บทความ

ลาวาสีครามที่อินโดนีเซีย

รูปภาพ
ลาวาสีครามในอินโดนีเซีย นี่คือภาพของลาวาสีครามจากภูเขาไฟ Kawah Ijen บนเกาะชวาตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียที่ถูกถ่าย โดย Olivier Grunewald ช่างภาพชาวฝรั่งเศส  โดยสาเหตุที่ทำให้ลาวาเป็นสีฟ้า เนื่องจากเมื่อลาวาจากใต้ดินที่มีความร้อนสูงเผาไหม้กำมะถันเข้มข้นที่อยู่บนพื้นผิว จะทำให้เกิดเปลวไฟสีฟ้า ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดในตอนกลางคืน  โดยกำมะถันที่ถูกปล่อยออกมาภายใต้ความดันสูง และเผาไหม้ที่อุณหภูมิ 600°C (1,112°F) นั้น สามารถทำให้เกิดเปลวไฟได้สูงถึง 5 เมตรเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก Nerdist) Kawah Ijen เป็นภูเขาไฟที่มีกรวยสลับชั้น ความสูง 2,799 เมตร บนยอดเขามีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกรดกำมะถัน และมีการทำเหมืองกำมะถันที่เกิดจากการเย็นตัวลงของลาวาโดยรอบแอ่งอีกด้วย Kawah Ijen แปลและเรียบเรียงโดย Felis

Tambora ที่ระเบิดรุนแรงจนยอดเขาพังทลาย..เถ้าภูเขาไฟปกคลุมทั่วฟ้าทำให้บริเวณนั้นมืดมิดและไม่ได้รับแสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน

รูปภาพ
Tambora เถ้าภูเขาไฟปกคลุมทั่วฟ้า ภูเขาไฟตัมโบรา เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย เดิมทีภูเขาแห่งนี้มีความสูงถึง 4,300 เมตร แต่หลังจากการระเบิดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 มันได้เหลือความสูงเพียง 2,850 เมตร และกลายเป็นแอ่งขนาดใหญ่กว้างกว่า 6 กิโลเมตร  ลึกไปกว่า 1 กิโลเมตร การระเบิดในครั้งนั้น มีความรุนแรงระดับ VEI-7 โดยมีรายงานว่า ได้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด มีการไหลของลาวาท่วมอยู่รอบภูเขาไฟ และการพวยพุ่งของเถ้าเขม่าและควันก๊าซกว่า 175,000,000,000 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นไปปกคลุมท้องฟ้า ทำให้บริเวณนั้นมืดมิดและไม่ได้รับแสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า หลังภูเขาไฟระเบิด ชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยฝุ่นเถ้า เป็นเหตุให้พื้นผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์ลดน้อยลงถึง 20 % ทำให้อุณหภูมิทางซีกโลกเหนือลดลงมากและมีผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก  โดยหลายทวีปเข้าสู่ความมืดมิดเนื่องจากฝุ่นละอองได้บดบังไว้ ในบางประเทศมีฝนตกหนักตลอดสัปดาห์ โดยในปีต่อมาทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้เข้าช่วงปีไร้ฤดูร้อน กว่าฝุ่

ฝนถล่ม น้ำทะเลสูง! เตือน กรุงเทพฯ กำลังจมบาดาลตลอดกาล

รูปภาพ
ฤดูฝนปีนี้ คนไทยทั่วทุกภาค รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่ชาว กทม. หวั่นใจลึกๆ เย็นนี้ฝนจะตกจนทำให้น้ำท่วมถนน รถติดชนิดหนักหนาสาหัสอีกหรือไม่ ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงปัญหาน้ำท่วมรอระบายที่คนกรุงฯ เผชิญหน้าแทบทุกวันมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ขณะนี้กำลังมีมหันตภัยที่รอเราอยู่ ในขณะที่พวกเราอาจยังไม่ได้ตระหนักเท่าใดนัก นั่นคือ เสียงเตือนที่ดูเหมือนยังคงแผ่วเบา ว่า กรุงเทพมหานครกำลังเสี่ยงจะจมน้ำ ถูกน้ำท่วมในอีกสิบกว่าปีข้างหน้าที่จะถึงนี้!! *กรุงเทพฯ ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาอย่างรุนแรง เว็บไซต์ South China Morning Post สื่อในฮ่องกง นำเสนอบทความที่น่าตกใจสำหรับคนกรุงเทพฯ ว่า ‘กรุงเทพฯ กำลังจมน้ำ -จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เมืองหลวงของประเทศไทย ไม่เผชิญหายนะภัยน้ำท่วมอีกครั้งได้อย่างไร?’ สื่อฮ่องกงชี้ว่า กรุงเทพฯ ได้ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาอย่างรุนแรงมานานหลายปีแล้ว มีแต่การสร้างตึกสูงระฟ้า คอนโดมิเนียมสูงหลายสิบชั้น ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ ยิ่งทรุดต่ำลงไปเรื่อยๆ ขณะที่เว็บไซต์บีบีซี ภาคภาษาไทย รายงานเตือนคนไทยและช

ริ้วน้ำแข็งปกคลุมทะเลทรายซาฮาราอันร้อนแรง เป็นครั้งที่ 4 ในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ

รูปภาพ
ริ้วน้ำแข็งปกคลุมเนินทราย ในทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศแอลจีเรีย ริ้วน้ำแข็งปกคลุมเนินทรายในทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแอลจีเรีย เมื่อวันอังคารที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมา ชาวเมืองไอน์เซฟรา (Ain Sefra) ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแอลจีเรีย ได้พบกับปรากฏการณ์น่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อเนินทรายสีทองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายซาฮาราที่ด้านนอกเมือง ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งจนกลายเป็นสีขาวที่ดูประหลาดตาอย่างยิ่ง การที่ทะเลทรายขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งและมีอุณหภูมิร้อนแรงติดอันดับโลก กลับมาถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั้น เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้พบเห็นกันบ่อยนัก โดยในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 42 ปี หลังจากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1979, 2016 และ 2018 เมืองไอน์เซฟราซึ่งมีฉายาว่า "ประตูสู่ซาฮารา" ตั้งอยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 1,000 เมตร ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาแอตลาส ใกล้กับพรมแดนด้านที่ติดกับโมร็อกโก แม้ในช่วงฤดูร้อนพื้นที่แถบนี้จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงเดือนมกราคม อุณหภูมิในเวลากลางวันจะลดต่ำลงจนเหลือเพียง 14 องศาเซลเซียสได้ ในคืนที่เกิดเหตุน้ำแ

ถ้ำน้ำแข็งฉายา มหาวิหารน้ำแข็ง สถาปัตยกรรมงดงามที่ธรรมชาติสร้างขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์

รูปภาพ
ถ้ำน้ำแข็งฉายา "มหาวิหารน้ำแข็ง" สถาปัตยกรรมงดงามที่ธรรมชาติสร้างขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์ ถ้ำน้ำแข็งที่ได้รับการขนานนามว่า "มหาวิหารน้ำแข็ง" (Ice Cathedral) ในเทือกเขาแอลป์เขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอย่างเป็นทางการ และสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น ถ้ำน้ำแข็งแห่งนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากน้ำที่แข็งตัว โดยในฤดูร้อน ถ้ำจะเต็มไปด้วยน้ำจากหิมะที่ละลาย และเมื่อน้ำไหลออกไปในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ก็จะทำให้เกิดอุโมงค์ที่มีลักษณะคล้ายห้องโถง หรือมหาวิหารสีฟ้าขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งในแต่ละปีภายในถ้ำจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป โดยในปีนี้ภายในมีความสูงประมาณ 5 เมตร และยาว 20 เมตร ถ้ำแห่งนี้เพิ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปยลโฉมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยสามารถนั่งเก้าอี้ลอยฟ้า (chairlift) ที่ให้บริการจากหมู่บ้านสกีรีสอร์ต "เลส์ ดิอาเบลอเรต์"( Les Diablerets) แล้วเดินขึ้นเขาต่อไปอีกประมาณ 15 นาที

Mount Pinatubo ภูเขาไฟ มรณะ บนเกาะลูซอน

รูปภาพ
Mount Pinatubo ภูเขาไฟบนเกาะลูซอน ภูเขาไฟปินาตูโบ คือชื่อของภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นซึ่งยังมีพลังอยู่ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณเทือกเขาซัมบาเลซ เหนือกรุงมะนิลา มีความสูง 1,750 เมตร อายุราว 90,00 ปี  ก่อนการระเบิดถูกปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบ และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และพืชชนิดอื่น บนปากปล่อง มีทะเลสาบกว้างบนปากปล่อง หลังจากสงบลง 600 ปี ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2534 การระเบิดก็ได้เริ่มขึ้น พื้นที่โดยรอบ 20 กิโลเมตร ถูกปกคลุมด้วยเถ้าภูเขาไฟจนมืดมิด สเก็ดภูเขาไฟทำลายสิ่งก่อสร้าง ลาวาได้ไหลลงมาทำลายบ้านเรือน เกิดโคลนถล่ม น้ำท่วมและแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถึง 40 กิโลเมตร และได้ไปผสมกับความชื้นกลายเป็นเมฆปกคลุมอยู่รอบโลกถึง 21 วัน  นักธรณีวิทยาได้กล่าวไว้ว่า การระเบิดครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงและยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการจดบันทึกไว้โดยกลุ่มก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจะยังคงปกคลุมและหมุนอยู่รอบโลกไปอีกถึง 5 ปี ผลกระทบในครั้งนั้นทำให้หลายพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช

Icewormอดีตฐานทัพลับสหรัฐฯ บนธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์

รูปภาพ
Iceworm อดีตฐานทัพลับสหรัฐฯ บนธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกโดยไม่รู้ตัว! ย้อนกลับไปในยุคสงครามเย็นของอเมริกาและโซเวียตเกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือด การช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจที่ชาติไหนเปิดฉากยิงก่อนก็อาจหมายถึงคราวดับสูญของชาตินั้นๆ ไม่มีอะไรการันตีความปลอดภัยได้ นอกจากทำให้แน่ใจว่าหากถูกยิงขึ้นมาเราจะไม่ได้เสียหายฝ่ายเดียว ฐานทัพลับบนเกาะน้ำแข็งแห่งนี้จึงเกิดขึ้น! Project Icewom เป็นโครงการลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในช่วงสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐฯ เลือกพื้นที่บนเกาะกรีนแลนด์ในดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก สร้างฐานทัพ ‘Camp Century’ ใต้ธารน้ำแข็งเสร็จสิ้นในปี 1960 โดยอ้างว่าเป็นสถานีวิจัยน้ำแข็งของสหรัฐฯ แต่ความจริงมันคือ “ฐานยิงนิวเคลียร์” ด้านล่างของฐานทัพนี้เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร พร้อมด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพกพาชนิดแรกของโลก ที่ถูกปิดบังไว้ด้วยหิมะและน้ำแข็ง ซึ่งได้ความร่วมมือจากทางการเดนมาร์กเพื่อเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ (โครงสร้างของ Camp Century) เชื่อกันว่าฐานทัพนี้เป็นที่เ