ฝนตกในฤดูหนาวของกรีนแลนด์ทำให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย


ในปัจจุบันสภาพอากาศประเทศกรีนแลนด์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีฝนตกบ่อยครั้ง ซึ่งปริมาน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถละลายน้ำแข็งแม้กระทั่งในฤดูหนาวได้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพวกเขาประหลาดใจเป็นอย่างมากที่พบฝนตกในระหว่างฤดูหนาวที่ยาวนานของอาร์กติก

แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของประเทศกรีนแลนด์ต้องถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะที่นี่เป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่หากน้ำแข็งทั้งหมดละลาย ระดับน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นถึงเจ็ดเมตรและอาจจะเป็นภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ต่อประชากรแถบชายฝั่งทะเลทั่วทั้งโลก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในฤดูหนาวนั้นแทนที่จะทำให้เพิ่มปริมาณน้ำแข็งแต่กลับทำให้น้ำแข็งเกิดการละลายในช่วงฤดูร้อนมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ศึกษาแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้จากภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งเปิดเผยพื้นที่ที่เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่องโดยเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้รวมภาพถ่ายเข้ากับข้อมูลที่รวบรวมจากสถานีตรวจอากาศ 20 สถานีที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงเวลาที่ฝนตก

ดร. Marilena Oltmann ผู้นำการวิจัยของศูนย์วิจัยมหาสมุทร GEOMAR ในเยอรมนีกล่าวว่า

“เรารู้สึกประหลาดใจที่มีฝนตกในฤดูหนาว แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสมเหตุสมผลเพราะเราเห็นว่ามีอากาศอุ่นไหลมาจากทางใต้ แต่ก็ยังน่าแปลกใจที่เห็นว่ามีฝนตกในพื้นที่แถบขั้วโลกเช่นนี้”

อีกหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ในการวิจัยครั้งนี้ศาสตราจารย์ มาร์โกเทเดสโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของฝนนั้นมีนัยสำคัญ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในฤดูหนาวนี้ ทำให้พื้นผิวน้ำแข็งเรียบเนียนและเกิดเป็น “เลนส์” น้ำแข็ง อีกทั้งยังทำให้แผ่นน้ำแข็งมีสีทึบขึ้น ซึ่งหมายความว่ารังสีของดวงอาทิตย์จะถูกดูดซับมากขึ้นซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการการละลายจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นรวดเร็วกว่าเดิม
จากภาพถ่ายโดยทีมนักวิจัยชาวอังกฤษเมื่อปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าแสงได้สะท้อนภูมิทัศน์ของหิมะและน้ำแข็งกลายเป็นพื้นหลังที่มืดทึบซึ่งจะดูดแสงมากกว่าเดิม

ถึงแม้ว่ากรีนแลนด์จะอยู่ห่างไกลจากหลายประเทศทั้งยังตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่มีปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งนั่นหมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจส่งผลกระทบไปทั่วโลก

และการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าในทศวรรษที่ผ่านมาแผ่นน้ำแข็งได้สูญเสียไปจำนวนมหาศาล แม้ว่าการละลายนี้จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือการไหลบ่าของกระแสน้ำเย็นที่เพิ่มขึ้นเพราะอุณหภูมิสูงซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสิ่งมีชีวิตในโลก และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอย่างกระทันหันในยุโรปและภูมิภาคอื่น ๆ และอาจเป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าอากาศอบอุ่นและชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติกไหลเวียนไปถึงกรีนแลนด์ได้อย่างไรในฤดูหนาว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมฆสีมุก เมฆสารพัดสีปรากฏการณ์เมฆแปลกๆที่หาดูได้ยากมาก

Troll A นอร์เวย์ แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก...

อารยธรรมต่างดาวอาจตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือของเราได้