บทความ

แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล

รูปภาพ
แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล  งานวิจัยเผย แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก Great Pacific Garbage Patch ที่มีขยะมหาศาลลอยตัวกลางทะเล กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเผยความกังวลผลกระทบต่อสัตว์เหล่านี้ หากมีการกำจัดขยะออกไป  แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) คือ 1 ใน 5 แพขยะในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มันเป็นแพขยะ ที่เป็นการรวมตัวกันของขยะพลาสติกจำนวนมาก ลอยตัวอยู่ภายในวงวนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (North Pacific Gyre) กินพื้นที่มากกว่า 610,000 ตารางไมล์ระหว่างแคลิฟอร์เนียและฮาวายมีขยะมากองอยู่ 79,000 เมตริกตัน ประกอบไปด้วยขยะหลากหลายชนิดทั้งตะขอ ตาข่าย ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ไมโครพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ  มีการประมาณว่า 80% ของขยะในแพนั้นมาจากบนบก ส่วนอีก 20% มาจากเรือที่แล่นไปมาในมหาสุมทร กระแสน้ำจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี ที่จะพัดเอาขยะเหล่านี้จากชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ และใช้เวลา 1 ปีจากชายฝั่งตะวันออกของเอเชีย จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์ว่า ภายในแพขยะแปซิฟิก มีเศษพลาสติกประมา

ปูยุคไดโนเสาร์ตัวแรกในอำพันอายุ 100 ล้านปีถูกระบุว่าเป็น " true crabs " ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

รูปภาพ
true crabs, อำพันอายุ 100 ล้านปี, ปูยุคไดโนเสาร์ ปูยุคไดโนเสาร์ตัวแรกในอำพันอายุ 100 ล้านปีถูกระบุว่าเป็น " true crabs " ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด การสร้างงานศิลปะของ Cretapsara athanata ฟอสซิลที่ติดอยู่ในอำพันให้ภาพรวมอันเป็นเอกลักษณ์ของกายวิภาคศาสตร์ ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดในอำพันที่เกิดจากเรซินที่ขับออกมาจากเปลือกไม้ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบกซึ่งส่วนใหญ่เป็นแมลง และมีโอกาสยากมากที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบอำพันที่มีสิ่งมีชีวิตในน้ำ ในปี 2015 นักวิจัยสองคนของพิพิธภัณฑ์ Longyin Amber บังเอิญไปเจอเครื่องประดับอำพันในตลาดแห่งหนึ่งในเมืองเถิงชง ประเทศจีน ซึ่งถูกค้นพบโดยคนงานเหมืองในเมียนมาร์ ชิ้นนี้มีปูตัวเล็กยาวห้ามิลลิเมตรฝังอยู่โดยไม่คิดว่าปูตัวนั้นจะเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของปู หลังจากศึกษาฟอสซิลมาหลายปี ทีมวิจัยได้เปิดเผยการค้นพบของพวกเขาในการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2021 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science Advances ระบุว่า มันเป็นปูตัวแรกจากยุค Cretaceous dinosaur ที่เก็บรักษาไว้ในอำพัน แล

เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ

รูปภาพ
เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ ขณะอุณหภูมิร้อนขึ้น เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ปล่อยควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ ขณะอุณหภูมิร้อนขึ้น ขนะอินทรีย์ย่อยสลาย ปล่อยก๊าซมีเทน เพิ่มความเสี่ยงเผาไหม้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุไฟไหม้บ่อภูเขาขยะขนาดใหญ่ใน Bhalswa ทางตอนเหนือของเดลีห์ เมื่อคืนวันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา และไหม้อย่างเนื่อง ขณะเจ้าหน้าระดมกันเข้าไปพยายามดับไฟ โดยนี่ถือเป็นการไหม้ของบ่อขยะครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ของแหล่งทิ้งขยะของเดลีห์ในรอบ 1 เดือน โดย 3 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดการไหม้ของภูเขาขยะ Ghazipur ทางตะวันออกของเดลีห์ โดยควันไฟเหล่านี้เป็นมลพิษส่งผลกระทบต่อผู้คนใกล้เคียง อีกทั้งยังปนเปื้อนสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ ภูเขาขยะใน Bhalswa มีขนาดยักษ์ใหญ่สูงกว่าตึก 17 ชั้น พื้นที่ใหญ่กว่า 50 ขนาดฟุตบอล มีขยะเกินขีดจำกัด แต่ก็มีขยะจากเมืองนำมาทิ้งที่นี่กว่า 2,300 ตันต่อวัน โดยยะออร์แกนิกย่อยสลาย ปล่อยก๊าซมีเทนที่มักทำให้ติดไฟได้ง่า

