มัลดีฟส์เมืองที่กำลังจมจะจมน้ำหากโลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูง 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น


มัลดีฟส์เมืองที่กำลังจมจะจมน้ำหากโลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูง 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น

มัลดีฟส์เป็นเกาะที่เกิดจากแนวปะการัง ทั้งประเทศจึงต่ำเตี้ยติดทะเล เมื่อโลกร้อนรุนแรง ผลกระทบจึงเกิดกับประเทศเล็กๆ ใจกลางมหาสมุทร 

อันดับแรกที่กลัวกันหนักหนาคือน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 

หากโลกร้อนเกิน 2 องศา ระดับน้ำจะสูงกว่าที่ 1.5 องศาถึง 1 เมตร ความเสี่ยงต่อประเทศจมน้ำจึงมีมากขึ้น


อีกอย่างที่เริ่มเห็นผลคือแผ่นดินร้อนจัด ลมจากทะเลพัดเข้าแผ่นดินรุนแรง 

เมื่ออินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถวบ้านเราร้อนจนเหงื่อไหลย้อย ลมจากมหาสมุทรอินเดียจึงพัดแรงต่อเนื่อง จากมัลดีฟส์มุ่งหน้าสู่ไทยในบางฤดูกาล เช่น ฤดูนี้

สิ่งที่มาพร้อมกับลมแรงต่อเนื่องคือการกัดเซาะชายฝั่ง การแก้ปัญหาต้องใช้หลายวิธีการ เช่น การสร้างคันกันคลื่นในทะเล การเติมทรายในบางจุด

ปัญหาสุดท้ายคือน้ำทะเลร้อน ปะการังฟอกขาว 

โชคดีที่มัลดีฟส์อยู่กลางมหาสมุทร น้ำลึกรอบด้าน การเกิดปะการังฟอกขาวจึงต่างกันเมืองไทย โดยเฉพาะในอ่าวไทยที่น้ำตื้นกว่าเยอะและเกิดปะการังฟอกขาวแบบซ้ำซาก

แต่อย่าคิดว่าที่นี่จะรอดพ้นตลอดไป ในบางปีอาจเกิดน้ำทะเลร้อนรุนแรง เช่นเมื่อ 8 ปีก่อน ปะการังในมัลดีฟส์ที่บอบบางเมื่อเทียบกับเมืองไทย เกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ ปัจจุบันกำลังฟื้นตัว


ทีมนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลไทยที่ Crossroads จึงทำงานหนัก เราต้องตรวจเช็คอุณหภูมิน้ำทะเล 9 เกาะ ติดตามสภาพฟื้นตัวของแนวปะการัง 3.15 ตารางกิโลเมตร รวมถึงการฟื้นฟูที่เป็นกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้

ปีนี้น้ำทะเลที่มัลดีฟส์ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 30 องศา น้อยกว่าทะเลไทยเห็นชัด และปะการังคงไม่ฟอกขาวแน่นอน

แต่ปีหน้า ปีต่อไปและต่อไป ตราบใดที่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกยังพุ่งขึ้นเรื่อย ความเสี่ยงจากฟอกขาวรุนแรงยิ่งมีมากขึ้น

เศรษฐกิจมัลดีฟส์อยู่ที่การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว 1.4-1.5 ล้านคน รายได้คิดเป็น 30% ของ GDP 

และการท่องเที่ยวทั้งหมดคือการเที่ยวทะเล ยังหมายถึงอาหารหลักของคนที่นี่ล้วนมาจากแนวปะการัง

มัลดีฟส์จึงเป็นสถานที่ดีสุดในการเรียนรู้เรื่องโลกร้อนส่งผลต่อทะเล ความรู้ใดๆ ที่เกิดขึ้นที่นี่ สามารถนำไปใช้กับเมืองไทยได้ 

ในทางเดียวกัน จากไทยก็นำมาใช้ที่มัลดีฟส์ได้ นั่นคือเหตุผลที่ผมมาให้ความสำคัญกับที่นี่มากเป็นพิเศษ

ปัจจุบัน คณะประมง มก. และสิงห์เอสเตทมีความร่วมมือกันหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นที่ทำมายาวนานมากคือ Crossroads Project

วันนี้เป็นวันสำคัญที่เราจะก้าวไปอีกขั้น แล้วจะนำมาเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังภายหลังครับ

ช่วยกันลดโลกร้อนนะครับ เพราะโลกร้อนเดือดร้อนทั้งโลก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู