มนุษย์ไม่เพียงทำให้โลกร้อนขึ้น แต่เรากำลังทำให้สภาพภูมิอากาศโลกยุ่งเหยิง

มนุษย์ไม่เพียงทำให้โลกร้อนขึ้น แต่เรากำลังทำให้สภาพภูมิอากาศโลกยุ่งเหยิง

งานวิจัยชิ้นใหม่แสดงความเป็นไปได้ของผลกระทบจากมนุษย์ต่อสภาพภูมิอากาศ โดยชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากเราไม่เร่งแก้ไขปัญหาโลกรวน และลดก๊าซเรือนกระจก


โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสภาพภูมิอากาศตามยุคหรือช่วงต่างๆ โดยการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอก อย่างการเปลี่ยนแปลงของการโคจรของโลก หรือการที่ภูเขาไฟเกิดการปะทุระเบิดอย่างรุนแรง งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่า เรากำลังเข้าสู่เฟสของการเปลี่ยนผ่านของรูปแบบสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เราเข้าสู่ยุค Anthropocene ซึ่งเป็นยุคที่กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
.
ในการศึกษาชิ้นใหม่ นักวิจัยได้ใช้ยุค Anthropocene เป็นหนึ่งในเฟสของการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของระบบสภาพภูมิอากาศ โดยปกติโลกมีรูปแบบสภาพภูมิอากาศ ที่มีสภาพอากาศ ฤดูกาลที่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เมื่อสภาพภูมิอากาศอยู่ในเฟสการเปลี่ยนผ่าน ก็จะเผชิญการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างรวดเร็ว
.
หากกิจกรรมของมนุษย์ส่งผลให้เราเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านของสภาพภูมิอากาศโลก นั่นหมายความว่าเรากำลังทำให้โลกพัฒนารูปแบบสภาพอากาศแบบใหม่ ซึ่งรูปแบบที่จะเกิดขึ้นนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมาก นักวิจัยชี้ว่าสภาพภูมิอากาศในอนาคต ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของมนุษย์ในไม่กี่สิบปีข้างหน้า การลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป

นักวิจัยได้จำลองสถานการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งประชากร การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

โดยในสถานการณ์ที่ดีที่สุด เมื่อถึงจุดลิมิตจุดหนึ่ง สภาพภูมิอากาศโลกจะเริ่มคงที่ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยใหม่ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้โดยรวมแล้วแย่ต่อมนุษย์ เพราะยังนำไปสู่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และปรากฏการณ์สภาพอากาศที่สุดขั้วมากขึ้น แต่อย่างน้อยที่สุดก็ยังมีความเสถียร และมีรูปแบบแผนของสภาพอากาศ

ขณะในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด นักวิจัยชี้ว่า สภาพภูมิอากาศโลกจะเผชิญความโกลาหล ไม่มีความเสถียร ไม่มีแบบแผน ฤดูกาลผันเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว อุณหภูมิเฉลี่ยที่ไม่คงที่อย่างมาก ทั้งหนาวมาก ไปสู่ช่วงที่ร้อนมาก ซึ่งจะยากต่อการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศของโลก

นักวิจัยชี้ว่า สถานการณ์ที่โกลาหล จะยากต่อการคาดเดาระบบของโลกในอนาคต และจะยากต่อการควบคุม และสิ่งที่น่ากังวลคือ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งจะทำให้สถานการณ์แบบนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีสัญญาณว่า เราอาจจะข้ามจุดแตกหักตรงนั้นมาแล้ว แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู