ทำไมโลกถึงร้อน

โลกร้อนประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพถูมิอากาศซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลกระทบโดยตรง เดิมที โลกมีอากาศห่อหุ้มอยู่ กักเก็บความร้อนไว้เฉพาะที่จำเป็น แต่เมื่อมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ทำให้โลกกักเก็บความร้อนมากขึ้น เปรียบเทียบได้กับการจอดรถตากแดด ในรถก็กักเก็บความร้อนไว้ ภาวะโลกร้อนขึ้นเริ่มเกิดเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา การร้อนขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ การเผาไหม้ของพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน ถ่านหิน ที่มากขึ้นทุกวัน มีก๊าซที่มาจากภาคการเกษตร เช่น การเลี้ยงวัวจำนวนมาก การหมักของพืช แต่ก็น้อยกว่าการใช้พลังงานของภาคอื่นๆ

ฤดูกาลเปลี่ยนเกิดจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ดินร้อนกว่าน้ำ ลมพัดเอาไอน้ำจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง ทำให้มีฝนมากขึ้นในบางพื้นที่ แต่บางพื้นที่ก็แล้ง เมื่อไอน้ำลอยเข้ามาในพื้นดินที่ร้อนก็ลอยสูงขึ้น และกลั่นตัวเป็นฝน ซีกโลกภาคเหนือจะร้อนกว่าซีกโลกภาคใต้ ในอีกอีก 70-80 ปีข้างหน้าจะร้อนขึ้นกว่า 30 องศา ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศเราจะโทษโลกร้อนซึ่งไม่ใช่สาเหตุเดียว ปัญหาเรื่องโลกร้อน เมื่อดูย้อนหลังและดูอนาคต จะพบว่าอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลมีการเลี่ยนแปลง เช่น ถ้าหย่อมแถบแอฟริกาเย็นกว่า ลมก็จะพัดไปทางนั้น ทำให้บ้านเราฝนแล้ง และพื้นดิน
ในส่วนของประเทศไทย ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ย 20 กว่าองศา เมื่อยี่สิบปีขึ้นไป เพิ่มอีก 2-3 องศา และอีก 70-80 จะเพิ่มกว่าสามสิบองศา และหน้าร้อนจะยาวขึ้น เช่นในอีก 20 ปีข้างหน้าจะร้อนขึ้นอีก 2-3 เดือน ในภาคเหนืออีก1 เดือน อุณหภูมิจะขึ้นไปประมาณ 20 กว่าองศา เรื่องฝน ประเทศไทยล้อมด้วยทะเล ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ พัดขึ้นเหนือ ทำให้ฝนมากขึ้น แต่วันที่ฝนตกเท่าเดิม คือ ฝนในแต่ละวันจะตกมากขึ้น
สาเหตุหลักของภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติ
เกิดจากการใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะคนเปลี่ยนชนิดของการใช้พลังงาน เมื่อโลกร้อนขึ้นทำให้สภาพภูมิอากาศ เช่น ปริมาณฝนและฤดูกาลเปลี่ยนไปจากเดิม แนวโน้มในอนาคต คาดการณ์ 20 ปี ข้างหน้า คือ โลกภาคเหนือจะร้อนขึ้นกว่าโลกภาคใต้ ประเทศไทยจะร้อนขึ้น 1-2 องศา แต่ถ้า 70 ปี อากาศข้างหน้าจะร้อนขึ้น 5-6 องศา จะเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวมหาสมุทร
ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบในประเทศไทย
ภาคเหนืออุณหภูมิเฉลี่ย 27-28 องศาต่อปี แต่ในอนาคตจะอุ่นขึ้นในอีกสิบปี แต่หลังจากนี้ 70 ปี จะร้อนขึ้น 3-4 องศา แต่จะรุนแรงในบริเวณภาคกลางแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา
วันที่ร้อนในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ที 3-4 เดือน แต่ต่อไปหน้าร้อนจะยาวขึ้นเป็น 5-6 เดือน และจะมากขึ้นในรุ่นหลาน และในเวลากลางคืนอากาศจะอุ่นขึ้น วันที่อากาศจะเย็นกว่า 16 องศาอาจจะไม่มีอีกเลย อุณหภูมิอาจจะอยู่ที่ 20 องศา ส่วนหน้าหนาวจะสั้นลง

