รู้หรือไม่‘พรมจากเส้นผมมนุษย์’ จึงเป็นทางรอดในการแก้ปัญหาน้ำมันรั่วที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

รู้หรือไม่‘พรมจากเส้นผมมนุษย์’ จึงเป็นทางรอดในการแก้ปัญหาน้ำมันรั่วที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

เป็นประจำทุกวันที่ ลิซ่า โกติเยร์ (Lisa Gautier) จะได้รับกล่องพัสดุที่ข้างในเต็มไปด้วยเส้นผมมนุษย์ ไม่ว่าจะสีบลอนด์ ดำ แดง ไปจนถึงสีน้ำตาลบรูเน็ตต์ 0

👉🏿🧟นึกภาพแล้วออกจะหลอนๆ แต่สำหรับลิซ่าแล้วเธอกลับเปิดกล่องที่เต็มไปด้วยเส้นผมด้วยรอยยิ้ม เพราะเธอรู้ว่าท้ายที่สุดแล้ว เส้นผมหลากสีเหล่านี้จะช่วยแต่งแต้มสีเขียวให้โลกที่กำลังผุพังใบนี้ “กรีน” ขึ้นกว่าเดิม

👉🏿เพราะเธอจะนำเส้นผม (รวมถึงเส้นขนของบรรดาสัตว์หลายชนิดที่มีคนส่งมาบริจาคเช่นกัน) ไปถักทอเป็นผืนพรม เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุชั้นดีในการดูดซับคราบน้ำมันที่รั่วไหลตามท้องถนน บนชายหาด และผิวน้ำบนท้องทะเล

🖼️เส้นผมในกล่องรับบริจาค

👧ลิซ่าดำเนินกิจกรรมนี้ภายใต้ชื่อองค์กร Matter of Trust ที่เธอร่วมก่อตั้งขึ้นมากับสามี พาทริซ โกติเยร์ (Patrice Gautier) มาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา 

👉🏿กิจกรรมทอเส้นผมให้เป็นพรมมีจุดกำเนิดหลังก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้สามปี เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกาะกาลาปากอส ทำให้สองสามีภรรยาเดินหน้าขอความร่วมมือกับ ฟิลลิป แม็คครอรี (Phillip McCrory) แฮร์สไตลิสต์ในรัฐแอละแบมา ให้มาช่วยปฏิบัติภารกิจบางอย่าง

ว่าแต่ ทำไมองค์กรที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมถึงขอความช่วยเหลือจากช่างทำผม แถมองค์การนาซ่ายังมามีเอี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยอีกต่างหาก

🖼️ลิซ่า โกติเยร์ และ ฟิลลิป แม็คครอรี กับผืนพรมชิ้นตัวอย่าง

👉🏿การทดลองของแฮร์สไตลิสต์

ต้องย้อนเล่ากลับไปถึงวันหนึ่งในปี 1989 ขณะที่แม็คครอรีกำลังดูข่าวเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในอลาสก้า และเห็นภาพปฏิบัติการกู้ชีวิตตัวนากที่ขนชุ่มโชกไปด้วยน้ำมัน แทนที่จะแค่รู้สึกสงสาร แม็คครอรีกลับเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ถ้าขนสัตว์สามารถดักจับน้ำมันได้ขนาดนี้ แล้วทำไมเส้นผมของมนุษย์จะดูดซับน้ำมันบ้างไม่ได้

🌊ว่าแล้วเขาก็ลงมือทำการทดลอง ด้วยการนำเส้นผมประมาณ 5 ปอนด์ยัดลงในถุงน่องของภรรยา แล้วมัดให้เป็นรูปวงแหวน จากนั้นก็เติมน้ำลงในสระเด็กของลูกชาย บรรจงวางมัดวงแหวนเส้นผมลงกลางสระ แล้วเทน้ำมันเครื่องลงไปตรงกลางวงแหวน 

😱ปรากฏว่า เมื่อแม็คครอรีดึงมัดถุงน่องขึ้นจากน้ำก็แทบไม่เหลือคราบน้ำมันบนผิวน้ำเลย เพราะน้ำมันได้ซึมเข้าไปในถุงน่องจนหมด หลังจากนั้น เขาลองบิดมัดถุงน่อง แน่นอนว่ามีน้ำมันไหลออกมา และเมื่อลองนำมัดถุงน่องเส้นผมไปซักด้วยผงซักฟอก ปรากฏว่าสามารถซักทำความสะอาดได้ตามปกติ

🖼️ขั้นตอนการคัดแยกเส้นผมมนุษย์และขนสัตว์

🤵แต่ก่อนที่แม็คครอรีจะอาจหาญทุ่มเงินไปกับการพัฒนาไอเดียนี้ เขาต้องการที่จะแน่ใจว่ายังไม่มีใครเคยค้นพบคุณสมบัติการดูดซับน้ำมันด้วยเส้นผมของมนุษย์มาก่อน เขาจึงค่อยๆ ค้นคว้าจนไปเจอเข้ากับสิทธิบัตรคล้ายๆ กัน

👉🏿โดยมีคนเคยคิดค้นการนำขนแกะและขนเป็ดมาใช้ในการดูดซับน้ำมัน แต่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับเส้นผมมนุษย์ 

🤵แม็คครอรีจึงเดินหน้าต่อ ด้วยการขอความร่วมมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA ให้ช่วยนำไอเดียของเขาไปทดลองในแล็บ และนาซ่าก็เอาด้วย!

👉🏿ผลลัพธ์จากแล็บของนาซ่าได้ความว่า หากใช้เส้นผมจำนวน 25,000 ปอนด์ห่อด้วยผ้าไนลอน จะสามารถดูดซับน้ำมันได้ถึง 170,000 แกลลอน หรือใช้เวลาไม่ถึง 2 นาทีในการใช้เส้นผมดูดซับน้ำมัน 1 แกลลอน

🖼️คุณค่าของเศษผมที่ถูกหั่นทิ้ง

🎰ผ่านไปหนึ่งทศวรรษ เมื่อองค์กร Matter of Trust ติดต่อแม็คครอรีให้ร่วมกันพัฒนาทุ่นลอยและพรมทำจากเส้นผมมนุษย์และขนสัตว์ เพื่อนำไปใช้ดูดซับน้ำมันที่รั่วไหล แม็คครอรีจึง เซย์ เยส ในทันที

เพราะเขาตระหนักได้ตั้งแต่วินาทีที่เห็นทุ่นเส้นผมในถุงน่องของภรรยาดักจับน้ำมันเครื่องได้เกลี้ยงสระแล้วว่า นี่คือหนึ่งในวิธีช่วยลดขยะเส้นผมจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะเส้นผมมนุษย์ที่ถูกตัดทิ้งวันละหลายตันมักถูกกำจัดในหลุมฝังกลบ และความอัศจรรย์อีกอย่างของเส้นผมมนุษย์คือ สามารถอยู่ยงคงกระพันได้อีกเป็นพันปี !

ดังนั้น การนำเส้นผมมนุษย์มาทอเป็นพรมดักจับน้ำมันจึงเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ ลดขยะเส้นผมและขจัดคราบน้ำมันรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงในทะเล วิธีการที่ต้องทำให้ไวที่สุด คือ การใช้ทุ่นลอยน้ำมันล้อมน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำเอาไว้ เพื่อเป็นกำแพงกักน้ำมันไม่ให้ขยายเป็นวงกว้าง รวมถึงใช้เรือลากกวาดน้ำมันให้มากองรวมกัน เพื่อจัดการต่อด้วยวิธีอื่นได้ง่ายขึ้น โดยทุ่นลอยที่เคยใช้กันเป็นปกติมักทำจากโพลีโพรพิลีน ซึ่งเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ และในการผลิตโพลีโพรพิลีนต้องใช้น้ำมันปริมาณมหาศาล กลายเป็นว่าแทนที่จะขจัดปัญหากลับเป็นการก่อปัญหาที่หนักหนากว่าเดิม

👉🏿ในขณะที่คุณสมบัติของเส้นผมนั้น นอกจากจะดูดซับน้ำมันได้ดีเยี่ยมแล้ว ยังมีให้ใช้มากมายเหลือเฟือ เพราะทุกร้านตัดผมย่อมมีกองขยะเส้นผมเหลือทิ้งทุกวัน เฉพาะในสหรัฐอเมริกาก็มีร้านทำผมแบบจดทะเบียนมากถึง 900,000 แห่งแล้ว ดังนั้น แทนที่จะกวาดเศษเส้นผมทิ้งเหมือนเคย สู้รวบรวมเส้นผมแล้วส่งไปยัง Matter of Trust ดูจะเป็นทางออกที่ได้ผลลัพธ์ดีกว่ามาก

สำหรับขั้นตอนในการทำพรมเส้นผมนั้น ทีมงานอาสาสมัครของ Matter of Trust จะทำการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนที่อาจติดมากับเส้นผมและเส้นขนที่มีผู้ส่งมาบริจาคทุกวัน อาทิ เศษดิน สิ่งสกปรก ไปจนถึงเห็บเหาต่างๆ จากนั้นจึงคัดแยกเส้นผม แล้วนำไปแผ่ลงบนแผ่นเฟรม ก่อนนำเข้าเครื่องทอเส้นผมจนออกมาเป็นผืนพรมที่พร้อมใช้งาน โดยเส้นผม 500 กรัม สามารถผลิตพรมจัตุรัสขนาด 2 ฟุต หนา 1 นิ้ว ที่สามารถดูดซับน้ำมันได้ 1.5 แกลลอน (5.6 ลิตร)

เมแกน เมอร์เรย์ (Megan Murray) นักชีววิทยาสิ่งแวดล้อมและหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาศาสตร์แห่ง University of Technology Sydney ประเทศออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนในการดักจับน้ำมันรั่วไหล โดยในงานวิจัยของเธอได้ศึกษาเรื่องคุณสมบัติการดูดซับน้ำมันของเส้นผมมนุษย์เช่นกัน และยืนยันว่าเส้นผมมนุษย์มีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันได้ดี และเผลอๆ จะดีกว่าโพลีโพรพิลีนในบางสถานการณ์เสียด้วยซ้ำ

“พรมเส้นผมใช้ดูดซับน้ำมันบนพื้นผิวดินได้ดี แต่อาจจะไม่ค่อยได้ผลเมื่อนำไปใช้บนหาดทราย” นอกจากนี้ เมอร์เรย์ได้เสนอแนะว่า ข้อเสียของพรมและทุ่นเส้นผมคือ ใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง โดยการนำไปเผาหรือฝังกลบเพื่อเป็นปุ๋ยในดิน แต่ก็ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นไม้อยู่ดี

ภารกิจที่เธอกำลังทำอยู่ ณ ปัจจุบัน จึงเป็นการค้นคว้าวิจัยเพื่อหากระบวนการสกัดน้ำมันออกจากพรมเส้นผม เพื่อให้สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้ 

👉🏿อุบัติเหตุน้ำมันรั่วใกล้ตัวแค่ไหน 

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจยังมองว่า อุบัติเหตุน้ำมันรั่วไหลเอย การบริจาคเศษเส้นผมเพื่อเอาไปทำพรมเอย ดูจะเป็นเรื่องไกลตัวเสียเหลือเกิน

จริงๆ แล้วถ้าคุณยังต้องอาบน้ำและดื่มน้ำอยู่ทุกวัน ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวสุดๆ

เพราะน้ำมันที่รั่วไหลสามารถปนเปื้อนไปกับน้ำประปา จนสามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพผู้คน ทำลายพืชและสัตว์ และทำลายระบบนิเวศน์ในที่สุด

🖼️อาสาสมัครนำพรมเส้นผมมาซับน้ำมันที่หกบนท้องถนน

หรือต่อให้เป็นคนติดตามข่าวแม้เพียงผิวเผินที่สุดก็ต้องอดรู้สึกตะหงิดๆ ไม่ได้ว่า เดี๋ยวนี้เราได้ยินข่าวน้ำมันรั่วในหลายๆ ประเทศถี่ขึ้นเรื่อยๆ แค่เฉพาะต้นปี 2022 ที่ผ่านมาก็เกิดอุบัติเหตุน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทยและเปรู รวมแล้วเป็นน้ำมันปริมาณมากถึง 513,000 แกลลอน

และจากบันทึกขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration หรือ NOAA) ประจำปี 2021 พบว่า เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลทั้งในทะเลและบนแผ่นดิน 175 ครั้ง และมีน้ำมันปริมาณกว่า 10,000 เมตริกตันรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยน้ำมันเพียง 1 ลิตรที่รั่วไหลเข้าไปในระบบน้ำประปา จะส่งผลให้น้ำดื่ม 1 ล้านแกลลอนปนเปื้อนไปโดยปริยาย

🖼️อาสาสมัครทำความสะอาดชายหาดที่มีคราบน้ำมันด้วยพรมเส้นผม

ทั้งนี้ ยังมีปรากฏการณ์น้ำมันรั่วที่ไม่เป็นข่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากน้ำมือมนุษย์และน้ำมันที่รั่วซึมตามธรรมชาติทั้งใต้ดินและในทะเล ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถปนเปื้อนในระบบน้ำประปาได้ทั้งสิ้น

และไม่จำเป็นว่าพรมและทุ่นเส้นผมจะต้องเอาไปใช้เฉพาะกรณีเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างน้ำมันรั่วไหลเท่านั้น แต่ยังสามารถเอามาใช้กั้นน้ำมันตามท้องถนนหรือไขมันจากร้านอาหารไหลลงท่อระบายน้ำในเมืองได้อย่างเห็นผล

🖼️พรมเส้นผมสามารถนำมาใช้กั้นน้ำมันตามท้องถนนหรือไขมันจากร้านอาหารไหลลงท่อระบายน้ำได้

ปัจจุบัน Matter of Trust ขยายเครือข่ายไปยังองค์กรท้องถิ่นใน 17 ประเทศทั่วโลก เช่น ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น ชิลี รวันดา ฯลฯ เพื่อให้แต่ละประเทศลงมือผลิตพรมเส้นผมได้เอง ด้วยความที่รูปแบบของพรมและทุ่นเส้นผมไม่ได้มีการจดสิทธิบัตร ทำให้องค์กรที่ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศสามารถลงมือผลิตพรมและทุ่นเส้นผมได้โดยไม่มีเงื่อนไข เช่น ที่ประเทศอังกฤษมีหัวเรี่ยวหัวแรงหลักอย่าง Green Salon Collective ที่นอกจากจะนำเส้นผมที่ซาลอนทั่วเกาะอังกฤษมาทำเป็นทุ่นลอยและพรมเส้นผมแล้ว ยังมุ่งมั่นรณรงค์ให้อุตสาหกรรมร้านทำผมในอังกฤษร่วมกันลดขยะอย่างยั่งยืนอีกด้วย

โกติเยร์ย้ำว่าอยากให้ความเคลื่อนไหวนี้เติบโตและแพร่ขยายไปทั่วโลก เพราะไม่ว่าใครก็สามารถรวบรวมเศษเส้นผมและเส้นขนกองพะเนินมาเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องรอให้เรือน้ำมันลำต่อไปล่มลงในทะเลเสียก่อน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู