บทความ

ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว ระเบิดเวลาใต้แผ่นดินอาร์กติก

รูปภาพ
เซียร์เกย์ ซีมอฟ นักนิเวศวิทยา นั่งยองๆ อยู่ในแอ่งโคลนเลียบแม่น้ำโคลีมาอันกว้างใหญ่และเย็นเยียบ ใต้ผาชันที่มีดินร่วยซุย ไซบีเรียตะวันออกในยามนี้เป็นฤดูร้อน และอยู่ห่างจากเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นมาไกลโข  แม้จะไม่มีน้ำค้างแข็งหรือหิมะให้เห็นสักนิด ทว่าหน้าผาชื่อดูวานนียาร์แห่งนี้ก็ถูกแม่น้ำโคลีมากัดเซาะและเผยให้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง  เป็นพื้นดินแช่แข็งที่เรียกว่า ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) อยู่ลึกลงไปหลายร้อยเมตรและกำลังอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าโลก ทั่วพื้นที่ทั้ง 23 ล้านตารางกิโลเมตรของจุดเหนือสุดของโลกแห่งนี้ ชั้นดินเยือกแข็งของอาร์กติกไม่ได้ละลายทีละน้อยอย่างที่นักวิทยาศาสตร์เคยทำนายไว้ ในทางภูมิศาสตร์ อาร์กติกกำลังหลอมละลายชนิดชั่วข้ามคืน และยังปลดปล่อยคาร์บอนมหาศาลที่ถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินเยือกแข็งนานนับพันปีออกมา เมื่อก๊าซเข้าสู่บรรยากาศในรูปมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเร็วขึ้น ถ้าเราไม่ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง ภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ชั้นดินเยือกแข็งจะกลายเ

ย้อนอดีตภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ หมอกซุปถั่ว

รูปภาพ
ย้อนอดีตภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ‘หมอกซุปถั่ว’ ที่ปกคลุมกรุงลอนดอน มลพิษที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตหลายพันคน ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในปี 1952 ได้เกิดภาวะอากาศหนาวผิดปกติ และยังมีสภาพอากาศแปรปรวนจนทำให้เกิดหมอกหนาจัดที่เรียกกันว่า ‘หมอกซุปถั่ว’ (Pea-Soupers) มีลักษณะเป็นหมอกสีเหลืองดำ เกิดจากการเพิ่มการเผาถ่านหินของโรงไฟฟ้าในสภาพอากาศที่ไม่มีลม ด้วยสภาพอากาศเช่นนี้ จึงทำให้เกิดหมอกหนาและทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นได้เพียง 90 ซม.  เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ประชาชนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ นอกที่พักอาศัยได้ ขณะเดียวกัน ทางการรถไฟ ต้องใช้เครื่องมือ Detonator เพื่อให้สัญญาณโดยจะติดไว้ตามแนวรางรถไฟ หมอกซุปถั่วที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนราว 4,000 คน เสียชีวิตจากหนองในปอด เพราะหายใจอากาศที่เป็นพิษติดต่อกันนานถึง 5 วัน จนต่อมารัฐบาลอังกฤษต้องออกมาตรการเพื่อควบคุมการเผาถ่านหินในโรงงานและโรงไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำรอยอีก (Pea-Soupers) เรียบเรียง : S

ทิเบตสำรวจพบ ไวรัสโบราณ อายุ 15,000 ปี ที่ใกล้ตื่นขึ้นอีกครั้ง เพราะโลกกำลังละลาย

รูปภาพ
เมื่อปี 2015 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ พบกลุ่มเชื้อไวรัสโบราณ 33 ชนิด จากตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต โดยพวกมันมีอายุเก่าแก่ถึง 15,000 ปี (ซึ่งในจำนวนดังกล่าวกว่า 28 ชนิดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่เคยถูกพบมาก่อน) และที่น่าเป็นห่วงคือพวกมันกำลังจะปรากฎขึ้นอีกครั้งเพราะโลกกำลังละลาย ภาพเมื่อปี 2015 – ตัวอย่างแกนน้ำแข็งในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ ณ ประเทศทิเบต โดยการค้นพบครั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมจากแกนน้ำแข็งที่ถูกขุดขึ้นมาเมื่อปี 1992 แต่ด้วยความสงสัยและไม่แน่ใจว่าแบคทีเรียที่พบอาจมาจากอุปกรณ์ขุดเจาะที่ไม่สะอาด พวกเขาจึงทำการเจาะตัวอย่างแกนน้ำแข็งจากแหล่งเดียวกันขึ้นมาตรวจสอบอีกครั้ง ปรากฏว่าแกนน้ำแข็งแท่งใหม่ที่ถูกขุดขึ้นมายังคงเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจำนวนมาก จึงสรุปได้ว่า – “ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ยังคงมีเชื้อไวรัสโบราณที่หลับไหลอยู่จริง แถมเมื่อทดลองทำการละลาย ไวรัสทั้งหมดก็ตื่นขึ้นและเคลื่อนไหวทันทีอีกด้วย” ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบว่ามีเชื้อไวรัสโบราณซ่อนอยู่ในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ เพราะเมื่อปี 2005 นักวิจัยจากนาซา พบเชื่อแบคทีเรียที่ฝังตัวอ

อนาคตบนเส้นด้ายของ แอนตาร์กติกา

รูปภาพ
หิ้งน้ำแข็งที่แตกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของหายนะ มองจากด้านบนผิวขรุขระของหิ้งน้ำแข็งปรากฏรอยแตกขนาดใหญ่ที่บ่งชี้ว่ามันกำลังจะหลุดออกจากชั้นน้ำแข็งเดิมที่มีอายุหลายพันปี แผ่นน้ำแข็งที่กำลังจะหลุดออกนี้เป็นส่วนหนึ่งของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี ที่ตั้งอยู่บนแหลมทางตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกา อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลโดยรอบคือสาเหตุ และการหลุดออกครั้งนี้จะเปลี่ยนหน้าตาของแผนที่ทวีปแอนตาร์กติกาตลอดไป ด้วยขนาดของหิ้งน้ำแข็งที่ใหญ่ถึง 6,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับพื้นที่กว้างใหญ่กว่ากรุงลอนดอน 4 เท่า และคิดเป็นราว 2 ใน 3 ของสาธารณรัฐไซปรัส เกาะบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พืดน้ำแข็งฝั่งตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกานี้มีความหนาราว 2.5 ไมล์ และครอบคลุมพื้นที่ขนาด 2 เท่าของรัฐเท็กซัส รอบๆของพืดน้ำแข็งประกอบด้วยภูเขาน้ำแข็งจำนวนมาก นั่นแปลว่าหากมหาสมุทรยังคงอุ่นขึ้นเรื่อยๆจนละลายชั้นน้ำแข็งที่เปราะบางเหล่านี้จนหมด ทีมนักวิจัยเชื่อว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ฟุต “หิ้งน้ำแข็งบริเวณนี้เป็นจุดที่ละลายเร็วที่สุดบนโลก” อีริค ริกนอท นักธรณีวิทยาจาก NASA Jet Propuls

ลาวาสีครามที่อินโดนีเซีย

รูปภาพ
ลาวาสีครามในอินโดนีเซีย นี่คือภาพของลาวาสีครามจากภูเขาไฟ Kawah Ijen บนเกาะชวาตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียที่ถูกถ่าย โดย Olivier Grunewald ช่างภาพชาวฝรั่งเศส  โดยสาเหตุที่ทำให้ลาวาเป็นสีฟ้า เนื่องจากเมื่อลาวาจากใต้ดินที่มีความร้อนสูงเผาไหม้กำมะถันเข้มข้นที่อยู่บนพื้นผิว จะทำให้เกิดเปลวไฟสีฟ้า ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดในตอนกลางคืน  โดยกำมะถันที่ถูกปล่อยออกมาภายใต้ความดันสูง และเผาไหม้ที่อุณหภูมิ 600°C (1,112°F) นั้น สามารถทำให้เกิดเปลวไฟได้สูงถึง 5 เมตรเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก Nerdist) Kawah Ijen เป็นภูเขาไฟที่มีกรวยสลับชั้น ความสูง 2,799 เมตร บนยอดเขามีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกรดกำมะถัน และมีการทำเหมืองกำมะถันที่เกิดจากการเย็นตัวลงของลาวาโดยรอบแอ่งอีกด้วย Kawah Ijen แปลและเรียบเรียงโดย Felis

Tambora ที่ระเบิดรุนแรงจนยอดเขาพังทลาย..เถ้าภูเขาไฟปกคลุมทั่วฟ้าทำให้บริเวณนั้นมืดมิดและไม่ได้รับแสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน

รูปภาพ
Tambora เถ้าภูเขาไฟปกคลุมทั่วฟ้า ภูเขาไฟตัมโบรา เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย เดิมทีภูเขาแห่งนี้มีความสูงถึง 4,300 เมตร แต่หลังจากการระเบิดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 มันได้เหลือความสูงเพียง 2,850 เมตร และกลายเป็นแอ่งขนาดใหญ่กว้างกว่า 6 กิโลเมตร  ลึกไปกว่า 1 กิโลเมตร การระเบิดในครั้งนั้น มีความรุนแรงระดับ VEI-7 โดยมีรายงานว่า ได้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด มีการไหลของลาวาท่วมอยู่รอบภูเขาไฟ และการพวยพุ่งของเถ้าเขม่าและควันก๊าซกว่า 175,000,000,000 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นไปปกคลุมท้องฟ้า ทำให้บริเวณนั้นมืดมิดและไม่ได้รับแสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า หลังภูเขาไฟระเบิด ชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยฝุ่นเถ้า เป็นเหตุให้พื้นผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์ลดน้อยลงถึง 20 % ทำให้อุณหภูมิทางซีกโลกเหนือลดลงมากและมีผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก  โดยหลายทวีปเข้าสู่ความมืดมิดเนื่องจากฝุ่นละอองได้บดบังไว้ ในบางประเทศมีฝนตกหนักตลอดสัปดาห์ โดยในปีต่อมาทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้เข้าช่วงปีไร้ฤดูร้อน กว่าฝุ่

ฝนถล่ม น้ำทะเลสูง! เตือน กรุงเทพฯ กำลังจมบาดาลตลอดกาล

รูปภาพ
ฤดูฝนปีนี้ คนไทยทั่วทุกภาค รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่ชาว กทม. หวั่นใจลึกๆ เย็นนี้ฝนจะตกจนทำให้น้ำท่วมถนน รถติดชนิดหนักหนาสาหัสอีกหรือไม่ ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงปัญหาน้ำท่วมรอระบายที่คนกรุงฯ เผชิญหน้าแทบทุกวันมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ขณะนี้กำลังมีมหันตภัยที่รอเราอยู่ ในขณะที่พวกเราอาจยังไม่ได้ตระหนักเท่าใดนัก นั่นคือ เสียงเตือนที่ดูเหมือนยังคงแผ่วเบา ว่า กรุงเทพมหานครกำลังเสี่ยงจะจมน้ำ ถูกน้ำท่วมในอีกสิบกว่าปีข้างหน้าที่จะถึงนี้!! *กรุงเทพฯ ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาอย่างรุนแรง เว็บไซต์ South China Morning Post สื่อในฮ่องกง นำเสนอบทความที่น่าตกใจสำหรับคนกรุงเทพฯ ว่า ‘กรุงเทพฯ กำลังจมน้ำ -จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เมืองหลวงของประเทศไทย ไม่เผชิญหายนะภัยน้ำท่วมอีกครั้งได้อย่างไร?’ สื่อฮ่องกงชี้ว่า กรุงเทพฯ ได้ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาอย่างรุนแรงมานานหลายปีแล้ว มีแต่การสร้างตึกสูงระฟ้า คอนโดมิเนียมสูงหลายสิบชั้น ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ ยิ่งทรุดต่ำลงไปเรื่อยๆ ขณะที่เว็บไซต์บีบีซี ภาคภาษาไทย รายงานเตือนคนไทยและช