ภาพภูมิประเทศแม่น้ำโบราณบนดาวอังคารและคำถามที่ว่าทำไมน้ำบนดาวอังคารถึงหายไปไหนหมด

ภาพภูมิประเทศแม่น้ำโบราณบนดาวอังคารและคำถามที่ว่าทำไมน้ำบนดาวอังคารถึงหายไปไหนหมด

การศึกษาหาหลักฐานของแหล่งน้ำในอดีตบนดาวอังคารยังคงเป็นที่สนใจของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบ แม่น้ำหรือมหาสมุทรก็ตาม

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้เผยภาพถ่ายภูมิประเทศในบริเวณที่เชื่อว่าเคยเป็นแม่น้ำบนดาวอังคารมาก่อน เผยให้เห็นหน้าผาสูงชันและริ้วรอยแนวหินตะกอนอย่างชัดเจน

ภาพถ่ายความละเอียดสูงนี้ถ่ายด้วยกล้องชนิดพิเศษชื่อว่า High Resolution Imaging Science Experiment หรือเรียกสั้น ๆ ว่า HiRISE ติดตั้งอยู่บนยานสำรวจอวกาศที่โคจรรอบดาวอังคารนามว่า Mars Reconnaissance Orbiter : MRO

เมื่อประกอบกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ศึกษาก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแม่น้ำแห่งนี้มีอายุราว 3.7 พันล้านปีก่อน นั่นคือช่วงเดียวกันกับที่สิ่งมีชีวิตบนโลกเริ่มถือกำเนิดขึ้น (น่าสนใจไม่น้อยว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารที่กำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับโลก แต่ก็สูญพันธุ์ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพบนดาวอังคารอย่างรุนแรงก็เป็นได้)

ทำให้การค้นหาหลักฐานสิ่งมีชีวิตนอกโลกบนดาวอังคารยังคงมีเสน่ห์และน่าค้นหาถึงทุกวันนี้ดอกเตอร์ Joel Davis หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนร่วมกับการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า

“เราไม่เคยเห็นหินเก่าแก่ที่แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนแบบนี้มาก่อนบนดาวอังคาร นี่เป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญสำหรับการค้นหาสิ่งมีชีวิตโบราณบนดาวอังคาร รวมทั้งปริมาณน้ำที่เคยมีอยู่บนดาวอังคาร”
บริเวณหลุมอุกกาบาต Hellas เป็นสถานที่สำคัญในการศึกษาร่องรอยของแหล่งน้ำและสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของดาวอังคาร และเป็นหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะอีกด้วย


หินตะกอนตัวบ่งชี้สภาพในอดีตบนดาวอังคาร

ภาพนี้ถ่ายจากกล้อง Mastcam ที่ติดตั้งบนยาน Curiosity เผยให้เห็นแนวชั้นหินตะกอนใกล้อย่างชัดเจน ที่ใดมีหินตะกอนที่นั่นอาจเคยมีน้ำ และนั่นหมายถึงอาจเคยมีสิ่งมีชีวิต

หินตะกอนจะมีชั้น (Layers) รวมทั้งสีสันค่อนข้างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับฤดูกาลในอดีต ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เคยกระทำต่อพื้นที่ในบริเวณนั้น เช่น พายุทราย การพัดพาของตะกอนที่มากับของเหลว เป็นต้น ทำให้การศึกษาชั้นหินตะกอนบ่งบอกเรื่องราวในอดีตบนดาวอังคารได้

การศึกษาภาคพื้่นดินจึงสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่งยาน Rover ไปดาวอังคารสำหรับสำรวจภูมิประเทศ รวมทั้งเก็บตัวอย่างหินมาวิเคราะห์

หนึ่งในยานสำรวจ Rover ที๋โด่งดังได้แก่ Curiosity เดินทางถึงดาวอังคารตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันได้เดินทางสำรวจเป็นระยะทางรวมกว่า 21.61 กิโลเมตร เผยข้อมูลใหม่ ๆ ให้กับนักวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

ภาพ selfie ของยาน Curiosity เกิดจากการนำภาพถ่ายในมุมต่าง ๆ มาประกอบกัน เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2012 ©NASA

ในปี ค.ศ. 2022 องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA จะส่งยาน Rover ตัวใหม่ไปสำรวจดาวอังคาร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Rosalind Franklin ExoMars Rover หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ExoMars

โดยมันจะทำหน้าที่สำรวจภูมิประเทศ วิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ นำข้อมูลอันน่าทึ่งกลับมายังโลก สานต่อภารกิจ Curiosity หรือความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ต่อไป

น้ำในสถานะของเหลวบนดาวอังคารหายไปไหนหมด?


ภาพศิลปินมหาสมุทรบนดาวอังคารในอดีตกาล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปริมาณน้ำมหาสมุทรบนดาวอังคารมีมากกว่าปริมาณน้ำในมหาสมุทรแถบฮาร์กติกของโลก
 

ในปี ค.ศ. 2015 นักวิจัยเชื่อว่าน้ำบนดาวอังคารได้หนีสู่อวกาศ อันเนื่องมาจากความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ ทำให้โมเลกุลน้ำแตกเป็นออกซิเจนและไฮโดรเจน มีการค้นพบหลักฐานว่ามีปริมาณไฮโดรเจนอยู่ในอวกาศรอบดาวอังคารจำนวนมาก อีกทั้งความโน้มถ่วงของดาวอังคารคิดเป็น 40% ของโลกเท่านั้น ทำให้ดาวอังคารสูญเสียน้ำมาตลอดในช่วงเวลา 3.7 พันล้านปีที่ผ่านมา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู