บทความ

ดวงตาแห่งแอฟริกา Eye of Africa

รูปภาพ
ดวงตาแห่งแอฟริกา  (Eye of Africa) หรือโครงสร้างริชาร์ท (The Richat Structure)   หากมองจากทางอากาศพื้นที่แห่งนี้จะมีลักษะคล้ายกับดวงตาที่ปรากฏขึ้นบนทะเลทรายซาฮารา สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (Islamic Republic of Mauritania) จึงเป็นที่มาของฉายาอีกอย่างคือ ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮารา มีรูปทรงคล้ายโดม กว้างประมาณ 40 กิโลเมตร สามารถมองเห็นได้ไกลจากอวกาศถึง 50 กิโลเมตร โดยไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปดวงตาได้จากพื้นดินเพราะเป็นการยกตัวขึ้นของหินตะกอนที่มีอายุมากกว่าพันปีมาแล้ว เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนที่รักการผจญภัย ถึงแม้ว่าแต่ละสถานที่จะดูลึกลับ  น่ากลัว แฝงไปด้วยปริศนาและความน่าพิศวงมากมาย แต่มันก็สร้างสีสันและความสวยงามให้กับโลกใบนี้ไม่ใช่น้อย ภาพถ่ายดาวเทียมแลนเซท 7 (Landsat 7,) ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนเซท 7(Landsat 7,)   ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮาร่า Eye of the Sahara หรือดวงตาแห่งอัฟริกา “Eye of Africa.”รูปทรง  ริชาท (Richat Structure )หรือที่เรียกกันว่า  ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮาร่า Eye of the Sahara หรือดวงตาแห่งอัฟริกา “Eye of Africa.” อยู่ในเขตทะเลทรายซา

ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ครั้งแรกในรอบ 40 ปี

รูปภาพ
ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ครั้งแรกในรอบ 40 ปี ทะเลทรายซาฮาร่าหิมะตก ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ มี เรื่องแปลก มากๆ เมื่อเดลี่เมล์ รายงานว่าวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา ทะเลทราย ซาฮาร่า ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นทะเลทรายที่ร้อนที่สุดในโลก หิมะตก บริเวณที่หิมะตก อยู่ในประเทศแอลจีเรีย เมืองเซฟรา เป็นที่ตกตะลึงแก่ชาวเมืองเป็นอย่างมาก  เนื่องจากไม่เคยมีหิมะตกในบริเวณดังกล่าวกว่า 4 ทศวรรษแล้ว ครั้งล่าสุดที่บันทึกไว้คือ เมื่อปี 1979หรือ 37 ปีที่แล้วเลยทีเดียว ช่างภาพท้องถิ่นผู้บันทึกภาพกล่าวว่า เขาตกใจมากที่ตื่นมาแล้วพบหิมะขาวโพรน ปกคลุมไปทั่วทะเลทราย ที่กว้างใหญ่ เขาจึงรีบบันทึกภาพเก็บไว้เพราะกลัวมันจะละลายหลังจากบันทึกภาพเสร็จ หิมะดังกล่าวก็ค่อยๆละลาย และหายไปหมดในเวลา ห้าโมงเย็น ส่วนสาเหตุนั้นพบว่าเกิดจากความกดอากาศสูงจากยุโรปแผ่เข้ามาทำให้ บริเวณแอฟริกาเหนือมีอากาศเย็นและ บางพื้นที่ หรือ แม้แต่ทะเลทรายซาฮาร่า ก็ยังมีหิมะตกเห็นแบบนี้แล้ว ก็มีความหวังเล็กๆ ว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเห็นหิมะตกในเมืองไทย ก็เป็นไปได้  แต่อีกนัยหนึ่งก็ได้เห็นถึงความน่ากลัว และความวิปริต ขอ

ไข่น้ำแข็ง เกลื่อนชายหาดฟินแลนด์ หลังเจอสภาพอากาศผันผวนผิดปกติ

รูปภาพ
พบก้อนน้ำแข็งรูปไข่จำนวนมาก บนชายหาดเกาะไฮลัวโท (Hailuoto) ของฟินแลนด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่อยู่อาศัยบนเกาะไฮลัวโท (Hailuoto) ของฟินแลนด์ พบก้อนน้ำแข็งรูปไข่จำนวนมากเรียงรายอยู่บนชายหาด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยปรากฏการณ์ประหลาดนี้เกิดขึ้น หลังพื้นที่แถบนั้นเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงฉับพลันและมีลมพัดแรง ซึ่งสภาพอากาศผันผวนเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  นายริสโต มัตติลา ช่างภาพมือสมัครเล่นซึ่งบันทึกภาพ "ไข่น้ำแข็ง" เหล่านี้ไว้ได้บอกว่า "เช้าวันนั้นผมไปเดินเล่นที่ชายหาดกับภรรยา สภาพอากาศแจ่มใสแต่ก็ออกจะหนาวอยู่ โดยอุณหภูมิ -1 องศาเซลเซียส และมีลมพัดจัดกว่าปกติ" หิมะม้วน : พบปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หาดูได้ยากในอังกฤษ พบภูเขาน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสมบูรณ์แบบในธรรมชาติ พบวงแหวนน้ำแข็งยักษ์ก่อตัวในแม่น้ำสหรัฐฯ "ผมอยู่บนเกาะนี้มา 25 ปี แต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน ไข่น้ำแข็งฟองกลม ๆ ละลานตา ปกคลุมชายหาดเป็นแนวยาวราว 30 เมตร ก้อนน้ำแข็งลูกเล็กที่สุดมีขนาดประมาณเท่าไข่ไก่ ส่วนลูกที่ใหญ่ที่สุดนั้นเท่ากับลูกฟุตบอลเห็นจะได้"   นายจ

เมืองแห่งป่าเมืองแห่งอนาคตช่วยลดมลพิษในจีน

รูปภาพ
“เมืองแห่งป่า”เมืองแห่งอนาคตช่วยลดมลพิษในจีน จีนเปิดตัวโครงการก่อสร้าง "เมืองแห่งป่า"ที่แรกของประเทศและของโลกที่เมืองหลิ่วโจว ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เพื่อให้เมืองแห่งนี้ทำหน้าที่เสมือนผืนป่าช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในจีน เมืองแห่งนี้เป็นผลงานการออกแบบโดย สเตฟาโน โบเอริ สถาปนิกชาวอิตาลีผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานการออกแบบอาคารแนวอิงธรรมชาติที่มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ โดยเมืองแห่งป่าจะมีอาคารกว่า 70 หลังที่สามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้ราว 30,000 คน และมีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้กว่า 1 ล้านต้น คาดว่าโครงการนี้จะเริ่มการก่อสร้างได้ในปี 2020 ผู้ออกแบบเชื่อว่า ต้นไม้ในเมืองแห่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของจีน เนื่องจากสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ต้นเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ปีละ 10,000 ตัน และช่วยผลิตก๊าซออกซิเจน 900 ตัน ทั้งจะช่วยลดอุณหภูมิบริเวณโดยรอบ รวมทั้งเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้แก่สัตว์ป่า

ธารน้ำแข็งอาร์กติดแคนาดาละลาย จนเผยภูมิประเทศใหม่ที่ถูกปกคลุมนานกว่า 40,000 ปี

รูปภาพ
น้ำแข็งอาร์กติดแคนาดาละลาย เผยภูมิประเทศยุคโบราณ น้ำแข็งอาร์กติดแคนาดาละลาย เผยภูมิประเทศยุคโบราณ นักวิจัยพบ ธารน้ำแข็งอาร์กติดแคนาดาละลาย จนเผยภูมิประเทศใหม่ที่ถูกปกคลุมนานกว่า 40,000 ปี สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า นาย Simon Pendleton นักศึกษาปริญญาเอก และหนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Colorado Boulder ได้เปิดเผยการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกำลังทำให้ธารน้ำแข็งยุคโบราณในแถบหมู่เกาะ Baffin ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวฮัตสัน ในประเทศแคนาดากำลังละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มเผยให้เห็นภูมิประเทศใหม่จากยุคโบราณ ที่เคยถูกน้ำแข็งทับถมปกคลุมมานานกว่า 40,000 ปี รายงานระบุว่า ทีมวิจัยของเขาได้เดินทางไปยังพื้นที่ของเกาะแห่งนี้ เพื่อเก็บตัวอย่างมอส และไลเคนจำนวน 48 ตัวอย่าง ช่วงฤดูร้อนระหว่างปี 2010-2015 ที่ถูกพบหลังจากที่น้ำแข็งละลาย หลังจากเก็บตัวอย่างดังกล่าวทีมวิจัยของเขาได้นำตัวอย่างเหล่านี้คาดคะเนอายุด้วยวิธี กัมมันตรังสีคาร์บอนคาด (Radiocarbon dating) จึงพบว่าตัวอย่างมอสและไลเคนพวกนี้มีอายุมากกว่า  40,000 ปีแล้ว ซึ่งมันปรากฎขึ้นมาหลังจากน้ำแข็งหนาหลายชั้

ภูเขาไฟ กรากะตัว ตำนานภูเขาไฟระเบิดที่ดังที่สุดในโลก

รูปภาพ
ค้นหา ตำนานภูเขาไฟระเบิดที่ดังที่สุดในโลกที่มีคนตายกว่า 36,000 คน คุณคิดว่าเสียงอะไรบนโลกนี้ที่ดังที่สุดในโลกบ้าง ? เสียงนั้นอาจเป็นเสียงฟ้าผ่า แผ่นดินไหว หรือระเบิดปรมาณู แต่แท้ที่จริงแล้ว เสียงที่คาดว่าดังที่สุดในโลก ก็คือการระเบิดของ “ภูเขาไฟกรากะตัว” นั่นเอง กรากะตัว (Krakatao)คือภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะชวาและเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก่อตัวมาตั้งแต่ 1,000,000 ปีก่อน และมีความสูงถึง 820 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  โดยกรากะตัวได้เคยระเบิดเล็กๆ น้อยๆ มาหลายครั้ง แต่ชาวอินโดก็ไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของมันมาก ก่อนที่มันจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ขึ้น และเป็นการระเบิดที่รุนแรงอย่างคาดไม่ถึง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1883 กรากะตัว ได้เกิดระเบิดขึ้น เกาะทั้งเกาะสั่นสะเทือน เถ้าถ่านฝุ่นควันพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ความรุนแรงของมันเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูขนาด 200 เมกะตัน หรือรุนแรงกว่าระเบิด Little Boy ที่ถูกทิ้งใส่เมืองฮิโรชิม่า 1,500 เท่า ผลของแรงระเบิด ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะราว 36,000 คนเสียชีวิตทั้งหมด พื้นที่ 65.52% ของเกาะกลายเป็นเถ้าธุลี

นักวิจัยพบสาเหตุที่เนินพุโคลนบนเกาะชวาพ่นโคลนไม่หยุดมานาน 11 ปีแล้ว

รูปภาพ
ค้นหา เนินพุโคลน Lusi บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ปะทุพ่นโคลนออกมาอย่างต่อเนื่องมานาน 14 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2006 สร้างความสงสัยแก่นักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเพราะอะไรมันถึงไม่หยุดพ่นโคลนออกมาเสียที ถ้าเป็นเนินพุโคลนทั่วไปมันควรหยุดไปตั้งนานแล้ว  ในที่สุดนักวิจัยก็ค้นพบสาเหตุแล้วว่าเกิดจากการเชื่อมต่อกับภูเขาไฟข้างเคียงที่ใต้ดินระดับลึก  ซึ่งทำให้ทราบว่า Lusi จะไม่ยอมหยุดพ่นโคลนในเวลาอันใกล้อย่างแน่นอน เนินพุโคลน (Mud Volcano) จัดเป็นภูเขาไฟประเภทหนึ่งถูกสร้างขึ้นโดยการปะทุของโคลน ของเหลวข้น น้ำ และก๊าซ ซึ่งอาจจะเกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาได้หลายอย่าง เนินพุโคลนมีตั้งแต่ขนาดเล็กสูงเพียง 1 – 2 เมตร จนถึงขนาดใหญ่สูงหลายร้อยเมตรกว้างหลายกิโลเมตร เนินพุโคลนขนาดใหญ่ที่สุดก็คือ Lusi นี่เอง มันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 กิโลเมตร Lusi เริ่มปะทุตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2006 พ่นโคลนออกมาจำนวนมหาศาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด  ช่วงสูงสุดในเดือนกันยายน ปี 2006 มันพ่นโคลนออกมามากถึง  180,000 คิวบิกเมตรต่อวัน  ซึ่งมากพอสำหรับถมเต็มสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิก 7