นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยไฟป่าจากถ่านกำมันตรังสีที่เก่าแก่ที่สุด อายุกว่า 430 ล้านปี จากประเทศเวลส์และโปแลนด์
นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยไฟป่าจากถ่านกำมันตรังสีที่เก่าแก่ที่สุด อายุกว่า 430 ล้านปี จากประเทศเวลส์และโปแลนด์อันเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนชีวิตบนโลกในยุค Silurian เมื่อสี่ร้อยกว่าล้านปีก่อน
ย้อนกลับไปในยุคนั้น ชีวิตของพืชต้องพึ่งพาน้ำเป็นอย่างมากเพื่อที่จะขยายพันธุ์ ทำให้ส่วนมากพืชจะไม่ค่อยถูกพบในภูมิภาคที่อากาศแห้ง ไฟป่าที่กล่าวถึงในงานศึกษาชิ้นนี้ได้เผาไหม้พืชที่เตี้ยมาก หรืออาจสูงเพียงเข่าหรือเอวเท่านั้น
นักวิจัยกล่าวว่าโลกเราถูกปกคลุมด้วยเชื้อราดึกดำบรรพ์อย่าง Prototaxites เป็นสำคัญมากกว่าเหล่าต้นไม้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อรานี้มากนัก แต่เชื่อว่าสามารถเติบโตได้สูงถึงเก้าเมตร
Ian Glasspool นักพฤกษศาสตร์บรรพชีวินวิทยาจาก Colby College ในรัฐเมนกล่าวว่า "ตอนนี้ดูเหมือนว่าหลักฐานการเกิดเพลิงไหม้ของเราใกล้เคียงกับหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ของพืชบนบกที่เก่าแก่ที่สุด ทันทีที่มีเชื้อเพลิง อย่างน้อยก็ในรูปแบบของฟอสซิลของพืช ไฟป่าแทบจะเกิดในทันทีทันใด"
นักวิจัยกล่าวว่าไฟสามารถแพร่กระจายและทิ้งคราบถ่านไว้ได้ แสดงให้เห็นว่าระดับออกซิเจนในบรรยากาศของโลกอยู่ที่อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ แต่จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการ คาดว่า ระดับออกซิเจนในบรรยากาศเมื่อ 430 ล้านปีก่อนอาจสูงกว่าร้อยละ 21 ซึ่งเป็นระดับของปัจจุบัน นับว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับนักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งการขยายพันธุ์ของพืชและการสังเคราะห์ด้วยแสงจะส่งผลต่อวัฏจักรออกซิเจนในช่วงเวลาที่เกิดไฟป่ามากขึ้น และการรู้รายละเอียดของวัฏจักรออกซิเจนในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งมีชีวิตอาจมีวิวัฒนาการอย่างไร
ตามที่นักบรรพชีวินวิทยา Robert Gastaldo จาก Colby College ให้ข้อมูลนั้น ภูมิประเทศของโลกในยุค Silurian ต้องมีพืชพรรณเพียงพอสำหรับการแพร่กระจายของไฟป่าและทิ้งบันทึกการเกิดไฟป่า ในช่วงเวลาที่กำลังสุ่มตัวอย่างในการศึกษา มีชีวมวลเพียงพอที่จะทำให้สามารถบันทึกการเกิดไฟป่า ระบุพืชพรรณและกระบวนการที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
การค้นพบนี้ทำลายสถิติข้อมูลไฟป่าที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ล้านปีก่อน และยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยไฟป่าที่อาจมีส่วนในการสร้างแผนภูมิประวัติศาสตร์โลก ทั้งนี้ Ian Glasspool กล่าวว่า ไฟป่าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการของระบบโลกมานาน แต่บทบาทของมันกลับแทบจะไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก