการกำเนิดมนุษย์และการพัฒนาของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะว่าครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมงและเป็นอย่างงั้นอยู่อีกประมาณ 1 พันล้านปีซึ่งต่างกับเวลาปัจจุบันมากทุกวันนี้อย่างที่เราทราบ โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ครั้ง = 1 วันที่มี 24 ชั่วโมง (ตัวเลขเป๊ะ ๆ คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที และ 4.0916 วินาที) แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือเมื่ออดีตอันไกลโพ้น โลกไม่ได้มี 24 ชั่วโมง แต่กลับเป็น 19 ชั่วโมง สำหรับข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ได้ชี้แจงนี้มันคงจะไปขัดกับหลักการความเชื่อของพวกอนุรักษ์นิยมหรือพวกคลั่งศาสนาคลั่งพระเจ้าแน่นอนเพราะบุคคลเหล่านั้นเขาจะเชื่ออยู่อย่างเดียวว่าพระเจ้าสร้างพระเจ้าทำไม่มองเหตุผลอื่นๆเลย #NATURE ครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมงและเป็นอย่างงั้นอยู่อีกประมาณ 1 พันล้านปี ถ้าเราคิดว่าทุกวันนี้เวลาไม่พอ ก็โชคดีแล้วที่เราไม่ได้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ  ทุกวันนี้อย่างที่เราทราบ โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ครั้ง = 1 วันที่มี 24 ชั่วโมง (ตัวเลขเป๊ะ ๆ คือ 23 ชั่วโมง 56

แม้จะมีหลักฐานแต่ก็มีคนไม่เชื่อ นักอุอุตุนิยมวิทยาถูกขู่ฆ่า หลังจากรายงานข่าวโลกร้อนจนเป็นPTSD ลาออก

รูปภาพ
แม้จะมีหลักฐานแต่ก็มีคนไม่เชื่อ  นักอุอุตุนิยมวิทยาถูกขู่ฆ่า หลังจากรายงานข่าวโลกร้อนจนเป็นPTSD ลาออก เรื่องนี้อาจจะมีเขาข้อมูลความจริงเพราะว่าพวกที่ต่อต้านและไม่เชื่อเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนโดยเฉพาะพวกอนุรักษ์นิยมและพวกคลั่งศาสนาคลั่งพระเจ้า คนพวกนี้จะไม่เชื่อเด็ดขาดว่าสภาวะโลกร้อนอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นมาจากอะไร...พวกนี้จะเชื่ออย่างเดียวว่าทุกสิ่งทุกอย่างพระเจ้าสร้างพระเจ้าทำให้เกิดมันก็เลยเป็นความขัดแย้งกันเองนั่นแหละครับ  แม้จะมีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับโลกร้อน แต่ก็ยังมีคนไม่เชื่อและคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นทฤษฎีลวงโลก นักอุตุนิยมวิทยาของรัฐไอโอวาลาออกหลังได้รับอีเมลล์ถูกขู่ฆ่า เนื่องจากเขารายงานข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน Chris Gloninger เป็นนักอุตุนิยวิทยาที่ทำงานให้กับสถานีข่าว 7 แห่งของ 5 รัฐในช่วง 18 ปีที่ผ่าน โดยให้ข้อมูลและรายงานถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรวมถึงคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่แล้วกลับมีอีเมลล์หนึ่งส่งมาหาเขาที่เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2022 ว่า “จะอ้วกและเบื่อหน่ายกับทฤษฎีสมคบคิดเสรีนิยมของคุณเกี่ยวกับสภ

รู้หรือไม่ อุกกาบาตก็คือดาวเคราะห์น้อยที่ร่วงลงมา

รูปภาพ
นี่เป็นคำถามที่คุณอาจจะคิดไม่ถึง  ว่าอุกกาบาตก็คือดาวเคราะห์น้อยที่ร่วงลงมาอวกาศ ใช่ไหมครับ บางทีเราก็คิดเองว่าอุกกาบาตก็คือก้อนหินจากอวกาศที่ตกลงมาแต่นักวิทยาศาสตร์เขาบอกว่าอุกกาบาตที่ตกลงมาก็คือดาวเคราะห์น้อยๆนั่นเอง รู้หรือไม่ อุกกาบาตก็คือดาวเคราะห์น้อยที่ร่วงลงมา วันที่ 30 มิถุนายนที่จะถึงนี้ คือ #วันดาวเคราะห์น้อยสากล เราเลยอยากจะพาทุกคนมารู้กับดาวเคราะห์น้อย วัตถุที่เหลือจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ มันพยายามรวมตัวเป็นดาวเคราะห์แล้วแต่ไม่สำเร็จ  ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดตั้งแต่ 1 - 1,000 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีรูปทรงไม่สมมาตรไม่เป็นทรงกลม เพราะดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยไม่สามารถเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสสารที่เป็นเนื้อดาว จึงไม่มีรูปร่างเป็นทรงกลม สภาพของดาวเคราะห์น้อยไม่เคยเปลี่ยนนับตั้งแต่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้นมา นักดาราศาสตร์จึงใช้ดาวเคราะห์น้อยในการศึกษาวิวัฒนาการของระบบสุริยะ  แต่เมื่อดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่า "สะเก็ดดาว" (Meteoroids) ตกลงสู่โลก เราจะเห็นว่ามันจะมีไฟติด มองเห็นเป็นหางยาว นั่นเราจะเรียกว่า "ดาวตก" หรือ

เอลนีโญเริ่มแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก! ทำให้โลกร้อนขึ้นจากที่ก็ร้อนอยู่แล้วจากภาวะโลกรวน และจะทำให้ปี 2024 เป็นปีที่ร้อนที่สุดของโลก

รูปภาพ
เอลนีโญเริ่มแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก! ทำให้โลกร้อนขึ้นจากที่ก็ร้อนอยู่แล้วจากภาวะโลกรวน และจะทำให้ปี 2024 เป็นปีที่ร้อนที่สุดของโลก  เอลนีโญเริ่มแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก! อาจทำให้โลกร้อนขึ้นจากที่ก็ร้อนอยู่แล้วเพราะภาวะโลกรวน และทำให้ปี 2024 เป็นปีที่ร้อนที่สุดของโลก เอลนีโญ (El Niño) เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรสภาพอากาศเอนโซ่ (ENSO) ที่สลับกับ ลานีญา ทำให้ภูมิภาคทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียแห้งแล้ง แต่กลับมาฝนตกหนักที่ทวีปอเมริกาใต้แทน โดยปกติแล้วปรากฏการณ์เอลนีโญจะเกิดขึ้นทุก ๆ 3-5 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยหรือน้อยกว่านั้น  ตอนนี้เอลนีโญได้เริ่มขึ้นแล้ว จนถึงปีหน้า และได้สร้างความกังวลให้นักวิทยาศาสตร์มากว่าจะทำให้อุณหภูมิโลกที่สูงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง สูงขึ้นอีกเกินลิมิต 1.5 องศาเซลเซียสที่ตั้งกันไว้ เพราะเอลนีโญสามารถเพิ่มอุณหภูมิให้โลก 0.2 องศา  นักวิทยาศาสตร์ยังกังวลอีกว่าปรากฎการณ์เอลนีโญ่ที่เกิดปีนี้จะทำให้ปี  2024 อุณหภูมิสูงขึ้นทุบสถิติ Adam Scaife จากกรมอุตุของสหราชฮาณาจักรเผยว่า “สถิติใหม่ในปีหน้าจะเกิดขึ้นขึ้นอยู่กับว่าปีนี้เอลนีโญ่รุนแรงแค่ไหน ถ้ารุนแรงมากในช

มัลดีฟส์เมืองที่กำลังจมจะจมน้ำหากโลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูง 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น

รูปภาพ
มัลดีฟส์เมืองที่กำลังจมจะจมน้ำหาก โลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูง 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น มัลดีฟส์เป็นเกาะที่เกิดจากแนวปะการัง ทั้งประเทศจึงต่ำเตี้ยติดทะเล เมื่อโลกร้อนรุนแรง ผลกระทบจึงเกิดกับประเทศเล็กๆ ใจกลางมหาสมุทร  อันดับแรกที่กลัวกันหนักหนาคือน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  หากโลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูงกว่าที่ 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงต่อประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น อีกอย่างที่เริ่มเห็นผลคือแผ่นดินร้อนจัด ลมจากทะเลพัดเข้าแผ่นดินรุนแรง  เมื่ออินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถวบ้านเราร้อนจนเหงื่อไหลย้อย ลมจากมหาสมุทรอินเดียจึงพัดแรงต่อเนื่อง จากมัลดีฟส์มุ่งหน้าสู่ไทยในบางฤดูกาล เช่น ฤดูนี้ สิ่งที่มาพร้อมกับลมแรงต่อเนื่องคือการกัดเซาะชายฝั่ง การแก้ปัญหาต้องใช้หลายวิธีการ เช่น การสร้างคันกันคลื่นในทะเล การเติมทรายในบางจุด ปัญหาสุดท้ายคือน้ำทะเลร้อน ปะการังฟอกขาว  โชคดีที่มัลดีฟส์อยู่กลางมหาสมุทร น้ำลึกรอบด้าน การเกิดปะการังฟอกขาวจึงต่างกันเมืองไทย โดยเฉพาะในอ่าวไทยที่น้ำตื้นกว่าเยอะและเกิดปะการังฟอกขาวแบบซ้ำซาก แต่อย่าคิดว่าที่นี่จะรอดพ้นตลอดไป ใน

วันทะเลโลกด้วยทะเลน อีกวิกฤตที่โลกจะเจอ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น

รูปภาพ
วันทะเลโลกด้วยทะเลน อีกวิกฤตที่โลกจะเจอ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น อุณหภูมิของมหาสมุทรโลกสูงขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีการบันทึกมา และอาจทำให้เกิดคลื่นความร้อนในทะเลทั่วโลก และสภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น  ข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NOAA เผยว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวน้ำทะเลพุ่งสูงถึง 2.1 องศาเซลเซียส เมื่อต้นเดือนเมษายน 2023 ซึ่งสูงกว่าปี 2016 อีก ตอนนั้นอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอยู่ที่ 21 องศาเซลเซียส  ปรากฎการณ์ La Niña 3 ปีช่วยทำให้มหาสุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำ และลมค้าที่แรงขึ้น ลดผลกรระทบจากก๊าซเรือนกระจก ช่วยให้อุณหภูมิโลกเย็นขึ้น  แต่ทว่าปีนี้ ปรากฎการณ์  El Niño จะกลับมาและยิ่งทำให้อุณหภูมิของท้องทะเล และอุณหภูมิโลกสูงมากขึ้นด้วย อีกสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นคือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น วิจัยพบว่า มากกว่า 90% ของความร้อนที่เพิ่มขึ้น เกิดจากก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการตัดไม้ทำลายป่า และมหาสมุทรก็เป็นแหล่งรับความร้อนขนาดยักษ์อยู่แล้ว การที่ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นมหาสมุท

ประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม

รูปภาพ
ประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม ตัวอย่างของสภาวะแวดล้อมที่ปั่นป่วนคลื่นทะเลสาดแนวชายฝั่งแผ่นดินถูกกัดเซาะด้วยน้ำทะเลจึงเป็นที่มาของกำแพงกันคลื่นและจะส่งผลกระทบสภาพแวดล้อมที่ส่งนั่นเอง จึงมีประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA) หลังจากภาคประชาชนทวงคืนชายหาดเรียกร้อง EIA (Environmental Impact Assessment) หรือ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ กระบวนการศึกษาและประเมินผลกระทบของการดำเนินโครงการหรือกิจการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต . เมื่อปี 2556 สำนักงานนโยบายและแผนฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีมติว่ากำแพงริมชายฝั่งความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไปไม่ต้องจัดทำ EIA ทำให้หลังจากนั้นในช่วงปี 2557-2562 หลังยกเลิกการทำ EIA พบว่ามีโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 74 โครงการ งบประมาณรวมราว 6.9 พันล้าน  หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งภาคประชาชน อย่างเช่น Beach for Life จึงเรียกร้องให้ #กำแพงกันคลื่นต้องทำEIA ให้ทุกโครงการจะต้องผ่านการจัดทำรายงานวิเคร