บทความ

รายงานสหประชาชาติเตือนเรื่องภัยพิบัติจากโลกร้อนในอีก 12 ปี

รูปภาพ
รายงานจากคณะกรรมการของสหประชาชาติด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกหรือ IPCC เตือนว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีกเพียง 12 ปีต่อจากนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม  และจะทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องหายนะจากธรรมชาติ เช่น ภาวะแล้งจัดไฟป่า น้ำท่วมใหญ่ รวมทั้งการขาดแคลนอาหารสำหรับผู้คนนับล้านๆ คนทั่วโลกได้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมาจากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว และรายงานของสหประชาชาติยังเตือนว่า การยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นกว่านี้ ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะถ้าโลกร้อนขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว โลกของเราก็จะพบกับปัญหาต่างๆ มากมาย นับตั้งแต่คลื่นความร้อนจัด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้ง และฝนที่ตกหนักมากผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามเป้า จ

นักวิทยาศาสตร์ชี้ภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้ละลายเร็วขึ้น

รูปภาพ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2011 ทวีปแอนตาร์ติกาสูญเสียแผ่นน้ำเเข็งไปแล้ว 76 ล้านตันต่อปี พวกเขากล่าวว่าการละลายของแผ่นน้ำเเข็งได้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 219 พันล้านตันต่อปี เริ่มตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 หรือเมื่อหกปีที่แล้ว อิสเบลลา เวลลิค็อกนา (Isabella Velicogna) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (University of California Irvine) หนึ่งในผู้ร่างผลการวิจัยทั้งหมด 88 คน กล่าวว่า คนเราควรกังวลต่อเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรรู้สึกหมดหวัง แผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลายอยู่ในขณะนี้เเละกำลังละลายอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาด   😂ด้านแอนดรูว์ เชพเปิร์ต (Andrew Shepherd) หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ในอังกฤษ กล่าวว่า เป็นไปได้ที่การละลายของแผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพียงอย่างเดียวจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 16 เซ็นติเมตรทั่วโลกภายในก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้  เขากล่าวว่าภายใต้สภาพตามธรรมชาติเเล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดว่าแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเเม้เเต่น้อย  จึงไม่มีสาเหตุอื่นใดนอกเสียจากการเปลี่ยนแป

ทั่วโลกร่วมประท้วงโลกร้อนรอบใหม่

รูปภาพ
ผู้คนทั้งจากฝั่งยุโรปไปจนถึงเอเชีย ร่วมเดินขบวนประท้วงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ         ในวันศุกร์การประท้วงเริ่มต้นจากนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย     ที่ผู้ประท้วงรวมตัวกันด้านหน้าที่ทำการพรรค New South Wales Liberal เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิกโครงการด้านพลังงานฟอสซิลใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ชุมนุมออสเตรเลียมองว่าเหตุไฟป่าร้ายแรง เมื่อไม่      กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศ นั้น เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ ผู้ประท้วงเป่าบอลลูนเป็นรูปเด็กทารก พร้อมข้อความว่า “ลองทายน้ำหนักตัวของฉัน เป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์.ซิ!” กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Friday for Future ประเมินว่าการประท้วงล่าสุดนี้เกิดขึ้น ใน 2,300 เมือง ใน 153 ประเทศ  ทั่วโลก ในวันศุกร์เกรต้า ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน มีกำหนดการร่วมเดินขบวนที่กรุงลิสบอน แห่งโปรตุเกส แต่ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ทำให้การเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติดจากนิวยอร์กเป็นไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนด แต่เธอก็ยังทวีตต่อผู้สนับสนุนให้ออกมาร่วมเดินขบวนกันตามกำหนดการเดิ

ฟาร์มจิ้งหรีดหนทางสู้วิกฤตขาดแคลนอาหารโลก

รูปภาพ
“ฟาร์มจิ้งหรีด” หนทางสู้วิกฤต   เกษตรกรในเมืองกิซูมู ของเคนยา นำเมนูอาหารหลากหลายมาจัดวาง ทั้งขนมปังอบและบิสกิตร้อนๆจากเตา ซึ่งดูแล้วก็เหมือนกับขนมปังทั่วไป เพียงแต่ส่วนผสมที่เป็นหัวใจหลักของเมนูเหล่านี้ มาจากแป้งที่ทำจากจิ้งหรีด  ชาร์ลส โอดิรา เกษตรกรในเมืองนี้ผู้บุกเบิกการเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งมีจุดเด่นที่เสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ มาเป็นแหล่งอาหารทางเลือกของผู้คนในเคนยา โดยเขาได้แนวคิดการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาหารหลังจากเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศไทย  ชาร์ลส บอกว่า ตอนที่เขาเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศไทย เขาได้เรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีดที่นั่น และประโยชน์ของจิ้งหรีดที่ช่วยเหลือคนยากคนจน จนขาดสารอาหาร และเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดได้ เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นเส้นทางการเลี้ยงจิ้งหรีดในเคนยาขึ้นมา เขาเริ่มจากการเลี้ยงจิ้งหรีดที่เก็บมาจากธรรมชาติ 50 ตัว และ 2-3 ปีต่อมา เขาได้เนรมิตเล้าไก่เดิมให้กลายเป็นอาณาจักรจิ้งหรีดมากกว่า 300,000 ตัว ซึ่งพวกมันอยู่ได้ด้วยอาหารไก่และเศษพืชต่างๆ  ศูนย์ศึกษาด้านแมลงและนิเวศน์วิทยานานาชาติ หรือ ICEPE ในกรุงไนโรบี ของเ

ทีมนักวิจัยชี้ว่าการเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วโลกจะช่วยลดแก๊สเรือนกระจก

รูปภาพ
ผลการศึกษาในยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งตีพิมพ์ใน..วารสาร  Science เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ชี้ว่า ต้นไม้มีศักยภาพในการช่วยดูด ซับ 2 ใน 3 ของเเกสคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกไปเพิ่มเติมในชั้นบรรยากาศ เนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ตั้งเเต่การเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรม ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดนำโดยทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย ETH Zurich ด้านเทคโนโลยี ค้นพบว่า หากมีต้นไม้เพิ่มขึ้นอีก 500,000 ล้านต้นซึ่งจะปกคลุมพื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับสหรัฐอเมริกา จะช่วยดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  200 กิกกะตันจากชั้นบรรยากาศโลกเมื่อต้นไม้ โตเต็มที่ ทีมผู้ร่างผลการศึกษานี้ชี้ว่า เมื่อรวมกับการลดปริมาณเเก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศลง การเพิ่มจำนวนต้นไม้ช่วยลดปริมาณเเก๊สเรือนกระจกที่สั่งสมในชั้นบรรยากาศลงได้ภายในปีค.ศ. 2050 หรืออีก 31 ปีข้างหน้าเ เละจะเป็นทางเเก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ได้ผลมากที่สุดเท่าที่มีมา ทีมนักวิทยาศาสตร์นี้บอกว่า การควบคุมภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ภายในปีค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นเป้าหมายของสหประชาชาติจำเป็นต้องมีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านไร่ โดยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยล

นาซ่าพบดาวเคราะห์ อาจอยู่อาศัยได้

รูปภาพ
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า  องค์การนาซ่าของสหรัฐฯ เปิดเผย ณ งานประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกัน (AAS) ในเมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวายว่าดาวเทียมนักล่าดาวเคราะห์ “เทส” (TESS) หลังพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกเป็นครั้งแรกในเขตอาศัยได้ (habitable zone) กลางห้วงอวกาศ  โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope – SST) ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์ “ทีโอไอ 700 ดี” (TOI 700 d)  ซึ่งอยู่ห่างจากดาวแม่ในระยะที่เหมาะสมสำหรับการรักษาของเหลวบนพื้นผิว ทีโอไอ 700 ดี เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ขนาดเล็กเพียงไม่กี่ดวงที่ค้นพบในเขตอาศัยได้ อยู่ในกลุ่มดาวแคระสีแดงที่เย็นสบาย  ซึ่งอยู่ห่างออกไป 100 ปีแสงในกลุ่มดาวโดราโดทางใต้ มีขนาดและมวลประมาณร้อยละ 40 ของดวงอาทิตย์ ส่วนอุณหภูมิพื้นผิวเป็นครึ่งหนึ่ง การศึกษาชี้ว่าดาวเคราะห์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าโลกร้อยละ 20 คาบโคจร 37 วัน รับพลังงานจากดาวแม่คิดเป็นร้อยละ 86 % ของพลังงานที่ดวงอาทิตย์ให้แก่โลก เบื้องต้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ทีโอไอ 700 ดี แต่นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองไว้หลายแบบ  หนึ่งในนั้นทำนายว่าเป็นดาวเคราะห์

มลพิษทางอากาศทำให้กระดูกมนุษย์อ่อนแอลง

รูปภาพ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพหัวใจ, ปอด, ดวงตา, ทารกในครรภ์ หรือแม้แต่สุขภาพจิต ล่าสุดยังพบว่าสามารถทำให้กระดูกเสื่อมจนเปราะหักง่ายก่อนวัยได้อีกด้วย   ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดยสถาบันเพื่อสุขภาพโลกแห่งบาร์เซโลนา (ISGlobal) ของสเปน ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสารการแพทย์ JAMA Network Open โดยระบุว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนต้นของเมืองที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับสูง มีแนวโน้มที่สัดส่วนแร่ธาตุในกระดูกจะลดน้อยถอยลงกว่าปกติ มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของฝุ่น PM2.5 จากสถานที่ 23 แห่งโดยรอบเมืองไฮเดอราบัดของอินเดีย กับความหนาแน่นของแร่ธาตุในมวลกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังของชาวอินเดีย 3,700 คน ที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว ซึ่งคนเหล่านี้มีอายุโดยเฉลี่ย 35.7 ปี  ผลปรากฏว่าพื้นที่ที่ทำการศึกษามีค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ในอากาศตลอดทั้งปีที่ 32.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยกำหนดไว้ถึง 3 เท่า ทีมผู้วิจัยพบว่า เมื่