ฝน ในระยะ 20 ปี ข้างหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้น ปริมาณฝนจะมากขึ้น ฝนจะตกหนักขึ้นในแต่ละวันละ แต่ระยะเวลาหน้าฝนอาจจะเท่าเดิม
ดังนั้น โดยสรุป อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดจะแพร่ขยาย ช่วงเวลาอากาศร้อนจะยาวนานขึ้น ฤดูหนาวสั้นลง ปีที่แล้ง น้ำท่วมมีบ่อยมากขึ้น

ผลกระทบต่อพื้นที่ภาคเหนือ
ประเมินจากพื้นที่การทำมาหากินในพื้นที่ ส่วนใหญ่ทำนาในจ.เชียงราย พะเยา พื้นไร่กระจายในจ.น่าน มีพื้นที่ป่าเป็นส่วนใหญ่ แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ มีวันที่อากาศร้อนกว่า 35 องศา เพิ่มขึ้น อีกสิบปีข้างหน้าจะมีพื้นที่ที่มีอากาศร้อนขึ้น 3-4 สัปดาห์ อาจจะไม่มากในทางจ.น่าน แต่อีก70 ปี จะร้อนขึ้นเกือบทั้งภาค 

โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ในเชิงอุณหภูมิภาคเหนือ ตอนบนอาจจะลดลงเหลือเท่ากับภาคเหนือตอนล่าง ระยะสั้นอาจจะมีเมฆเพิ่มขึ้น แต่ระยะยาวพื้นที่ส่วนใหญ่จะร้อนนานขึ้น 3-4 สัปดาห์ อุ่นขึ้นเกือบทั้งพื้นที่ หน้าหนาววันที่อุณหภูมิกลางคืนต่ำกว่า 16 องศาจะน้อยลง หน้าหนาวจะสั้นลง 3-4 สัปดาห์ 

โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอน ปริมาณฝน ในช่วงสิบปีข้างหน้า เกือบทุกจังหวัดจะมีฝนเพิ่มขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ แต่อีก50 ปีข้างหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้น บางพื้นที่แล้ง แต่น่านและแม่ฮ่องสอนตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น วันที่ฝนตกจะมีแนวโน้มฝนตกหนักขึ้น ปัญหาของภาคเหนือตอนบนอาจเป็นน้ำป่าไหลหลาก ส่วนภาคกลางคือน้ำท่วมมากขึ้นในช่วงลอยกระทง

ผลกระทบทางด้านเกษตร
มีผลทางด้านผลผลิต ข้าวนาปีอาจจะไม่ได้รับผลมากนัก แต่ความเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติมากขึ้น แต่ทางด้านข้าวนาปรังเขตเจ้าพระยาจะได้รับผลกระทบทางด้านผลผลิต สำหรับไม้ผลยังไม่มีการศึกษามากนักในตอนนี้
ฝนที่มากขึ้นอาจจะมีผลต่อการให้ปุ๋ย เนื่องจากมีการชะของน้ำฝน
แมลงศัตรูพืชอาจจะมากขึ้น เพราะอากาศร้อนและชื้น ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโต และอาจทำให้มีชีวิตได้ยาวขึ้น อาจมีผลทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก มาเลเลียมากขึ้นและถี่บ่อยมากขึ้น

ความเหมาะสมของที่ดินในการผลิตจะมีผล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลูกพื้นฤดูหนาว น่าจะมีผลในชั่วอายุคน
การเก็บใช้ของป่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
น้ำ แม้ปริมาณน้ำฝนจะมากขึ้นแต่ฤดูฝนไม่ได้ยาวขึ้น จะมีผลทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขา และถ้ายิ่งมีการลุกล้ำทำลายป่าจะมีโอกาสดินถล่มมากขึ้น
พายุจะเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างจากลุ่มน้ำสงครามพบว่าชุมชนที่อยู่ริมน้ำจะถูกน้ำท่วมได้บ่อยขึ้น

สำหรับข้าวนาปีอาจจะไม่มีผลมาก แต่ถ้าเป็นข้าวนาปรังจะมีผลกระทบมาก เพราะข้าวนาปรังจะไม่ทนต่ออากาศร้อน เช่น เกิน 36 องศาไม่ได้ และจะทำให้เกิดผลผลิตลดลงอย่างรุนแรง รวมถึงมันสำปะหลัง สำหรับไม้ผลจะมีผลค่อนข้างมากหากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป มีผลต่อการออกดอก และการแพร่ระบาดของแมลง ซึ่งอาจจะไม่ได้เพิ่มปริมาณ แต่ส่งผลเรื่องของระยะเวลาการระบาดของแมลงที่นานขึ้น เช่น กรณีของแมลงวันทอง ที่เจาะมะม่วงในช่วงที่มะม่วงกำลังผสมเกสร เพราะหน้าหนาวสั้นลง พืชบางตัวอาจจะออกผลดีขึ้น แต่ความผันผวนของอากาศอาจมีผลทำให้เกิดความเสียหายได้รุนแรงขึ้น
การใช้สารเคมีมีผลกับโลกร้อน วิธีการให้ปุ๋ยอาจจะต้องเปลี่ยน เพื่อป้องกันการระเหยไปอาจต้องใช้ระบบการฝังกลบ และนอกจากนี้วิธีการผลิตปุ๋ยเองก็ใช้พลังงานมาก สำหรับภาคเกษตรนั้นอาจจะมีการปล่อยก๊าซบ้าง แต่การผลิตอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่เราอาจต้องไปลดในภาคอื่น และอาจจะต้องปรับตัวใช้เทคนิคการฝังกลบมากขึ้นเพื่อลดการหมักหมมของก๊าซในไร่นา

อย่างไรก็ตาม โลกร้อนอาจจะไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ถ้าเราพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ปัญหาโลกร้อนขึ้นอยู่กับที่ตั้งและการเกิดขึ้นร่วมกันของทั้งโลก เราต้องเข้าใจรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงนั้น เราอาจต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพิ่มความยืดหยุ่นรองรับความแปรปรวน ผันผวน
การรับมือทำฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องทำร่วมกันว่าความเสี่ยงของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง การทำมาหากิน และการปรับตัวรับมือ ความยืดหยุ่น
หากเราเริ่มปรับตัววันนี้ แต่หากเราไม่ได้ทำอะไร เราก็รอรับผลกระทบ

ประเด็นที่ควรพิจารณา
การปลูกไม้ยืนต้น เพื่อกักเก็บดูดซับก๊าซเรือนกระจก
ต้องทำความเข้าใจว่าแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร ต้องคิดเรื่องการปรับตัวในรุ่นลูกหลาน เพื่อให้วิถีชีวิตสามารถรับมือกับปัญหาได้
การปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนนั้นลำพังฝ่ายหนึ่งฝ่ายหนึ่งคิดกันเองไม่ได้ ต้องร่วมกัน ความเสี่ยงของแต่ละชุมชนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการทำมาหากิน ที่ตั้ง ต้องมีการนั่งคุยกันเพื่อดูว่าที่ตั้งของชุมชน การทำมาหากินของเขานั้นสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไขปริศนาวงกลมครอปเซอร์เคิล Crop Circles

มาทำความรู้จักกับ งู Green Mamba

เกาะงูนรก Ilha da Queimada Grandeเกาะมรณะแห่งบราซิลที่ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยงู