ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนต่อพืชและสัตว์

ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนต่อพืชและสัตว์
รศ. ดร. สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

(ภาพประกอบ)


สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง กลับมาพบกับดิฉันอีกครั้งแล้วนะคะ ท่านผู้ฟังคิดเหมือนดิฉันไหมว่าสภาพอากาศทุกวันนี้เริ่มที่จะร้อนมากขึ้นทุก ขณะ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากปัญหาโลกร้อนนั่นเอง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เราทุกคนจะละเลยไม่ได้แล้วเพราะมันเริ่มส่งผลกระทบที่ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และดิฉันได้เคยนำเสนอปัญหานี้ให้ท่านผู้ฟังได้รับฟังไปครั้งหนึ่งแล้วถึง สาเหตุและผลกระทบของปัญหาโลกร้อนไปบางส่วน และได้สัญญากับท่านผู้ฟังไว้ว่าหากมีโอกาสจะนำเสนอถึงผลกระทบของปัญหานี้ให้ ท่านผู้ฟังได้รับฟังกันต่อ ซึ่งในวันนี้ดิฉันก็ได้ไปรวบรวมข้อมูลมานำเสนอแก่ท่านผู้ฟังตามคำสัญญาค่ะ หากท่านผู้ฟังได้ติดตามเรื่องราวที่ดิฉันนำเสนอไปจะทราบดีว่าปัญหาโลกร้อน นั้นส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ผลกระทบที่สำคัญต่อมนุษย์คือ การเกิดภัยธรรมชาติ สภาพอากาศแปรปรวนและอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งได้นำเสนอไปในครั้งก่อนแล้ว จากผลกระทบเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบตามมาอีกหลายประการ รวมถึงผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากทุกสิ่งในโลกมีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอยู่ ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยพืชและ สัตว์จะเริ่มรับรู้และเกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เร็วและได้รับ ผลกระทบมากกว่ามนุษย์หลายเท่า
จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบของโลกร้อนต่อพันธุ์พืชพบว่า มีพืชหลายสายพันธุ์มากที่สูญพันธุ์ไปจากวิกฤติโลกร้อน เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งยังพบอีกว่าที่บริเวณขั้วโลกพืชบางชนิดที่สาบสูญไปเริ่มฟื้นคืนชีพ ขึ้นมาเนื่องจากน้ำแข็งที่ขั้วโลกเริ่มละลาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อและระบบนิเวศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมา คือ สัตว์ต่างๆ ที่ดำรงชีวิตในธรรมชาติอยู่เริ่มที่จะดำรงชีวิตได้ยากลำบากมากขึ้นจากการขาด แคลนอาหารและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนก โดยส่งผลต่อพฤติกรรมของนก อาณาเขตและการเคลื่อนย้ายประชากรของนก โดยเฉพาะนกที่ไม่มีพฤติกรรมการอพยพที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมขนาดเล็ก แม้แต่นกที่มีความสามารถในการอพยพก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ยากเนื่องจากความแปร ปรวนของฤดูกาลทำให้นาฬิกาชีวภาพของนกเริ่มเกิดความสับสนและปรับตัวได้ยาก มีนกหลายชนิดมากที่สูญพันธุ์ไปแล้วและมีนกอีกหลายชนิดมากที่กำลังเสี่ยงต่อ ภาวะใกล้สูญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นนกเป็ดน้ำในแถบอเมริกาเหนือที่ 3 ใน 4 ของประชากรกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นกเพนกวินลดลงร้อยละ 50 จากการขาดแคลนอาหารและสภาพอากาศไม่เหมาะแก่การผสมพันธุ์ นอกจากนี้นกอินทรีย์สีน้ำตาลปนเหลืองแห่งทะเลทรายกาลาฮารีประเทศแอฟริกา เริ่มจะหายสาบสูญ รวมไปถึงนกกระเรียนไซบีเรียซึ่งปกติมีจำนวนเพียง 3,000 ตัวทั่วโลก ก็เริ่มลดจำนวนลงไปมาก นกทะเลสายพันธุ์ต่างๆ ก็ลดจำนวนลงมาก สาเหตุสำคัญมาจากการขาดแคลนอาหารซึ่งก็คือปลาทะเล เพราะปลาทะเลเองก็มีปริมาณที่ลดลงมากอย่างน่าเป็นห่วงเนื่องจากอุณหภูมิที่ สูงขึ้นของน้ำทะเล ทำให้มีการผสมพันธุ์และวางไข่ได้น้อยลง รวมถึงมลพิษที่เพิ่มขึ้นและถูกจับโดยมนุษย์มากเกินไป ปลาและสัตว์ทะเลหลายชนิดเริ่มสูญพันธุ์ทำให้ระบบนิเวศเริ่มสูญเสียความหลาก หลายทางชีวภาพไป การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนี้จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ เนื่องจากในธรรมชาติการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะเป็นในรูปแบบของห่วงโซ่ อาหาร หากสิ่งมีชีวิตภายในห่วงโซ่มีปริมาณลดลงสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งอยู่ในระดับล่าง หรือบนของห่วงโซ่อาหารก็จะมีปริมาณลดลงไปด้วย จากการศึกษาพบว่าปริมาณปลาและสัตว์ทะเลที่ชาวประมงจับได้ในทะเลเปิดลดลง เหลือเพียง 1 ใน 3 และเมื่อคิดทั่วทั้งมหาสมุทรพบว่าปริมาณที่จับได้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 13 และกำลังลดลงเรื่อยๆ ในจำนวนนี้มีประมาณร้อยละ 29 ของชนิดปลาและสัตว์ทะเลที่ชาวประมงจับมาเป็นอาหารมีปริมาณการจับได้ลดลงถึง ร้อยละ 90 ซึ่งหากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ภายในปี ค.ศ. 2048 ปลาและอาหารทะเลจะหมดไปจากโลก ซึ่งหมายความว่ามนุษย์เรากำลังเสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนอาหาร
สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่าง มากจากวิกฤติการณ์โลกร้อน สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของสิ่งแวดล้อมได้ไวที่สุดโดยเฉพาะ กบ คางคก ซาลาแมนเดอร์ซึ่งเป็นสัตว์คล้ายกิ้งก่าและซิวีเลียนซึ่งเป็นสัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบกที่ไม่มีขา เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากผิวหนังของสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกมีการไหลซึมของ อากาศและของเหลวได้สูงจึงไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำและอากาศ ซึ่งขณะนี้พบว่ามี 113 สายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปและแล้ว 1 ใน 3 ของประชากรกำลังจะสูญพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่เหลือก็เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว การลดลงของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างรวดเร็วนี้เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าสภาพแวด ล้อมของเรากำลังมีปัญหาอย่างมากเพราะสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานก่อนสิ่งมีชีวิตอื่นและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดี แต่ขณะนี้กำลังลดจำนวนลงอย่างน่าเป็นห่วงจากวิกฤติปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของอากาศ มลพิษที่เพิ่มขึ้น การระบาดของโรคติดเชื้อรา การรุกรานของสัตว์สปีชีส์อื่นและการล่าโดยมนุษย์
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นตัววอลลัส ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายแมวน้ำแต่ขนาดใหญ่กว่ามาก บางตัวมีน้ำหนักถึง 1.6 ตัน และมีเขี้ยวสองข้างสีขาวยาวคล้ายงา ตัววอลลัสนี้โดยปกติจะพบเห็นได้ทั่วไปเมื่อล่องเรือสำรวจ จะพบอยู่กันเป็นกลุ่ม แต่ขณะนี้เริ่มจะหาดูได้ยากมากเนื่องจากการละลายของน้ำแข็งทำให้การหาอาหาร ลำบากมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้หมีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของขั้วโลกก็กำลังเผชิญกับภาวะขาด แคลนอาหารอย่างหนัก เนื่องจากน้ำแข็งที่ละลายเร็วขึ้นทำให้พวกมันจับแมวน้ำได้ยากขึ้นและมีหลาย ตัวที่จมน้ำตาย นอกจากหมีขาวและวอลลัสแล้วสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดก็กำลังได้รับผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อนด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่พวกเค้าไม่ได้ก่อขึ้น แต่กลับต้องมาได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าที่มนุษย์ได้รับ มนุษย์เราบางคนอาจมองว่าการสูญพันธุ์ของสัตว์ยังไม่ใช่เรื่องที่สำคัญแต่หาก ในสักวันหนึ่งถึงวันที่มนุษย์ต้องสูญพันธุ์บ้างทุกคนยังจะคิดว่ามันเป็น เรื่องไม่สำคัญอยู่หรือไม่ บางคนอาจจะคิดว่าเป็นไปได้ยาก แต่หากพืชและสัตว์กำลังสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ เช่นนี้สักวันมนุษย์เราก็จะขาดแคลนอาหารเพราะอย่าลืมว่าเราก็เป็นสิ่งมี ชีวิตหนึ่งที่อยู่ในลำดับขั้นของห่วงโซ่อาหารเช่นกัน เพราะฉะนั้นปัญหานี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาแล้ว พบกันใหม่โอกาสหน้ากับดิฉันพร้อมแนวทางในการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ดิฉันจะนำมา ฝาก เพื่อที่เราจะได้มาร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ด้วยกันนะคะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

เอกสารอ้างอิง
บัณฑิต คงอินทร์. 2550. รุก-รับ “โลกร้อน” ก่อนโลกหายนะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมฆสีมุก เมฆสารพัดสีปรากฏการณ์เมฆแปลกๆที่หาดูได้ยากมาก

Troll A นอร์เวย์ แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก...

อารยธรรมต่างดาวอาจตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือของเราได้