ครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมง


ข่าวนี้อาจจะเป็นที่มาของการกำเนิดมนุษย์และการพัฒนาของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะว่าครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมงและเป็นอย่างงั้นอยู่อีกประมาณ 1 พันล้านปีซึ่งต่างกับเวลาปัจจุบันมากทุกวันนี้อย่างที่เราทราบ โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ครั้ง = 1 วันที่มี 24 ชั่วโมง (ตัวเลขเป๊ะ ๆ คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที และ 4.0916 วินาที) แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือเมื่ออดีตอันไกลโพ้น โลกไม่ได้มี 24 ชั่วโมง แต่กลับเป็น 19 ชั่วโมง



สำหรับข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ได้ชี้แจงนี้มันคงจะไปขัดกับหลักการความเชื่อของพวกอนุรักษ์นิยมหรือพวกคลั่งศาสนาคลั่งพระเจ้าแน่นอนเพราะบุคคลเหล่านั้นเขาจะเชื่ออยู่อย่างเดียวว่าพระเจ้าสร้างพระเจ้าทำไม่มองเหตุผลอื่นๆเลย

#NATURE ครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ ๆ 2 พันล้านปีก่อน 1 วันบนโลกมีเพียง 19 ชั่วโมงและเป็นอย่างงั้นอยู่อีกประมาณ 1 พันล้านปี ถ้าเราคิดว่าทุกวันนี้เวลาไม่พอ ก็โชคดีแล้วที่เราไม่ได้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ 

ทุกวันนี้อย่างที่เราทราบ โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ครั้ง = 1 วันที่มี 24 ชั่วโมง (ตัวเลขเป๊ะ ๆ คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที และ 4.0916 วินาที) แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือเมื่ออดีตอันไกลโพ้น โลกไม่ได้มี 24 ชั่วโมง แต่กลับเป็น 19 ชั่วโมง

แบบจำลองการหมุนของโลกในงานวิจัยมากมายเสนอว่าความยาวของวันบนโลกเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 พันล้านปีที่ผ่านมาโดยค่อย ๆ เพิ่มประมาณ 0.000015 วินาทีต่อปี ด้วยตัวเลขนี้ทำให้ 1.4 พันล้านปีก่อนมี 18 ชั่วโมง 41 นาทีเท่านั้น 

และงานวิจัยนี้ก็บอกว่าโลกค้างอยู่ที่เกือบ ๆ 19 ชั่วโมงนี้อยู่อย่างนั้นราว 1 พันล้านปี ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? คำตอบคือความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลกเป็นผลมาจากดวงจันทร์ของเรา นั่นคือในช่วงยุคแรก ๆ ของโลก ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก

มันห่างออกไปเพียง 22,530 กิโลเมตรเท่านั้น หรือใกล้กว่าปัจจุบันถึง 17 เท่า (ระยะทางโลก-ดวงจันทร์ปัจจุบัน 598,921 กิโลเมตร) ความใกล้ชิดนี้ทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น และปัจจุบันเราก็รู้ว่าดวงจันทร์กำลังห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ ราว 1.48 นิ้วต่อปี พอ ๆ กับเล็บงอก

การห่างออกไปเรื่อย ๆ นี้ทำให้โลกหมุนช้าลงเรื่อย ๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเป็นแบบนั้นมา แต่งานวิจัยนี้เชื่อว่ามีช่วงหนึ่งเป็นเวลา 1 พันล้านที่โลกค้างอยู่ที่เกือบ ๆ 19 ชั่วโมงเพราะแรงจากลมสุริยะที่สร้างความร้อนให้บรรยากาศโลก ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้โลกหมุนเร็ว



กับ แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้โลกหมุนช้าลง สมดุลกัน จนสร้างช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า ‘พันล้านปีที่น่าเบื่อ’ เพราะไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนโลกเท่าไหร่เหมือนยุคอื่น ๆ  

“ด้วยเหตุนี้ หากในอดีต แรงตรงข้างทั้งสองนี้มีค่าเท่ากัน ทำให้ความยาววันของโลกหยุดเปลี่ยนแปลงและคงที่ไประยะหนึ่ง” Uwe Kirscher จากมหาวิทยาลัย Curtin ในออสเตรเลียกล่าว

เป็นไปได้ว่าการหยุดชั่วคราวนี้ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกพัฒนาช้าไปตาม เพราะถ้าเวลาบนโลกนานขึ้นก็หมายถึงแบคทีเรียมีเวลาสังเคราะห์แสงสร้างออกซิเจนได้มากขึ้น จนเท่าที่มีในระดับปัจจุบัน 

และเมื่อโลกหลุดจาก ‘พันล้านปีที่น่าเบื่อ’ แล้ว สิ่งมีชีวิตก็พัฒนาต่อจนมาเป็นเราทุกวันนี้ที่มีเวลาให้ใช้ประมาณ 24 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อลองนับ ๆ ดู เวลาของเราเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 3,000 ปีก่อนแค่ 0.47 วินาทีเท่านั้น 

โชคดีที่ไม่ต้องซื้อนาฬิกาใหม่


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู