บทความ

ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2เมตร ภายในปี 2100 ประชาชน 187 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย

รูปภาพ
รายงานเผย  ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2เมตร ภายในปี 2100 ประชาชน 187 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย จากรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสถานการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เนื่องจากสภาวะโลกร้อนนั้น ส่งผลให้หลายเมืองชายฝั่งทั่วโลกประกาศเตือน และเตรียมรับมือกับสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เมตรภายในศตวรรษนี้ หรือภายในปี 2100 ซึ่งจะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อมนุษยชาติ โจนาธาน แบมเบอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมประจำ University of Bristol เปิดเผยว่า สถานการณ์ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกำลังเป็นที่น่าวิตก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ภายใน 80 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ที่ดินกว่า 1.79 ล้านตารางกิโลเมตรได้รับความเสียหาย ประชากรโลกกว่า 187 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะดินแดนและประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก เขาระบุว่า มีความเป็นไปได้ราว 1 ใน 20 หรือราว 5% ที่ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เมตรภายในปี 2100 หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 5 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิที่ประชาคมโลกตกลงกันไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเ

โลกร้อนอาจทำให้สิ้นชาติ อุณหภูมิโลกอาจพุ่งขึ้นได้ถึง 14 องศาเซลเซียส มนุษย์เขตร้อนหมดทางรอดชีวิต

รูปภาพ
*ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ความเข้มข้นเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ราว 280 ส่วนต่อล้านส่วน (หรือเรียกว่า ppm) แต่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ในปัจจุบันความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยพุ่งขึ้นไปถึง 411 ppm แล้ว *ว่ากันว่าถ้าตัวเลขนี้พุ่งถึง 500 ppm จะถึง The Point of No Return คือไม่อาจหวนคืนกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก แต่กระนั้นหลายคนก็ยังรู้สึก ‘เฉยๆ’ กับเรื่องพวกนี้ เพราะยังไม่เห็นผลที่เกิดขึ้นแบบ ‘ฉับพลันทันที’  *แบบในหนัง แต่ถ้ามองด้วยมิติของ Deep Time หรือ Geologic Time ที่เรียกว่า ‘ธรณีกาล’ แล้ว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ถือว่า ‘เร็ว’ เอามากๆ แล้วที่สำคัญก็คือ มันมีกระบวนการ ‘เร่งทำลายตัวเอง’ เกิดขึ้นอยู่ด้วย ซึ่งถ้าหากว่าเรายังไม่ทำอะไรเลย ยังอยู่กันไปวันๆ แบบนี้ ที่สุดเราจะสิ้นชาติและไม่มีแผ่นดินจะอยู่! ในท่ามกลางกระแสการเมืองร้อนแรงนี้ อยู่ๆ ผมก็นึกถึงการเปรียบเทียบของ นพ.ประเวศ วะสี เรื่อง ‘ไก่ในเข่ง’ ขึ้นมา ‘ไก่ในเข่ง’ ของคุณหมอประเวศมีนัยหมายถึงการแตกความสามัคคีจะทำให้เกิดความล่มสลาย เหมือนไก่ในเข่งที่เขาจะเอาไปเชือดแต่ก็ยังจิกตีกันเป็นสามารถ แต่

โลกจะเผชิญอุณหภูมิร้อนสุดขั้วตลอด 4 ปีข้างหน้า

รูปภาพ
สภาพภูมิอากาศโลกมีแนวโน้มจะร้อนแรงขึ้นตลอดช่วงระยะเวลา 4 ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากวงจรสภาพอากาศตามธรรมชาติเข้าสู่ระยะที่ร้อนที่สุดช่วงหนึ่งในรอบไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เสริมให้ภาวะโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์มีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก การทำนายสภาพอากาศโลกดังกล่าว มาจากผลการศึกษาทางสถิติที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ซึ่งระบุว่านับแต่ปีนี้เป็นต้นไป ทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับคลื่นความร้อนและภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นไปจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย ดร. ฟลอเรียน ซีวีลเลก จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้บอกว่า ในช่วงสิบกว่าปีแรกของต้นศตวรรษที่ 21 คือระหว่างปี 1998-2010 ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของมนุษย์นั้นไม่ได้บรรเทาเบาบางลง แต่เราไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรงมากนัก เพราะได้รับความเย็นชดเชยจากวงจรสภาพอากาศตามธรรมชาติที่ยังคงเป็นปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) อยู่ อย่างไรก็ตาม โลกได้เข้าสู่วงจรสภาพอากาศช่วงใหม่ที่มีความร้อนระอุมากขึ้นในปีนี้ ทำให้ปี 2018 มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาวะโลกร้อนในระยะยาวถึง

โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร

รูปภาพ
โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร  หากปล่อยให้ร้อนอีก 2 องศาเซลเซียส หากเกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นจริง หลายพื้นที่ของโลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนผู้คนไม่อาจอาศัยอยู่ได้ ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติชี้ว่า โลกของเรามีความเสี่ยงจะเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดที่ไม่อาจแก้ไขให้คืนสภาพเดิมได้ในอีกไม่ กี่ร้อยปีข้างหน้า แม้ว่าชาติต่าง ๆ จะพยายามร่วมมือกันตัดลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้สำเร็จ ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ก็ตาม รายงานดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า หากเรายังคงปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก จนถึงจุดที่เหนือกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส เมื่อนั้นจะเกิดการรบกวนระบบดูดซับคาร์บอนในธรรมชาติ ให้กลับกลายเป็นตัวการปลดปล่อยคาร์บอน ปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแทน ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดถาวร ในแต่ละปี ผืนป่าสำคัญอย่างป่าแอมะซอน รวมทั้งมหาสมุทรต่าง ๆ และชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ในแถบขั้วโลก ได้ดูดซับคาร์บอน จากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ถึง 4.5 พันล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วย

โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็งขั้วโลกฟื้นคืนชีพ

รูปภาพ
โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็ง ขั้วโลกฟื้นคืนชีพ การที่เชื้อโรคร้ายหลายชนิดในปัจจุบันสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ แม้เป็นปัญหาที่น่าหวั่นเกรงพอตัวอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ภาวการณ์ทางสาธารณสุขที่น่าตื่นตระหนกที่สุด เท่ากับการที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำแข็งและชั้นดินเยือกแข็งคงตัว  (permafrost) ในเขตขั้วโลกละลาย  ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจปลดปล่อยเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่หลับไหลในชั้นดินมานานนับพันนับหมื่นปีให้กลับฟื้นคืนชีพและแผลงฤทธิ์ก่อโรคระบาดในหมู่ประชากรมนุษย์อีกครั้งได้ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เด็กชายวัย 12 ปีผู้หนึ่งซึ่งอยู่ที่คาบสมุทรยามาล ภายในเขตวงกลมอาร์กติกที่หนาวยะเยือกและห่างไกลของไซบีเรีย ต้องตายลงเพราะติดเชื้อแอนแทร็กซ์ ทั้งมีคนในละแวกนั้นอย่างน้อย 20 คนถูกนำส่งโรงพยาบาลเพราะโรคเดียวกันอีกด้วย คาดกันว่าคลื่นความร้อนที่เข้าโจมตีเขตอาร์กติกในฤดูร้อนของปีนั้นทำให้ชั้นดินเยือกแข็งซึ่งปกติจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสอยู่ตลอดปีละลายตัว จนซากกวางเรนเดียร์ที่ตายด้วยโรคแอนแทร็กซ์เมื่อ 75 ปีก่อนซึ่งถูกฝังอยู่ใต้ดิน ออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอกและแหล่งน้ำได้ ด

ฝนตกในฤดูหนาวของกรีนแลนด์ทำให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

รูปภาพ
ในปัจจุบันสภาพอากาศประเทศกรีนแลนด์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีฝนตกบ่อยครั้ง ซึ่งปริมาน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถละลายน้ำแข็งแม้กระทั่งในฤดูหนาวได้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพวกเขาประหลาดใจเป็นอย่างมากที่พบฝนตกในระหว่างฤดูหนาวที่ยาวนานของอาร์กติก แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของประเทศกรีนแลนด์ต้องถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะที่นี่เป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่หากน้ำแข็งทั้งหมดละลาย ระดับน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นถึงเจ็ดเมตรและอาจจะเป็นภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ต่อประชากรแถบชายฝั่งทะเลทั่วทั้งโลก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในฤดูหนาวนั้นแทนที่จะทำให้เพิ่มปริมาณน้ำแข็งแต่กลับทำให้น้ำแข็งเกิดการละลายในช่วงฤดูร้อนมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ศึกษาแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้จากภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งเปิดเผยพื้นที่ที่เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่องโดยเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้รวมภาพถ่ายเข้ากับข้อมูลที่รวบรวมจากสถานีตรวจอากาศ 20 สถานีที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงเวลาที่ฝนตก ดร. Marilena Oltmann ผู้นำการวิจัยของศูนย์วิจัยมหาสมุทร GEOMAR ในเยอรมนีกล่าวว่า “เรารู้สึกประหลาดใจที่มีฝนตกในฤดูหนาว แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสมเหตุสมผลเพราะเราเห็นว่ามีอ

คาดการณ์โลกร้อนครั้งใหญ่ ในอีก 140 ปีข้างหน้า

รูปภาพ
ช่วงรอยต่อของยุคพาลีโอซีนและอีโอซีนเมื่อประมาณ 56 ล้านปีก่อน โลกเคยประสบกับช่วงที่เรียกว่า PETM (Paleocene-Eocene Thermal Maximum) ซึ่งหมายถึงว่าระดับอุณหภูมิทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบถึง 5 องศาเซลเซียส หรือ อาจมากกว่านั้น ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สัตว์และพืชพรรณมากมายพากันสูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้ช่วง PETM เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ล่าสุด การศึกษาใหม่ชี้ว่ามนุษย์กำลังทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในอัตราที่สูงกว่าที่ปล่อยออกมาในช่วง PETM ถึง 9-10 เท่า และหากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงถูกปล่อยเพิ่มขึ้น คาดว่าจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศในปี พ.ศ.2702 อาจเท่ากับจำนวนที่ปล่อยออกมาในอดีตช่วง PETM ก็เป็นได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าจากการคาดการณ์ครั้งใหม่หมายความว่าภาวะโลกร้อนครั้งใหญ่แบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 56 ล้านปีก่อน อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในยุคลูกหลานของมนุษย์เราโดยห่างกันเพียงแค่ 4 ชั่วอายุคนเท่านั้น