โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็งขั้วโลกฟื้นคืนชีพ
โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็ง
ขั้วโลกฟื้นคืนชีพ
(permafrost) ในเขตขั้วโลกละลาย
ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจปลดปล่อยเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่หลับไหลในชั้นดินมานานนับพันนับหมื่นปีให้กลับฟื้นคืนชีพและแผลงฤทธิ์ก่อโรคระบาดในหมู่ประชากรมนุษย์อีกครั้งได้
ดร. ฌอง-มิเชล คลาเวรี นักชีววิทยาวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยเอกซ์-มาร์แซลล์ของฝรั่งเศสบอกว่า ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวนั้นเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับการจำศีลเป็นเวลานานของเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย เนื่องจากเป็นที่มืดมิดแสงส่องไม่ถึง มีความเย็นยะเยือกและไม่มีอ็อกซิเจน ทำให้เชื้อร้ายที่อยู่ในซากศพของมนุษย์และสัตว์ซึ่งกลบฝังไว้ตื้น ๆ เมื่อในอดีต สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานนับร้อยนับพันปี หรือในบางครั้งอาจเป็นหลายล้านปี โดยไม่นานมานี้
นักวิทยาศาสตร์พบเชื้อไข้หวัดสเปนที่มีการระบาดครั้งใหญ่ในปี 1918 ในหลุมฝังศพหมู่ในเขตทุนดราของอลาสกา และคาดว่ามีเชื้อกาฬโรค รวมทั้งเชื้อโรคที่แพร่ระบาดในศตวรรษที่ 18-19 อยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็งของไซบีเรียหลายชนิดด้วย
การ "ฟื้นคืนชีพ" ของเชื้อเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก โดยเมื่อปี 2005 นักวิทยาศาสตร์ของนาซาพบว่าเชื้อแบคทีเรีย Carnobacterium pleistocenium ซึ่งอยู่ในบ่อน้ำแข็งของอลาสกามานานกว่า 32,000 ปี หรือตั้งแต่ยุคที่ช้างแมมมอธยังมีชีวิตอยู่ สามารถกระดิกตัวและว่ายไปมาได้หลังก้อนน้ำแข็งที่ห่อหุ้มอยู่ละลาย และสองปีต่อมาสามารถทำให้แบคทีเรียที่มีอายุ 8 ล้านปี ซึ่งจำศีลอยู่ใต้ธารน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกา กลับมาเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เชื้อเหล่านี้จำศีลอยู่ได้นานเพราะบางชนิดมีการสร้างสปอร์ห่อหุ้มตัว เช่นเชื้อแอนแทร็กซ์ หรือบ้างก็เป็นไวรัสสายพันธุ์ขนาดใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วย
กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ซึ่งไวรัสกลุ่มนี้จะมีความแข็งแกร่งและสามารถรักษาดีเอ็นเอของตนไว้ได้ดีกว่าไวรัสทั่วไป
นักวิทยาศาสตร์ยังเกรงว่า ชั้นดินเยือกแข็งในเขตขั้วโลกจะไม่ได้ละลายลงเพราะภาวะโลกร้อนเท่านั้น แต่การที่น้ำแข็งในทะเลแถบอาร์กติกละลาย ยังอาจจะทำให้ผู้คนจากโลกภายนอกเข้าถึงดินแดนชายฝั่งทางตอนเหนือของไซบีเรียได้มากขึ้น
ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ดังกล่าว อาจดึงดูดให้มีการเข้ามาขุดเจาะน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทำเหมืองทองและเหมืองแร่อื่น ๆ ซึ่งการขุดเจาะพลิกชั้นดินเยือกแข็งอย่างมโหฬารของอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคร้ายจากใต้ดินปนเปื้อนออกสู่ดินชั้นบน แหล่งน้ำ และห่วงโซ่อาหารได้