ภาพภูมิประเทศแม่น้ำโบราณบนดาวอังคารและคำถามที่ว่าทำไมน้ำบนดาวอังคารถึงหายไปไหนหมด

รูปภาพ
ภาพภูมิประเทศแม่น้ำโบราณบนดาวอังคารและคำถามที่ว่าทำไมน้ำบนดาวอังคารถึงหายไปไหนหมด การศึกษาหาหลักฐานของแหล่งน้ำในอดีตบนดาวอังคารยังคงเป็นที่สนใจของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบ แม่น้ำหรือมหาสมุทรก็ตาม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้เผยภาพถ่ายภูมิประเทศในบริเวณที่เชื่อว่าเคยเป็นแม่น้ำบนดาวอังคารมาก่อน เผยให้เห็นหน้าผาสูงชันและริ้วรอยแนวหินตะกอนอย่างชัดเจน ภาพถ่ายความละเอียดสูงนี้ถ่ายด้วยกล้องชนิดพิเศษชื่อว่า High Resolution Imaging Science Experiment หรือเรียกสั้น ๆ ว่า HiRISE ติดตั้งอยู่บนยานสำรวจอวกาศที่โคจรรอบดาวอังคารนามว่า Mars Reconnaissance Orbiter : MRO เมื่อประกอบกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ศึกษาก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแม่น้ำแห่งนี้มีอายุราว 3.7 พันล้านปีก่อน นั่นคือช่วงเดียวกันกับที่สิ่งมีชีวิตบนโลกเริ่มถือกำเนิดขึ้น (น่าสนใจไม่น้อยว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารที่กำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับโลก แต่ก็สูญพันธุ์ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพบนดาวอังคารอย่างรุนแรงก็เป็นได้) ทำให้การค้นหาหลักฐานสิ่งมีชีวิตนอกโลกบนดาวอังคารยังคงมีเสน่ห์และน่าค้นหาถึงทุ

Seed bank ที่ขั้วโลกเหนือแหล่งสำรองอาหาร วันสิ้นโลก ที่วันหนึ่งอาจช่วยปกป้องโลกจากวิกฤตการขาดแคลนอาหารได้

รูปภาพ
Seed bank ที่ขั้วโลกเหนือแหล่งสำรองอาหาร วันสิ้นโลก ที่วันหนึ่งอาจช่วยปกป้องโลกจากวิกฤตการขาดแคลนอาหารได้ ขณะที่โลกเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช หรือ Seed bank ถูกพิจารณาว่า อาจเป็นแหล่งกักเก็บปลอดภัย ที่วันหนึ่งอาจช่วยปกป้องโลกจากวิกฤตการขาดแคลนอาหารได้ ปัจจุบันพันธุ์พืช 2 ใน 3 ของโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จากภัยคุกคามต่างๆ ทั้งการถูกตัดทำลาย ภาวะโลกร้อน การสู้รบ และอื่นๆ  ทั่วโลกมีธนาคารเมล็ดพันธุ์ หรือธนาคารพันธุกรรมอยู่ 1,700 แห่ง ที่เก็บสะสมสายพันธุ์พืชต่างๆไว้ ซึ่งมีคุณค่าอย่างมหาศาลต่อนักวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการปกป้องอนุรักษ์ หนึ่งในนั้นคือ Svalbard Global Seed Vault หรือ อุโมงค์นิรภัยเก็บเมล็ดพันธุ์พืชโลกสฟาลบาร์ คือขุมทรัพย์แห่งความมั่นคงทางอาหารของมวลมนุษยชาติ ที่ตั้งอยู่ใจกลางขั้วโลกเหนือ ลึกลงไปภายในภูเขาหิน อุโมงค์แห่งนี้มีระบบความปลอดภัยที่ดีเลิศ และได้รับการควบคุมดูแลโดยรัฐบาลนอร์เวย์ สถานที่แห่งนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Doomsday Vault หรือ แหล่งสำรองอาหารวันโลกาวินาศ ที่แห่งนี้มีเมล็ดพันธุ์ของพืชท