บทความ

ภาวะอากาศโลกแปรปรวนทำปูม้าย้ายถิ่นบุกทะเลแอฟริกาเหนือ ชาวประมงปวดหัว เพราะแถวนั้นไม่นิยมกินปูม้า

รูปภาพ
🌎ภาวะอากาศโลกแปรปรวนทำปูม้าย้ายถิ่นบุกทะเลแอฟริกาเหนือ ชาวประมงปวดหัว เพราะแถวนั้นไม่นิยมกินปูม้า 😁เป็นเหตุการณ์แปลกๆในสถานการณ์อากาศวิปริตโลกแปรปรวนอย่างนี้ในอีกภูมิภาคหนึ่ง ปูม้าบุกทะเลแอฟริกาเหนือ ชาวประมงปวดหัว 🤔เพราะแถวนั้นไม่มีใครกิน ที่ว่าแปลกคือที่นั่น ตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ เขาไม่นิยมกินปูม้ากันครับ ชาวประมงตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ ถึงก็ปวดหัวไม่รู้จะทำยังไงกับปูม้าแถมยังไม่เคยเห็นหน้าตาปูม้านี้..เพิ่งมาเห็นครั้งนี้ครั้งแรกอีกด้วย แรกๆชาวประมงตูนิเซียก็ลากอวนเจอปูม้าหน้าตาประหลาดไม่กี่ตัวแต่พอหลังๆเจ้าปูหน้าตาประหลาด แถมยังมีพฤติกรรมดุร้ายสุดๆ เจอแต่ปูม้าๆ ตอนหลังเรียกได้ว่าลากอวนแล้วเกินครึ่งหนึ่งของสิ่งที่จับได้คือปูที่ว่านี่แหละ... 😁คุณชอบกินปูอะไรกันบ้าง? ในไทย บรรดาปูที่คนชอบกินปูนิยมกันก็น่าจะหนีไม่พ้นปูม้า เพราะมันหวานอร่อยสุดๆ นี่เลยทำให้มันมีราคาแพงตามไปด้วย 🙄แต่รู้ไหมว่าปูชนิดเดียวกันนี้ ในบางพื้นที่ กลับทำเอาคนปวดหัวสุดๆ 👉🏿เรื่องนี้เกิดเมื่อปี 2014 อยู่ดีๆ ชาวประมงตูนิเซียในแอฟริกาเหนือก็พบปูหน้าตาประหลาด มีพฤติกรรมดุร้ายสุดๆ ตอนแรกก็เจอไม่กี่ตัวหรอก แต

WMOเตือนเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมามหาสมุทรโลกร้อนที่สุด และมีระดับความเป็นกรดที่สูงที่สุดและน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ทุบสถิติ

รูปภาพ
WMOเตือนเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมามหาสมุทรโลกร้อนที่สุด และมีระดับความเป็นกรดที่สูงที่สุดและน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ทุบสถิติ WMOเตือนเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา มหาสมุทรโลกร้อนที่สุด และมีระดับความเป็นกรดที่สูงที่สุดและน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ทุบสถิติ  👉🏿องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เผยว่าเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา มหาสมุทรโลกร้อนที่สุด และมีระดับความเป็นกรดที่สูงที่สุดทุบสถิติ  องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เปิดเผยรายงานประจำปีเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกในปี 2021 โดยชี้ว่าธารน้ำแข็งที่ละลายทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแตะระดับใหม่  “สภาพภูมิอากาศของเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การกักเก็บความร้อนจากก๊าซเรือนกระจกจะทำให้โลกร้อนขึ้นในอนาคต” Petteri Taalas เลขาธิการ WMO เผย  รายงานดังกล่าวยังเผยว่า ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนในบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นสูงทุบสถิติ ในปี 2021 ไม่นานมานี้ รายงานจากสหประชาชาติได้เตือนว่า เราต้องเร่งลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศของโลก  ขณะนี้โลกได้ร้อนขึ้นแล้วเฉลี่ยราว 1.1 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

ทีมนักวิจัยค้นพบเชื้อโรคที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทำลายอารยธรรมยุคสัมฤทธิ์กว่าสี่พันปีก่อน

รูปภาพ
ทีมนักวิจัยค้นพบเชื้อโรคที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทำลายอารยธรรมยุคสัมฤทธิ์กว่าสี่พันปีก่อน ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ย่อมมีวันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเชื้อโรคร้ายที่ทำลายวัฒนธรรม อารยธรรมยุคสัมฤทธิ์ หรือ: Bronze Age เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสัมฤทธิ์ เป็นช่วงหนึ่งที่มีโรคระบาดหนัก และมันอาจจะทำให้อารยธรรมต่างๆในยุคนั้นสูญสลายไปได้ เพราะวิทยาการการรักษาพยาบาลอาจจะยังไม่พัฒนาเหมือนยุคปัจจุบัน..ก่อนที่จะมีการฟื้นฟูอีกครั้งเชื้อโรคที่ว่านั้นอาจจะเป็นเชื้อโรคร้ายดังเช่นคล้ายไวรัสโควิดที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ได้  มันน่าจะเป็นวัฏจักรของโลกเมื่อมีคนมากขึ้นโลกก็จะจัดระบบระเบียบใหม่เป็นไปตามกลไกของ ธรรมชาติ.. อารยธรรมแห่งยุคราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์ ล่มสลายลงเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรโบราณหลายแห่งในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ในยุคราชอาณาจักรเก่าหรือจักรวรรดิอักคาเดียน ต้องล่มสลายลงเพราะเชื้อกาฬโรคและไข้ทัยฟอยด์ชนิดที่ไม่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ผลวิเคราะห์ดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ที่อยู่ในฟันมนุษย์ยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งค้นพบที่ถ้ำสุสานแห่งหนึ่งบนเกาะครีต

‘หายนะที่ไร้ความสุข’ วัยรุ่นสหรัฐฯ พาสุนัขว่ายหนีน้ำท่วมครั้งใหญ่ เพื่อรอความช่วยเหลือบนหลังคาบ้าน

รูปภาพ
‘หายนะที่ไร้ความสุข’ วัยรุ่นสหรัฐฯ พาสุนัขว่ายหนีน้ำท่วมครั้งใหญ่ เพื่อรอความช่วยเหลือบนหลังคาบ้าน การเฝ้ารอความช่วยเหลือบนหลังคาบ้าน ท่ามกลางน้ำท่วมขังที่ไม่รู้ว่าจะสูงขึ้นไปอีกเท่าไหร่ นับเป็นความทรมานใจที่ไม่อาจเรียกว่าเป็น ‘ความสุข’ ได้เลยแม้แต่น้อย และเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ เมื่อวัยรุ่นอายุ 17 ปี ต้องว่ายน้ำปีนหลังคาบ้านพร้อมสุนัข สัตว์เลี้ยงคู่ใจ เพื่อเฝ้ารอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐฯ วัยรุ่นรายนี้มีชื่อว่า โคลอี้ อดัมส์ (Chloe Adams) เธอตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า มีน้ำเอ่อล้นออกมาจากท่อระบายน้ำในห้องน้ำ แล้วห้องครัวรวมถึงรอบๆ บ้านของเธอก็มีน้ำผุดออกมาตามกระเบื้องด้วย ซึ่งโคลอี้อาศัยอยู่กับคุณปู่คุณย่าที่รัฐเคนทักกี และน้องหมาที่มีชื่อว่า แซนดี้ (Sandy) ซึ่งเธอเลี้ยงมาตั้งแต่เด็กๆ  แล้วเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุน้ำท่วม เนื่องด้วยฝนตกหนักหลายแห่ง ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 ราย และประชาชนอีกกว่าร้อยรายที่สูญเสียที่พักอาศัยไป คุณปู่คุณย่าของโคลอี้ อยู่ห่างจากบ้านเพียงเล็กน้อย แต่พอน้ำท่วมไหลมาแรง พวกเขาก็ถูกพัดออกไป ทั้งคู่พยายามตะโกนบอกโคลอี้ให

James Lovelock นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมชาวอังกฤษ เจ้าของสมมติฐาน Gaia hypothesis ที่มองว่า ‘โลกมีชีวิตในตัวเอง’ และมนุษย์กำลังทำให้โลกเสียสมดุล เสียชีวิตแล้ว ในวัย 103 ปี

รูปภาพ
James Lovelock นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมชาวอังกฤษ เจ้าของสมมติฐาน Gaia hypothesis ที่มองว่า ‘โลกมีชีวิตในตัวเอง’ และมนุษย์กำลังทำให้โลกเสียสมดุล เสียชีวิตแล้ว ในวัย 103 ปี  James Ephraim Lovelock คือนักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมชื่อดัง ชาวอังกฤษ เขาได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา เขามีชื่อเสียงจากการที่ได้เสนอสมมติฐานไกอา ‘Gaia hypothesis’ หรือเป็นที่รู้จักว่าทฤษฎีไกอา ในปี 2515 ที่เสนอว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ และสร้างระบบที่ซับซ้อน ที่ช่วยกันรักษาและคงสภาพแวดล้อมเพื่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยมีแนวคิดว่า โลกคือสิ่งมีชีวิตขนาดมหึมา สิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิตของโลก มีบทบาทในการปรับสมดุลของโลก มีระบบและกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศ น้ำ ธรณี และสิ่งมีชีวิตที่ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของโลกไว้ เทียบได้กับร่างกายมนุษย์ที่มีอวัยวะและเซลล์ต่างๆ โดยเขามองว่าโลกเป็นสิ่งมีชีวิต และระบบทางชีววิทยาทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ได้ทำให้โลกของเราเสียสมดุล  เขาถือเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นผู้บุกเบิก ส

อุณหภูมิสูง อาจทำให้หิมะบนศูนย์กรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาที่สูงที่สุดในยุโรปละลายหมดภายในไม่กี่วัน

รูปภาพ
นักวิทยาศาสตร์กังวลอุณหภูมิสูง อาจทำให้หิมะบนศูนย์กรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาที่สูงที่สุดในยุโรปละลายหมดภายในไม่กี่วัน . ‘Sonnblick Observatory’ คือศูนย์กรมอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่บนยอดเขา Hoher Sonnblick บริเวณเทือกเขาแอลป์ตะวันออก ประเทศออสเตรีย โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,106 เมตร ถือว่าเป็นศูนย์กรมอุตุนิยมวิทยาที่สูงที่สุดในโลก . ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ที่ Sonnblick Observatory เผยว่าขณะนี้หิมะที่กรมอุตุนิยมวิทยาดังกล่าวกำลังละลายอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยปกติแล้วบางช่วงของฤดูร้อนบนยอดเขา Hoher Sonnblick จะมีหิมะปกคลุมตลอดและจากสถิติในอดีต หิมะไม่เคยละลายก่อนวันที่ 13 สิงหาคม แต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานว่าวัดความหนาของหิมะได้เพียง 3 เซนติเมตรเท่านั้น . นักวิทยาศาสตร์ยังบอกอีกด้วยว่า หิมะบนเทือกเขาละลายเร็วผิดปกติมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน เทียบกับสถิติเดิมในเดือนมิถุนายนของปีที่แล้ว ที่หิมะมีความหนาอยู่ที่ 362 เซนติเมตร ในขณะที่ปีนี้หิมะบางลงเหลือแค่ 39 เซนติเมตรและลดลงอีกอย่างต่อเนื่อง จนคาดว่าหิมะน่าจะละลายหมดภายในอีกไม่กี่วันข้างห

ความหมาย จุลชีพและไวรัส และ การค้นพบDNAไวรัสในจุลชีพโบราณ "แอสการ์ด อาร์เคีย" คาดอยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน

รูปภาพ
ความหมาย จุลชีพและไวรัส และ การค้นพบDNAไวรัสในจุลชีพโบราณ "แอสการ์ด อาร์เคีย" คาดอยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน เรามาทำความเข้าใจคำว่าจุลชีพก่อน จุลชีพก่อโรค เชื้อก่อโรค (อังกฤษ: pathogen) โดยทั่วไปหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พรีออน เชื้อรา หรือจุลชีพอื่น ๆ แต่เดิมคำว่า pathogen หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นเชื้อหรือไม่ใช่เชื้อก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า... บทความเพิ่มเติม พบดีเอ็นเอไวรัสในจุลชีพโบราณ "แอสการ์ด อาร์เคีย" คาดอยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน อาร์เคียเติบโตอยู่โดยรอบบ่อน้ำพุร้อน Grand Prismatic Spring ที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนของสหรัฐฯ ทีมนักจุลชีววิทยานานาชาติหลายคณะ เผยแพร่รายงานวิจัย 3 ฉบับ ในวารสาร Nature Microbiology เกี่ยวกับการค้นพบและศึกษาร่องรอยดีเอ็นเอของไวรัสใน "แอสการ์ด อาร์เคีย" (Asgard archaea) จุลชีพโบราณจำพวกหนึ่งที่มีชื่อเหมือนทวยเทพในตำนานปรัมปราของวัฒนธรรมนอร์ส (Norse) นักจุลชีววิทยากลุ่มนี้คาดว่า การที่แอสการ์ด อา