บทความ

โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็งขั้วโลกฟื้นคืนชีพ

รูปภาพ
โลกร้อนทำเชื้อร้ายในดินเยือกแข็ง ขั้วโลกฟื้นคืนชีพ การที่เชื้อโรคร้ายหลายชนิดในปัจจุบันสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ แม้เป็นปัญหาที่น่าหวั่นเกรงพอตัวอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ภาวการณ์ทางสาธารณสุขที่น่าตื่นตระหนกที่สุด เท่ากับการที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำแข็งและชั้นดินเยือกแข็งคงตัว  (permafrost) ในเขตขั้วโลกละลาย  ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจปลดปล่อยเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่หลับไหลในชั้นดินมานานนับพันนับหมื่นปีให้กลับฟื้นคืนชีพและแผลงฤทธิ์ก่อโรคระบาดในหมู่ประชากรมนุษย์อีกครั้งได้ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เด็กชายวัย 12 ปีผู้หนึ่งซึ่งอยู่ที่คาบสมุทรยามาล ภายในเขตวงกลมอาร์กติกที่หนาวยะเยือกและห่างไกลของไซบีเรีย ต้องตายลงเพราะติดเชื้อแอนแทร็กซ์ ทั้งมีคนในละแวกนั้นอย่างน้อย 20 คนถูกนำส่งโรงพยาบาลเพราะโรคเดียวกันอีกด้วย คาดกันว่าคลื่นความร้อนที่เข้าโจมตีเขตอาร์กติกในฤดูร้อนของปีนั้นทำให้ชั้นดินเยือกแข็งซึ่งปกติจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสอยู่ตลอดปีละลายตัว จนซากกวางเรนเดียร์ที่ตายด้วยโรคแอนแทร็กซ์เมื่อ 75 ปีก่อนซึ่งถูกฝังอยู่ใต้ดิน ออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอกและแหล่งน้ำได้ ด

ฝนตกในฤดูหนาวของกรีนแลนด์ทำให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

รูปภาพ
ในปัจจุบันสภาพอากาศประเทศกรีนแลนด์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีฝนตกบ่อยครั้ง ซึ่งปริมาน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถละลายน้ำแข็งแม้กระทั่งในฤดูหนาวได้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพวกเขาประหลาดใจเป็นอย่างมากที่พบฝนตกในระหว่างฤดูหนาวที่ยาวนานของอาร์กติก แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของประเทศกรีนแลนด์ต้องถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะที่นี่เป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่หากน้ำแข็งทั้งหมดละลาย ระดับน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นถึงเจ็ดเมตรและอาจจะเป็นภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ต่อประชากรแถบชายฝั่งทะเลทั่วทั้งโลก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในฤดูหนาวนั้นแทนที่จะทำให้เพิ่มปริมาณน้ำแข็งแต่กลับทำให้น้ำแข็งเกิดการละลายในช่วงฤดูร้อนมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ศึกษาแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้จากภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งเปิดเผยพื้นที่ที่เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่องโดยเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้รวมภาพถ่ายเข้ากับข้อมูลที่รวบรวมจากสถานีตรวจอากาศ 20 สถานีที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงเวลาที่ฝนตก ดร. Marilena Oltmann ผู้นำการวิจัยของศูนย์วิจัยมหาสมุทร GEOMAR ในเยอรมนีกล่าวว่า “เรารู้สึกประหลาดใจที่มีฝนตกในฤดูหนาว แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสมเหตุสมผลเพราะเราเห็นว่ามีอ

คาดการณ์โลกร้อนครั้งใหญ่ ในอีก 140 ปีข้างหน้า

รูปภาพ
ช่วงรอยต่อของยุคพาลีโอซีนและอีโอซีนเมื่อประมาณ 56 ล้านปีก่อน โลกเคยประสบกับช่วงที่เรียกว่า PETM (Paleocene-Eocene Thermal Maximum) ซึ่งหมายถึงว่าระดับอุณหภูมิทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบถึง 5 องศาเซลเซียส หรือ อาจมากกว่านั้น ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สัตว์และพืชพรรณมากมายพากันสูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้ช่วง PETM เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ล่าสุด การศึกษาใหม่ชี้ว่ามนุษย์กำลังทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในอัตราที่สูงกว่าที่ปล่อยออกมาในช่วง PETM ถึง 9-10 เท่า และหากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงถูกปล่อยเพิ่มขึ้น คาดว่าจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศในปี พ.ศ.2702 อาจเท่ากับจำนวนที่ปล่อยออกมาในอดีตช่วง PETM ก็เป็นได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าจากการคาดการณ์ครั้งใหม่หมายความว่าภาวะโลกร้อนครั้งใหญ่แบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 56 ล้านปีก่อน อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในยุคลูกหลานของมนุษย์เราโดยห่างกันเพียงแค่ 4 ชั่วอายุคนเท่านั้น

วาฬเกยตื้น อะไรคือเหตุที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบ 150 ตัวขึ้นฝั่งมาตาย

รูปภาพ
นิวซีแลนด์กับวาฬเกยตื้น: อะไรคือเหตุที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบ 150 ตัวขึ้นฝั่งมาตาย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพบวาฬนำร่อง (pilot whale) เกยตื้นตายเกือบ 150 ตัวบริเวณเกาะสจ๊วต ประเทศนิวซีแลนด์ และอีกไม่กี่วันต่อมาก็พบวาฬชนิดเดียวกันเกยตื้นอีก 51 ตัว บริเวณหมู่เกาะแชทัม การเกยตื้นของวาฬตัวเดียวไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การเกยตื้นตายของวาฬนับร้อยพร้อมกันเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดและน่าพิศวง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกันเจ็บป่วยและบาดเจ็บ "บ่อยครั้งที่สัตว์เหล่านี้ที่มาเกยตื้นเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า ได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือว่าไม่ได้กินอาหารเพราะว่าป่วย" ดร.ไซมอน อิงแกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ทางทะเลประจำมหาวิทยาลัยพลีมัธ กล่าว เขาบอกว่าพวกมันอาจจะป่วยในระยะสุดท้าย หรือตายในทะเล แล้วถูกซัดเข้าฝั่งมาในที่สุด แต่เขาบอกว่าโดยหลักแล้วนั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับวาฬที่ถูกซัดมาเกยตื้นตัวเดี่ยว ๆ และที่ผ่านมาก็เคยมีกรณีวาฬที่ขึ้นมาเกยตื้นพร้อม ๆ กันหลายตัวเป็นพวกที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ แล้วอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงกั

มหาสมุทรร้อนจนระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30 ซม.ก่อนสิ้นศตวรรษนี้

รูปภาพ
ภาวะโลกร้อน : มหาสมุทรร้อนจนระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30 ซม.ก่อนสิ้นศตวรรษนี้ ทีมนักวิจัยนานาชาติเผยผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Science โดยชี้ว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้มาก ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการขยายตัว จนระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 30 เซนติเมตร ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้ ปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลขยายตัวเนื่องมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น (Thermal expansion) ทำให้มีความเสี่ยงที่เมืองตามแนวชายฝั่งจะถูกน้ำทะเลหนุนท่วม นอกจากนี้ การที่มหาสมุทรร้อนยิ่งกว่าเดิมยังหมายความว่าหลายพื้นที่จะต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนบ่อยครั้งขึ้น เช่นการเกิดพายุที่มีความรุนแรงผิดปกติ นายซีค เฮาส์ฟาเธอร์ หนึ่งในทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ของสหรัฐฯ บอกว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2018 ที่ผ่านมานั้น ถือเป็นปีที่มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติมา สัญญาณของภาวะโลกร้อนนั้นสามารถตรวจพบในมหาสมุทรได้ง่ายกว่าบนบก และเนื่องจากมหาสมุทรดูดซับความร้อนส่วนเกินในชั้

อุณหภูมิโลก 4 ปีที่ผ่านมาร้อนสูงสุดทำลายสถิติ

รูปภาพ
อุณหภูมิโลก 4 ปีที่ผ่านมาร้อนสูงสุดทำลายสถิติ รายงานฉบับล่าสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่าช่วงระหว่างปี 2015-2018 หรือตลอด 4 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยมีความร้อนแรงสูงสุดเท่าที่เคยปรากฏในบันทึกสถิติ และหากแนวโน้มของสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป โลกจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส ภายในช่วงสิ้นศตวรรษนี้ แถลงการณ์ว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลกของ WMO ชี้ว่า ปีที่อุณหภูมิโลกพุ่งขึ้นสูงสุดติด 20 อันดับแรก ล้วนแต่อยู่ในช่วงเวลา 22 ปีที่ผ่านมา ส่วนปี 2018 นั้น อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยใน 10 เดือนแรกสูงกว่าระดับของยุคก่อนอุตสาหกรรม (1850-1900)  อยู่เกือบ 1 องศาเซลเซียส ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 เท่าที่เคยมีการบันทึกมา แม้ปี 2018 จะมีสภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นลงกว่าปีก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากมีปรากฏการณ์ลานีญาที่อุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรลดต่ำลง แต่ผู้เชี่ยวชาญของ WMO บอกว่า ในช่วงต้นปี 2019 อาจเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญที่ไม่รุนแรงขึ้นได้อีก ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศของปีหน้าร้อนขึ้นกว่าในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในระยะยาวชี้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของ

พบกระแสเหล็กเหลวขนาดมหึมาไหลเร็วที่ใต้พื้นโลกบริเวณอลาสกาและไซบีเรีย

รูปภาพ
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีเหล็กเหลวขนาดมหึมากำลังไหลเหมือนแม่น้ำที่ระดับลึกลงไปใต้ผิวโลกราว 3,000 กม. ตรงบริเวณอลาสกาและไซบีเรีย และมันกำลังมีความเร็วเพิ่มขึ้น กระแสของเหล็กหลอมเหลวขนาดใหญ่กว้างประมาณ 240 กม. อุณหภูมิสูงมากเกือบเท่าผิวของดวงอาทิตย์ มีความเร็วเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในช่วงเวลาไม่ถึงสองทศวรรษ และขณะนี้กำลังมุ่งหน้าไปด้านตะวันตกสู่ทวีปยุโรปด้วยความเร็ว 40 – 45 กม.ต่อปี ซึ่งเร็วกว่าของเหลวอื่นๆในแก่นโลกชั้นนอกสามเท่า ยังไม่มีใครทราบว่าทำไมกระแสเหล็กเหลวนี้จึงไหลเร็วขึ้น ทีมงานที่ค้นพบคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีมานานนับพันล้านปี และสามารถช่วยให้เราเข้าใจการเกิดขึ้นของสนามแม่เหล็กโลกที่ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีคอสมิคและลมสุริยะ องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) ได้ส่งดาวเทียมสามดวงที่เรียกว่า Swarm ขึ้นสู่วงโคจรในปี 2013 เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก“มันเป็นการค้นพบที่สำคัญ”  Phil Livermore หัวหน้าทีมงานจากมหาวิทยาลัยลีดส์กล่าว “เรารู้ว่ามีการเคลื่อนที่ของแก่นโลกที่เป็นโลหะเหลว แต่ยังไม่เคยสังเกตพบอย่างชัดแจ้ง จนกระทั่งได้เห็นกระแสของเ