Icewormอดีตฐานทัพลับสหรัฐฯ บนธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์

Iceworm อดีตฐานทัพลับสหรัฐฯ บนธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกโดยไม่รู้ตัว!

ย้อนกลับไปในยุคสงครามเย็นของอเมริกาและโซเวียตเกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือด การช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจที่ชาติไหนเปิดฉากยิงก่อนก็อาจหมายถึงคราวดับสูญของชาตินั้นๆ ไม่มีอะไรการันตีความปลอดภัยได้ นอกจากทำให้แน่ใจว่าหากถูกยิงขึ้นมาเราจะไม่ได้เสียหายฝ่ายเดียว ฐานทัพลับบนเกาะน้ำแข็งแห่งนี้จึงเกิดขึ้น!

Project Icewom เป็นโครงการลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในช่วงสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐฯ เลือกพื้นที่บนเกาะกรีนแลนด์ในดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก สร้างฐานทัพ ‘Camp Century’ ใต้ธารน้ำแข็งเสร็จสิ้นในปี 1960 โดยอ้างว่าเป็นสถานีวิจัยน้ำแข็งของสหรัฐฯ แต่ความจริงมันคือ “ฐานยิงนิวเคลียร์” ด้านล่างของฐานทัพนี้เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร พร้อมด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพกพาชนิดแรกของโลก ที่ถูกปิดบังไว้ด้วยหิมะและน้ำแข็ง ซึ่งได้ความร่วมมือจากทางการเดนมาร์กเพื่อเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ
(โครงสร้างของ Camp Century)
เชื่อกันว่าฐานทัพนี้เป็นที่เก็บหัวรบนิวเคลียร์ (พิสัยกลาง) เอาไว้ถึง 600 ลูก ที่มีรัศมีการทำลายไปถึงโซเวียตได้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นฐานแห่งนี้ก็จะยิงนิวเคลียร์ไปยังโซเวียตได้ทันที โครงสร้างของฐานทัพประกอบด้วยเหล็กกล้าและไม้ ถูกคำนวณอายุการใช้งานเอาไว้อย่างน้อยถึง 10 ปี

แต่เมื่อใช้งานไปได้เพียง 2-3 ปี วิศวกรก็พบว่าธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์นั้น กลับละลายเร็วกว่าที่คำนวณไว้ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความร้อนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นั่นเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปวิศวกรเชื่อว่าฐานทัพแห่งนี้อาจถูกหิมะถล่มลงมาได้ จากนั้นก็เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ออกไป ในที่สุดมันก็ถูกทิ้งร้างในปี 1967 โครงสร้างเก่าของฐานทัพนี้ยังอยู่เป็นปกติตลอดหลายสิบปีมานี้หลังจากขนย้ายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ซึ่งสิ่งน่าสนใจกว่าไม่ใช้โครงสร้างของเหล็กกล้าภายในอุโมงค์ แต่อุโมงค์แห่งนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากการที่นักวิจัยได้เข้ามาตรวจสอบการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์เมื่อปี 2016 พบว่า ระหว่างที่รัฐบาลสหรัฐฯ ค้นย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ออกไป 

โดยหวังจะฝังสถานที่แห่งนี้ไว้ใต้น้ำแข็ง พวกเขาได้ทิ้งกากกัมมันตรังสีจำนวนมากเอาไว้ โดยไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง ซึ่งมันได้กำลังส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างช้าๆ โดยที่ไม่มีใครรู้มาก่อน แม้ตอนนี้อุโมงค์ยักษ์ใต้น้ำแข็งจะยังแข็งแรงและถูกหิมะปกคลุมไว้ แต่หากเมื่อไหร่มันถล่มโลกของเราก็จะพบกับภาวะโลกร้อนหนักกว่าที่เป็นอยู่แน่ๆ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู