Blue Ice ปรากฏการณ์ หรือ น้ำแข็งสีคราม ที่ทะเลสาบไบคาล สาธารณรัฐรัสเซีย


Blue Ice ปรากฏการณ์ หรือ น้ำแข็งสีคราม ที่ทะเลสาบไบคาล สาธารณรัฐรัสเซีย

ทะเลสาบไบคาล (Lake Baikal) ตั้งอยู่ที่ทางตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เป็นทะเลสาบที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุยาวนานถึง 25 ล้านปี อีกทั้งยังมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล 


ยากที่มองเห็นจุดสิ้นสุดได้ด้วยตาเปล่า มีความยาวอยู่ที่ 650 กิโลเมตร กว้าง 80 กิโลเมตร และเส้นรอบวงทะเลสาบถึง 2,000 กิโลเมตร จุน้ำได้ถึง 23,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งมากกว่าน้ำใน ทะสาบทั้ง 5 (5 Great Lakes) แห่งอเมริกาเหนือมารวมกันอีกครับ แถมยังเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก อยู่ที่ 1,400 เมตร เรียกได้ว่าเป็นแหล่งธรรมชาติอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว


แม้ ทะเลสาบไบคาล จะก่อกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 25 ล้านปีก่อน แต่ก็เพิ่งถูกค้นพบโดยทหารรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1902 ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียรอบๆ ทะเลสาบนี่เอง และเนื่องจากเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาและชีววิทยาที่สำคัญของโลก เริ่มตั้งแต่ยุคสัตว์เลื้อยคลานและยุคน้ำแข็ง จึงทำให้ทะเลสาบไบคาลแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ให้เป็นมรดกเมื่อปี ค.ศ. 1996


ในช่วงฤดูหนาวของทะเลสาบไบคาล ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมีนาคมนั้นทะเลสาบแห่งนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งตัวน้ำแข็งก็หนาพอที่จะให้รถลงไปวิ่งในตัวทะเลสาบได้ โดยจะมีให้เห็นเพียงแค่ 40 วันในหนึ่งปีเท่านั้น Blue Ice หรือน้ำแข็งสีคราม จะเป็นน้ำแข็งที่มีสีฟ้าแกมเขียวเหมือนมรกต 

โดยเราสามารถเห็นน้ำแข็งสีครามนี้ที่ ทะเลสาบไบคาล ได้เพียงแค่ฤดูหนาวเท่านั้นนอกจาก Blue Iceแล้วก็ยังมี Bubble Ice ที่น้ำแข็งได้ทำการจับตัวจนแข็งในขณะที่มีฟองผุดขึ้นมาจากใต้น้ำ

ในส่วนของน้ำในทะเลสาบไบคาล กว่า 97% เป็นน้ำเค็ม และ 2.5% เป็นน้ำจืด 

ซึ่งน้ำจืดเหล่านั้นต่างก็อยู่ในจุด ที่เราเข้าไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นตามชั้นน้ำแข็ง ใต้บาดาล หรือละอองน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศก็ตาม นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากกว่า 1,000 สายพันธุ์ที่ไม่สามารถพบเจอจากที่ไหนบนโลก เช่น แมวน้ำไบคาล ที่อพยพมาจากมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) เมื่อ 800,000 ปีก่อน เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมฆสีมุก เมฆสารพัดสีปรากฏการณ์เมฆแปลกๆที่หาดูได้ยากมาก

Troll A นอร์เวย์ แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก...

อารยธรรมต่างดาวอาจตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือของเราได้