บทความ

มนุษย์ไม่เพียงทำให้โลกร้อนขึ้น แต่เรากำลังทำให้สภาพภูมิอากาศโลกยุ่งเหยิง

รูปภาพ
มนุษย์ไม่เพียงทำให้โลกร้อนขึ้น แต่เรากำลังทำให้สภาพภูมิอากาศโลกยุ่งเหยิง งานวิจัยชิ้นใหม่แสดงความเป็นไปได้ของผลกระทบจากมนุษย์ต่อสภาพภูมิอากาศ โดยชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากเราไม่เร่งแก้ไขปัญหาโลกรวน และลดก๊าซเรือนกระจก โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสภาพภูมิอากาศตามยุคหรือช่วงต่างๆ โดยการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอก อย่างการเปลี่ยนแปลงของการโคจรของโลก หรือการที่ภูเขาไฟเกิดการปะทุระเบิดอย่างรุนแรง งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่า เรากำลังเข้าสู่เฟสของการเปลี่ยนผ่านของรูปแบบสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เราเข้าสู่ยุค Anthropocene ซึ่งเป็นยุคที่กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ในการศึกษาชิ้นใหม่ นักวิจัยได้ใช้ยุค Anthropocene เป็นหนึ่งในเฟสของการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของระบบสภาพภูมิอากาศ โดยปกติโลกมีรูปแบบสภาพภูมิอากาศ ที่มีสภาพอากาศ ฤดูกาลที่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เมื่อสภาพภูมิอากาศอยู่ในเฟสการเปลี่ยนผ่าน ก็จะเผชิญการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างรวดเร็ว . หากกิจกรรมของมนุษ

กล็ดหิมะอัญมณี (Diamond dust) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันสวยงาม ที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทางสภาพอากาศหลาย ๆ อย่างบรรจบกันพอดี

รูปภาพ
เกล็ดหิมะอัญมณี (Diamond dust) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันสวยงาม ที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทางสภาพอากาศหลาย ๆ อย่างบรรจบกันพอดี อย่างเช่นอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่มีความหนาวเย็นสูงสุดเท่านั้น ในตอนเช้าอากาศแจ่มใสอุณหภูมิต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส และอยู่ในสภาพที่ไม่มีลมพัด ไอน้ำจะแข็งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นหยดน้ำแข็งก่อนที่จะกลายเป็นหมอก หยดน้ำแข็งจำนวนนับไม่ถ้วนที่ร่วงปลิว สะท้อนเข้ากับแสดงแดดทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงสะท้อนเกล็ดหิมะที่ส่องประกายระยิบระยับจนถูกเรียกว่า Diamond dust ช่วงที่เหมาะสมในการชมคือเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ แหล่งที่มีเงื่อนไข ที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์เกล็ดหิมะอัญมณี (Diamond dust) ขึ้น ได้แก่ อุณหภูมิต้องต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส ไม่มีลม อากาศแจ่มใส ช่วงฟ้าสาง หรือ พลบค่ำ สถานที่ที่มีเงื่อนไขครบแบบนี้มีไม่มาก จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ล้ำค่ามาก ในจังหวัดฮอกไกโด ได้แก่ บริเวณเมืองอะซะฮิคะวะ (Asahikawa) เมืองนะโยะโระ (Nayoro) บริเวณโทคะจิ (Tokachi) และ คาวะยุอนเซ็น (Kawayu Onsen)ในเมืองเทะชิคะงะ (Teshikaga) เป็นต้น จริงๆ แล้วที่ฮอกไกโดก็มีอุปกรณ์ที่ใช้สร้าง เกล็ดหิมะอ

วิจัยพบคาร์บอนเพิ่มสูงรวดเร็วในอดีตเป็นสาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนในทะเลลดลง บ่งชี้ถึงชะตาโลกหายนะในอนาคตเราก็อาจเดินทางสู่ชะตาเดียวกัน

รูปภาพ
👉🏾วิจัยพบคาร์บอนเพิ่มสูงรวดเร็วในอดีต เป็นสาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนในทะเลลดลง บ่งชี้ถึงชะตาโลกหายนะในอนาคตเราก็อาจเดินทางสู่ชะตาเดียวกัน 👉🏿 วิจัยพบหลักฐานว่าเมื่อหลายร้อยล้านปีที่แล้ว เหตุการณ์คาร์บอนเพิ่มสูงรวดเร็วเป็นสาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนในทะเลลดลง ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพในวงกว้าง ชี้หากโลกปัจจุบันยังอบอุ่นขึ้น เราก็อาจเดินทางสู่ชะตาเดียวกัน ตั้งแต่ที่โลกได้ถือกำเนิดขึ้น สภาพภูมิอากาศบนโลกมีการสลับสับเปลี่ยนระหว่างช่วงอากาศหนาวเย็น และช่วงอากาศอบอุ่น ที่วนเวียนกันเป็นวัฏจักร ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โลกได้ผ่านยุคน้ำแข็งมาแล้วถึง 5 ครั้งใหญ่ โดยเรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็งที่ 5 หรือยุคน้ำแข็งควอเทอร์นารี ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 2.7 ล้านปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในครั้งที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันนั้น เกิดขึ้นราว 304 ล้านปีที่แล้วในช่วง Kasimovian-Gzhelian boundary (KGB) ซึ่งเป็นช่วงที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เพิ่มจาก 350 ส่วนในล้านส่วน (parts per million, ppm) มาเป็น 700 ส่วนในล้านส่วน ภายในเว

Desert Cabin ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย จากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต

รูปภาพ
ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย Desert Cabin ทำจากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต Desert Cabin ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย จากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต Sara Underwood และ Jacob Witzling ได้เริ่มโปรเจค Cabinland โดยพวกเขาได้สร้างที่พักกระท่อมขนาดเล็ก ตามพื้นที่ธรรมชาติต่างๆสุดแปลกและสวยงาม ล่าสุดพวกเขาได้สร้าง Desert Cabin ที่พักกลางทะเลทราย ในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นบ้านไม้ขนาดเล็ก โดยใช้วัสดุไม้เก่าเหลือใช้ทั้งหมด ที่พักกลางทะเลทรายของพวกเขามีความสวยงามแปลกตา เป็นทรงกล่อง มีบันไดไม้ขึ้นไปดาดฟ้า ซึ่งเป็นดาดฟ้าที่มีที่นั่งเล่น พร้อมปลูกแคคตัสไว้ด้วย ลดมลภาวะเป็นพิษและดัดแปลงเอาสิ่งเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ช่วยลดภาวะโลกร้อนไปในตัว...

โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อน เปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรคเชื้อปรสิตใหม่ๆสู่ มนุษย์

รูปภาพ
โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อน เปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรคเชื้อปรสิตใหม่ๆสู่ มนุษย์ โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อนเปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรค-เชื้อปรสิตไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของเชื้อโรคสู่มนุษย์ คาดภายใน 50 ปีข้างหน้า จะมีเหตุการณ์เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์อย่างน้อย 15,000 เหตุการณ์ นักวิจัยเตือนว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า อาจมีเหตุการณ์เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์อย่างน้อย 15,000 เหตุการณ์ เนื่องจากโลกที่กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยเร่ง ที่ส่งผลให้สัตว์ต้องย้ายถิ่นอาศัย เพราะไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมได้ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะนำเชื้อโรคและเชื้อปรสิตไปยังพื้นที่ใหม่ จนเกิดการแพร่กระจายระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ‘zoonotic spillover’ หรือการแพร่กระจายของเชื้อจากสัตว์สู่คน โดยมีแนวโน้มว่าอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ ที่มีความรุนแรงของการระบาดเทียบเท่ากับโรคโควิด-19 ทั้งนี้นักวิจัยคาดว่าในธรรมชาติ มีเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่มาสู่มนุษย์ได้อีกกว่า 10,000 ชนิด นอกจา

คลื่นความร้อน ทำอินเดีย อ่วม! อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 องศา นักวิทย์หวั่นโลกรวนกระทบหนัก..

รูปภาพ
คลื่นความร้อน ทำอินเดีย อ่วม! อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 องศา นักวิทย์หวั่นโลกรวนกระทบหนัก.. เรากำลังอยู่ในนรก! พื้นที่อินเดีย เอเชียใต้เผชิญคลื่นความร้อน อุณหภูมิบางแห่งพุ่งแตะ 50 องศาเซลเซียส นักวิทย์ชี้เป็นสัญญาณของสิ่งที่กำลังจะมาถึงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในช่วงนี้พื้นที่เอเชียใต้ ทั้งอินเดีย และปากีสถาน กำลังเผชิญคลื่นความร้อนอย่างหนัก อุณหภูมิสูงแตะ 40 องศา ในบางพื้นที่อุณหภูมิเกือบสูงแตะ 50 องศาเซลเซียส และเริ่มมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด หรือ Heatstroke โดยในพื้นที่รัฐ Maharashtra มีผู้เสียชีวิตจากความร้อนแล้ว 25 คน สภาพอากาศที่ร้อนสุดขีดแบบนี้ เป็นระดับที่ไม่ปกติสำหรับอุณหภูมิช่วงเดือนเมษายน หลายพื้นที่เผชิญการขาดแคลนน้ำ และพลังงาน หลายพื้นที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โรงเรียนในบางรัฐต้องปิดชั่วคราวเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความร้อนยังส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้ผู้คนรายได้ต่ำจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศได้ อีกทั้งการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สภาพอากาศที่ร้อนรุนแรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ย

งานวิจัยชี้สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาจสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ หากโลกยังร้อนขึ้น

รูปภาพ
งานวิจัยชี้สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาจสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ หากโลกยังร้อนขึ้น ขึ้นต่อเนื่อง อุณภูมิมหาสมุทรสูงขึ้น และขาดออกซิเจน วอนเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้าย งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Journal Science เตือนว่า สิ่งมีชีวิตในทะเลอาจเผชิญสภาพน้ำที่ร้อนเกิน และมีออกซิเจนน้อยเกินจะอยู่รอดได้ หากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมาก และโลกร้อนขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ “หากเราไม่ลงมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสูญพันธุ์อาจสูงขึ้น ซึ่งมันเคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของโลกเรา” Curtis Deutsch นักวิจัยจาก Princeton University เผยงานศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่ทำการศึกษาเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในทะเลเมื่อ 252 ล้านปีก่อน โดยสิ่งมีชีวิตในทะเล 2 ใน 3 ได้สูญพันธุ์ไปในยุค Permian Period ซึ่งนักวิจัยได้คำนวณว่า ในปี ค.ศ. 2300 มหาสมุทรอาจเกิดการสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่  หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่อง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลงในพื้นที่เขตร้อน โดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดจะอพยพหนี ขณะสายพันธุ์ที่อยู่บริเวณขั้ว