เลขาธิการ UN ระบุ ภายใน 5 ปี ทุกพื้นที่บนโลกควรมีระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว-ภัยจากภาวะโลกรวนในอนาคต
เลขาธิการ UN ระบุ ภายใน 5 ปี ทุกพื้นที่บนโลกควรมีระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว-ภัยจากภาวะโลกรวนในอนาคต
ชี้ระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพียง 24 ชม. ก็สามารถช่วยลดความเสียหายได้มากกว่าที่คิด
António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ออกมาระบุว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกคนบนโลกควรจะได้รับการครอบคลุม ภายใต้ระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับกับสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว และภัยต่าง ๆ จากภาวะโลกรวน โดยระบุว่าในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกกว่า 1 ใน 3 และผู้คนในแอฟริกากว่า 6 ใน 10 ยังขาดระบบเตือนภัยพิบัติ
แต่ยิ่งวิกฤตโลกรวนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนจำนวนมากก็จะยิ่งต้องเผชิญกับผลกระทบ จากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว ที่รวมถึงปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน คลื่นความร้อน พายุ และปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง โดยรายงานล่าสุดจาก IPCC เผยว่า มวลมนุษยชาติกว่าครึ่งหนึ่ง อาศัยอยู่ภายใน ‘โซนเสี่ยงภัย’ จากภาวะโลกรวน
อย่างไรก็ตาม Guterres กล่าวว่าในปัจจุบัน เงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate finance) ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มักถูกนำไปใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจก มากกว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ความจริงแล้ว “เราควรลงทุนในการปรับตัวรับมือให้เท่ากับการลดก๊าซเรือนกระจก”
ทั้งนี้ Guterres ได้ขอให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เป็นผู้นำในการดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้คนทั่วทั้งโลกจะได้รับการครอบคลุมภายใต้ระบบเตือนภัยได้ทันท่วงที โดยจะมีการวางแผนงานภายในการประชุมสุดยอด COP27 ที่จะจัดขึ้นที่อียิปต์ ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้
ด้าน Global Commission on Adaptation พบว่า การมีระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าเพียงแค่ 24 ชั่วโมงนั้น สามารถช่วยลดความเสียหายจากพายุได้มากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว โดยระบบเตือนภัยเหล่านี้ อาจมาในรูปแบบของสัญญาณเตือนภัยคลื่นความร้อน หรือสัญญาณเตือนภัยพายุ ที่ถูกส่งผ่านมาทางโทรศัพท์มือถือ หรือระบบสื่อสารมวลชน เป็นต้น
New UN report on climate change warns devastating impacts could be irreversible
A new United Nations report on the impacts of climate change shows a worrying assessment of how rising temperatures will impact everyday life.