เมื่อไวรัสยักษ์โบราณอายุกว่า 30,000 ปี คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง
|
เมื่อไวรัสยักษ์โบราณอายุกว่า 30,000 ปี คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง
ค้นหา เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอกซ์-มาร์กเซย์ ในประเทศฝรั่งเศส ค้นพบว่า ไวรัสขนาดยักษ์ ที่ถูกฝังอยู่ในสภาพ ” เพอร์มาฟรอสต์ ” คือถูกแช่งแข็งมาตลอดระยะเวลา 30,000 ปีจากรัสเซีย สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้เมื่อหลุดพ้นจากสภาวะดังกล่าว ข้อมูลนี้ได้สร้างความกังวล ทั้งในแวดวงวิชาการด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยา เนื่องจากวิตกว่า จะมีผลกระทบต่อมนุษย์หรือไม่
ค้นหา เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอกซ์-มาร์กเซย์ ในประเทศฝรั่งเศส ค้นพบว่า ไวรัสขนาดยักษ์ ที่ถูกฝังอยู่ในสภาพ ” เพอร์มาฟรอสต์ ” คือถูกแช่งแข็งมาตลอดระยะเวลา 30,000 ปีจากรัสเซีย สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้เมื่อหลุดพ้นจากสภาวะดังกล่าว ข้อมูลนี้ได้สร้างความกังวล ทั้งในแวดวงวิชาการด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยา เนื่องจากวิตกว่า จะมีผลกระทบต่อมนุษย์หรือไม่
ไพโธไวรัสยักษ์โบราณอายุ 30,000 ปี
ขนาดของมันใหญ่มากเมื่อเทียบกับไวรัสชนิดอื่นๆ
ข้อมูลจาก ฌ็อง-มิเชล คลาเวรี หนึ่งในทีมวิจัยและเป็นผู้ร่วมเขียนผลการวิจัยครั้งนี้
ไวรัสยักษ์โบราณดังกล่าวได้มาจากการเจาะชั้นน้ำแข็งเพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างจากยุคโบราณ จากบริเวณ โคลิมา ในพื้นที่ด้านตะวันออกไกลของรัสเซีย เมื่อปี 2000 ด้วยวิธีการใช้หัวเจาะที่เป็นท่อกลวงเจาะลึกลงไปในชั้นน้ำแข็งบริเวณริมหน้าผา ก่อนดึงขึ้นมาเก็บเป็นตัวอย่างป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจาก ไวรัสและแบคทีเรีย ใหม่ๆ ในยุคนี้
ไวรัสยักษ์โบราณดังกล่าวได้มาจากการเจาะชั้นน้ำแข็งเพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างจากยุคโบราณ จากบริเวณ โคลิมา ในพื้นที่ด้านตะวันออกไกลของรัสเซีย เมื่อปี 2000 ด้วยวิธีการใช้หัวเจาะที่เป็นท่อกลวงเจาะลึกลงไปในชั้นน้ำแข็งบริเวณริมหน้าผา ก่อนดึงขึ้นมาเก็บเป็นตัวอย่างป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจาก ไวรัสและแบคทีเรีย ใหม่ๆ ในยุคนี้
โดยในน้ำแข็งตัวอย่างดังกล่าวพบ “ไวรัส ที่ไม่เคยรู้จัก” กันมาก่อนชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มากจนเรียกได้ว่าเป็น ไวรัสยักษ์ เมื่อเทียบกับ ไวรัส ในปัจจุบัน
เชื่อว่า ไวรัสยักษ์โบราณเป็นวิวัฒนาการมาจากปรสิตเซลล์เดียวในยุคโบราณ และเมื่อตรวจสอบพันธุกรรมพบว่า มีเพียง 1 ใน 3 ของพันธุกรรมของมันเท่านั้นที่เหมือนกับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เรารู้จักกัน และมีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ของพันธุกรรมเท่านั้นที่เหมือนกับไวรัสที่พบกันอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาตั้งชื่อมันว่า ” ไพโธไวรัส ”
วิเคราะห์โอกาสเกิดผลกระทบ
ปัญหาก็คือ เมื่อนำไวรัสยักษ์โบราณคืนชีพเข้าไปใกล้กับอะมีบา (สัตว์เซลล์เดียวคล้ายเมือก) กลุ่มหนึ่งในห้องทดลอง อะมีบาบางส่วนแตกออกและตายไป โดยพบว่าเจ้า ไพโธไวรัส ดังกล่าว เมื่อคืนชีพขึ้นมาแล้วเป็นตัวการฆ่าอะมีบาพวกนั้น
ซึ่งจากการที่มันสามารถติดต่อ หรือทำอันตรายต่อสัตว์เซลล์เดียว ทำให้เกิดผลอนุมานในทางวิชาการได้ว่า ไวรัส หรือเชื้อโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งถูกเก็บกักอยู่ในสภาพเป็นน้ำแข็งตลอดเวลา หรือ เพอร์มาฟรอสต์ นั้นก็สามารถคืนชีพได้เช่นเดียวกัน
คลาเวรี ชี้ว่า ถ้าเป็น ไวรัส ที่ระบาดในหมู่สัตว์เซลล์เดียวได้อย่าง ” ไพโธไวรัส ” ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็น ไวรัส ที่เคยระบาดและส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในยุคก่อน อย่างเช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (เชื่อกันว่าใช้ชีวิตอยู่ในแถบไซบีเรียเช่นกันในราว 28,000 ปีก่อน) ก็น่าวิตก
ที่น่าวิตกเพราะ ไวรัส ดังกล่าวสูญหายไปนานแล้ว นานจนระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือ หรือทำลายมันได้อีกต่อไป เมื่อระบาดอาจก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างกว้างขวางได้ ยิ่งโลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสเสี่ยงที่ไวรัสยุคโบราณจะกลับมาอาละวาดก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนกลับไม่เห็นว่าเรื่องนี้น่าวิตก
อย่างเช่นเคอร์ติส ซัทเทิล นักไวรัสวิทยาทางทะเล จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลอมเบีย ในประเทศแคนาดา ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า ทุกๆ วัน มนุษย์เราสัมผัสกับ ไวรัส อะไรต่อมิอะไรมากมายนับเป็นล้านๆชนิดอยู่แล้ว ทุกครั้งที่ลงว่ายน้ำทะเลก็จะรับเอา ไวรัส นับพันๆล้านเข้าไปในร่างกาย แต่ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรมากมาย
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ซัทเทิล เชื่อว่า ไวรัส ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์จริงๆนั้น มีไม่มากมายนัก แม้จะรวมเอาพวกที่คืนชีพมาด้วยแล้วก็ตาม เขายังบอกอีกว่า ภาวะน้ำท่วมจนไม่มีที่อยู่อาศัยเพราะโลกร้อน น่ากังวลกว่าเรื่อง ไวรัสคืนชีพ มากมายกว่าด้วยซ้ำไป