นักวิทยาศาสตร์ชี้ภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้ละลายเร็วขึ้น


ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2011 ทวีปแอนตาร์ติกาสูญเสียแผ่นน้ำเเข็งไปแล้ว 76 ล้านตันต่อปี พวกเขากล่าวว่าการละลายของแผ่นน้ำเเข็งได้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 219 พันล้านตันต่อปี เริ่มตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 หรือเมื่อหกปีที่แล้ว
อิสเบลลา เวลลิค็อกนา (Isabella Velicogna) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (University of California Irvine) หนึ่งในผู้ร่างผลการวิจัยทั้งหมด 88 คน กล่าวว่า คนเราควรกังวลต่อเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรรู้สึกหมดหวัง แผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลายอยู่ในขณะนี้เเละกำลังละลายอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาด
  😂ด้านแอนดรูว์ เชพเปิร์ต (Andrew Shepherd) หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ในอังกฤษ กล่าวว่า เป็นไปได้ที่การละลายของแผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพียงอย่างเดียวจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 16 เซ็นติเมตรทั่วโลกภายในก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ 
เขากล่าวว่าภายใต้สภาพตามธรรมชาติเเล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดว่าแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเเม้เเต่น้อย  จึงไม่มีสาเหตุอื่นใดนอกเสียจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพ  ภูมิอากาศโลกที่ทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เชพเปิร์ต นักวิจัยในอังกฤษ กล่าวว่า การละลายของแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้เกิดจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น ทะเลในขั้วโลกใต้ได้รับผลกระทบจากลมที่เปลี่ยนทิศทางซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันเเละแก๊สธรรมชาติ
เอียน โจฮินIan Joughinแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาตะวันตก เป็นจุดที่มีการละลายของแผ่นน้ำเเข็งมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของการละลายที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เเละกำลังอยู่ในสภาพที่เกือบจะล่มสลาย
อีริค ริกโน นักวิทยาศาสตร์แห่งองค์การสำรวจอวกาศแห่งสหรัฐฯ หรือนาซ่า ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างผลการวิจัยของทีมนักวิจัยอเมริกัน กล่าวว่า ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นในทวีปแอนตาร์กติกา เเละมองว่าผลการวิจัยนานาชาตินี้เป็นเหมือนนาฬิกาปลุกให้คนเราลุกขึ้นมาหาทางชะลอการอุ่นขึ้นของอุณหภูมิของโลก
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ของพวกเขาจากข้อมูลทางดาวเทียมที่จัดเก็บเป็นระยะเวลายาวนานรวม 20 ปี โดยเป็นการสำรวจทางอวกาศที่แยกกัน 24 ครั้ง เพื่อเฝ้าติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของแผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกา
Melting south pole
 
ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ไปเมื่อเร็วๆนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมฆสีมุก เมฆสารพัดสีปรากฏการณ์เมฆแปลกๆที่หาดูได้ยากมาก

Troll A นอร์เวย์ แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก...

อารยธรรมต่างดาวอาจตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือของเราได้