บทความ

ประตูสู่นรก กลางเติร์กเมนิสถาน

รูปภาพ
ประตูสู่นรก' กลางเติร์กเมนิสถาน ไฟลุกโชนนาน 41 ปี "ประตูสู่นรก" แห่งเติร์กเมนิสถาน  ยังคงติดไฟนานถึง 41 ปี แม้เมื่อ 2 ปีก่อนปธน.มีคำสั่งให้ปิดหลุมปีศาจ ไปแล้วก็ตาม. เมื่อ 14 ก.ย. แท็บลอยด์ผู้ดีเผยภาพความน่าอัศจรรย์บนโลกมนุษย์ รู้ที่รู้จักกันดีว่า "ประตูสู่นรก"  (Door to Hell) หลุมขนาดใหญ่มีไฟลุกโชติช่วงมานานถึง 41 ปีแล้ว โดยหลุดดังกล่าวอยู่กลางทะเลทรายคาราคุม ประเทศเติร์กเมนิสถาน แห่งภูมิภาคเอเชียกลาง หลุมดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากนักธรณีวิทยาโซเวียต พยายามขุดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ เมื่อปี 1971 แต่พื้นดินเหนือบริเวณขุดเจาะกลับพังถล่ม จนเกิดหลุมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เมตร และพบมีแก๊ซพิษฟุ้งกระจาย จึงตัดสินใจจุดไฟเผา ซึ่งแรกเริ่มคาดว่าจะดับลงได้เองภายในเวลา 1-2 วัน แต่ไม่เป็นดังที่คาดการณ์ไว้ เพราะเปลวเพลิงยังคงสว่างไสวอยู่จนถึงปัจจุบัน ประตูสู่นรก อยู่ใกล้กับหมู่บ้านเดอร์เวเซ มีผู้อยู่อาสัยราว 350 คน ตั้งอยู่ห่างจากทางเหนือของ กรุงแอชกาแบท เมืองหลวงของเติร์กเมนิสถาน ราว 260 กิโลเมตร  เมื่อเม.ย. 2010 ประธานาธิบดี

เผยสาเหตุปรากฏการณ์ หิมะสีส้ม

รูปภาพ
เผยสาเหตุปรากฏการณ์ “หิมะสีส้ม” ปกคลุมพื้นที่หลายประเทศในยุโรปตะวันออก วันศุกร์ที่ 23 มีนาคมปีที่ผ่านมา ผู้คนในหลายประเทศของทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ รัสเซีย บัลกาเรีย ยูเครน โรมาเนีย และมอลโดวา มีโอกาสได้สัมผัสกับปรากฏการณ์พิเศษที่ไม่ได้พบเห็นกันบ่อยๆ  “หิมะสีส้ม” โปรยปรายลงมาปกคลุมหลายพื้นที่ สร้างความตื่นเต้นประหลาดใจให้กับผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่รู้สาเหตุ ที่ทำให้หิมะกลายเป็นสีส้มแบบนี้มาก่อน หิมะสีส้มที่ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ทำให้บรรยากาศดูแปลกตา หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังเดินย่ำหิมะหรือเล่นสกีอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร ปรากฏการณ์หิมะสีส้มจะเกิดขึ้น ครั้งหนึ่งในราวทุกๆ 5 ปี แต่ครั้งนี้สีส้มของหิมะเข้มกว่าครั้งก่อนๆจนรู้สึกว่ามันแปลกตาไปมาก ลมพายุพัดหอบเอาฝุ่นทรายจากทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกาข้ามผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  เข้าทวีปยุโรปตะวันออกไปถึงรัสเซีย ฝุ่นทรายผสมกับหิมะและฝนตกลงมากลายเป็นปรากฏการณ์หิมะสีส้มที่น่าประหลาดใจ ภาพถ่ายดาวเทียมของนาซาได้จับภาพฝุ่นทรายจำนวนมหาศาลที่ถูกลมพายุหอบมาถึงชายฝั่งแอฟริกาเหนือ เข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแถวบริ

รายงานสหประชาชาติเตือนเรื่องภัยพิบัติจากโลกร้อนในอีก 12 ปี

รูปภาพ
รายงานจากคณะกรรมการของสหประชาชาติด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกหรือ IPCC เตือนว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีกเพียง 12 ปีต่อจากนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม  และจะทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องหายนะจากธรรมชาติ เช่น ภาวะแล้งจัดไฟป่า น้ำท่วมใหญ่ รวมทั้งการขาดแคลนอาหารสำหรับผู้คนนับล้านๆ คนทั่วโลกได้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมาจากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว และรายงานของสหประชาชาติยังเตือนว่า การยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นกว่านี้ ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะถ้าโลกร้อนขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว โลกของเราก็จะพบกับปัญหาต่างๆ มากมาย นับตั้งแต่คลื่นความร้อนจัด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้ง และฝนที่ตกหนักมากผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามเป้า จ

นักวิทยาศาสตร์ชี้ภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้ละลายเร็วขึ้น

รูปภาพ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2011 ทวีปแอนตาร์ติกาสูญเสียแผ่นน้ำเเข็งไปแล้ว 76 ล้านตันต่อปี พวกเขากล่าวว่าการละลายของแผ่นน้ำเเข็งได้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 219 พันล้านตันต่อปี เริ่มตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 หรือเมื่อหกปีที่แล้ว อิสเบลลา เวลลิค็อกนา (Isabella Velicogna) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (University of California Irvine) หนึ่งในผู้ร่างผลการวิจัยทั้งหมด 88 คน กล่าวว่า คนเราควรกังวลต่อเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรรู้สึกหมดหวัง แผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลายอยู่ในขณะนี้เเละกำลังละลายอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาด   😂ด้านแอนดรูว์ เชพเปิร์ต (Andrew Shepherd) หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ในอังกฤษ กล่าวว่า เป็นไปได้ที่การละลายของแผ่นน้ำเเข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพียงอย่างเดียวจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 16 เซ็นติเมตรทั่วโลกภายในก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้  เขากล่าวว่าภายใต้สภาพตามธรรมชาติเเล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดว่าแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเเม้เเต่น้อย  จึงไม่มีสาเหตุอื่นใดนอกเสียจากการเปลี่ยนแป

ทั่วโลกร่วมประท้วงโลกร้อนรอบใหม่

รูปภาพ
ผู้คนทั้งจากฝั่งยุโรปไปจนถึงเอเชีย ร่วมเดินขบวนประท้วงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ         ในวันศุกร์การประท้วงเริ่มต้นจากนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย     ที่ผู้ประท้วงรวมตัวกันด้านหน้าที่ทำการพรรค New South Wales Liberal เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิกโครงการด้านพลังงานฟอสซิลใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ชุมนุมออสเตรเลียมองว่าเหตุไฟป่าร้ายแรง เมื่อไม่      กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศ นั้น เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ ผู้ประท้วงเป่าบอลลูนเป็นรูปเด็กทารก พร้อมข้อความว่า “ลองทายน้ำหนักตัวของฉัน เป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์.ซิ!” กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Friday for Future ประเมินว่าการประท้วงล่าสุดนี้เกิดขึ้น ใน 2,300 เมือง ใน 153 ประเทศ  ทั่วโลก ในวันศุกร์เกรต้า ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน มีกำหนดการร่วมเดินขบวนที่กรุงลิสบอน แห่งโปรตุเกส แต่ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ทำให้การเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติดจากนิวยอร์กเป็นไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนด แต่เธอก็ยังทวีตต่อผู้สนับสนุนให้ออกมาร่วมเดินขบวนกันตามกำหนดการเดิ

ฟาร์มจิ้งหรีดหนทางสู้วิกฤตขาดแคลนอาหารโลก

รูปภาพ
“ฟาร์มจิ้งหรีด” หนทางสู้วิกฤต   เกษตรกรในเมืองกิซูมู ของเคนยา นำเมนูอาหารหลากหลายมาจัดวาง ทั้งขนมปังอบและบิสกิตร้อนๆจากเตา ซึ่งดูแล้วก็เหมือนกับขนมปังทั่วไป เพียงแต่ส่วนผสมที่เป็นหัวใจหลักของเมนูเหล่านี้ มาจากแป้งที่ทำจากจิ้งหรีด  ชาร์ลส โอดิรา เกษตรกรในเมืองนี้ผู้บุกเบิกการเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งมีจุดเด่นที่เสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ มาเป็นแหล่งอาหารทางเลือกของผู้คนในเคนยา โดยเขาได้แนวคิดการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาหารหลังจากเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศไทย  ชาร์ลส บอกว่า ตอนที่เขาเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศไทย เขาได้เรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีดที่นั่น และประโยชน์ของจิ้งหรีดที่ช่วยเหลือคนยากคนจน จนขาดสารอาหาร และเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดได้ เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นเส้นทางการเลี้ยงจิ้งหรีดในเคนยาขึ้นมา เขาเริ่มจากการเลี้ยงจิ้งหรีดที่เก็บมาจากธรรมชาติ 50 ตัว และ 2-3 ปีต่อมา เขาได้เนรมิตเล้าไก่เดิมให้กลายเป็นอาณาจักรจิ้งหรีดมากกว่า 300,000 ตัว ซึ่งพวกมันอยู่ได้ด้วยอาหารไก่และเศษพืชต่างๆ  ศูนย์ศึกษาด้านแมลงและนิเวศน์วิทยานานาชาติ หรือ ICEPE ในกรุงไนโรบี ของเ

ทีมนักวิจัยชี้ว่าการเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วโลกจะช่วยลดแก๊สเรือนกระจก

รูปภาพ
ผลการศึกษาในยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งตีพิมพ์ใน..วารสาร  Science เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ชี้ว่า ต้นไม้มีศักยภาพในการช่วยดูด ซับ 2 ใน 3 ของเเกสคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกไปเพิ่มเติมในชั้นบรรยากาศ เนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ตั้งเเต่การเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรม ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดนำโดยทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย ETH Zurich ด้านเทคโนโลยี ค้นพบว่า หากมีต้นไม้เพิ่มขึ้นอีก 500,000 ล้านต้นซึ่งจะปกคลุมพื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับสหรัฐอเมริกา จะช่วยดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  200 กิกกะตันจากชั้นบรรยากาศโลกเมื่อต้นไม้ โตเต็มที่ ทีมผู้ร่างผลการศึกษานี้ชี้ว่า เมื่อรวมกับการลดปริมาณเเก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศลง การเพิ่มจำนวนต้นไม้ช่วยลดปริมาณเเก๊สเรือนกระจกที่สั่งสมในชั้นบรรยากาศลงได้ภายในปีค.ศ. 2050 หรืออีก 31 ปีข้างหน้าเ เละจะเป็นทางเเก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ได้ผลมากที่สุดเท่าที่มีมา ทีมนักวิทยาศาสตร์นี้บอกว่า การควบคุมภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ภายในปีค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นเป้าหมายของสหประชาชาติจำเป็นต้องมีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านไร่ โดยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยล