บทความ

Desert Cabin ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย จากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต

รูปภาพ
ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย Desert Cabin ทำจากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต Desert Cabin ที่พักขนาดเล็กกลางทะเลทราย จากวัสดุเหลือทิ้ง พร้อมดาดฟ้ามีชีวิต Sara Underwood และ Jacob Witzling ได้เริ่มโปรเจค Cabinland โดยพวกเขาได้สร้างที่พักกระท่อมขนาดเล็ก ตามพื้นที่ธรรมชาติต่างๆสุดแปลกและสวยงาม ล่าสุดพวกเขาได้สร้าง Desert Cabin ที่พักกลางทะเลทราย ในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นบ้านไม้ขนาดเล็ก โดยใช้วัสดุไม้เก่าเหลือใช้ทั้งหมด ที่พักกลางทะเลทรายของพวกเขามีความสวยงามแปลกตา เป็นทรงกล่อง มีบันไดไม้ขึ้นไปดาดฟ้า ซึ่งเป็นดาดฟ้าที่มีที่นั่งเล่น พร้อมปลูกแคคตัสไว้ด้วย ลดมลภาวะเป็นพิษและดัดแปลงเอาสิ่งเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ช่วยลดภาวะโลกร้อนไปในตัว...

โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อน เปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรคเชื้อปรสิตใหม่ๆสู่ มนุษย์

รูปภาพ
โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อน เปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรคเชื้อปรสิตใหม่ๆสู่ มนุษย์ โลกยิ่งร้อน โรคยิ่งแพร่! นักวิจัยเตือนโลกร้อนเปลี่ยนถิ่นอาศัยสัตว์ เร่งการแพร่กระจายเชื้อโรค-เชื้อปรสิตไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของเชื้อโรคสู่มนุษย์ คาดภายใน 50 ปีข้างหน้า จะมีเหตุการณ์เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์อย่างน้อย 15,000 เหตุการณ์ นักวิจัยเตือนว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า อาจมีเหตุการณ์เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์อย่างน้อย 15,000 เหตุการณ์ เนื่องจากโลกที่กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยเร่ง ที่ส่งผลให้สัตว์ต้องย้ายถิ่นอาศัย เพราะไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมได้ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะนำเชื้อโรคและเชื้อปรสิตไปยังพื้นที่ใหม่ จนเกิดการแพร่กระจายระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ‘zoonotic spillover’ หรือการแพร่กระจายของเชื้อจากสัตว์สู่คน โดยมีแนวโน้มว่าอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ ที่มีความรุนแรงของการระบาดเทียบเท่ากับโรคโควิด-19 ทั้งนี้นักวิจัยคาดว่าในธรรมชาติ มีเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่มาสู่มนุษย์ได้อีกกว่า 10,000 ชนิด นอกจา

คลื่นความร้อน ทำอินเดีย อ่วม! อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 องศา นักวิทย์หวั่นโลกรวนกระทบหนัก..

รูปภาพ
คลื่นความร้อน ทำอินเดีย อ่วม! อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 องศา นักวิทย์หวั่นโลกรวนกระทบหนัก.. เรากำลังอยู่ในนรก! พื้นที่อินเดีย เอเชียใต้เผชิญคลื่นความร้อน อุณหภูมิบางแห่งพุ่งแตะ 50 องศาเซลเซียส นักวิทย์ชี้เป็นสัญญาณของสิ่งที่กำลังจะมาถึงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในช่วงนี้พื้นที่เอเชียใต้ ทั้งอินเดีย และปากีสถาน กำลังเผชิญคลื่นความร้อนอย่างหนัก อุณหภูมิสูงแตะ 40 องศา ในบางพื้นที่อุณหภูมิเกือบสูงแตะ 50 องศาเซลเซียส และเริ่มมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด หรือ Heatstroke โดยในพื้นที่รัฐ Maharashtra มีผู้เสียชีวิตจากความร้อนแล้ว 25 คน สภาพอากาศที่ร้อนสุดขีดแบบนี้ เป็นระดับที่ไม่ปกติสำหรับอุณหภูมิช่วงเดือนเมษายน หลายพื้นที่เผชิญการขาดแคลนน้ำ และพลังงาน หลายพื้นที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โรงเรียนในบางรัฐต้องปิดชั่วคราวเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความร้อนยังส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้ผู้คนรายได้ต่ำจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศได้ อีกทั้งการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สภาพอากาศที่ร้อนรุนแรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ย

งานวิจัยชี้สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาจสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ หากโลกยังร้อนขึ้น

รูปภาพ
งานวิจัยชี้สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาจสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ หากโลกยังร้อนขึ้น ขึ้นต่อเนื่อง อุณภูมิมหาสมุทรสูงขึ้น และขาดออกซิเจน วอนเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้าย งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Journal Science เตือนว่า สิ่งมีชีวิตในทะเลอาจเผชิญสภาพน้ำที่ร้อนเกิน และมีออกซิเจนน้อยเกินจะอยู่รอดได้ หากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมาก และโลกร้อนขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่ “หากเราไม่ลงมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสูญพันธุ์อาจสูงขึ้น ซึ่งมันเคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของโลกเรา” Curtis Deutsch นักวิจัยจาก Princeton University เผยงานศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่ทำการศึกษาเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในทะเลเมื่อ 252 ล้านปีก่อน โดยสิ่งมีชีวิตในทะเล 2 ใน 3 ได้สูญพันธุ์ไปในยุค Permian Period ซึ่งนักวิจัยได้คำนวณว่า ในปี ค.ศ. 2300 มหาสมุทรอาจเกิดการสูญพันธุ์หมู่ครั้งใหญ่  หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่อง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลงในพื้นที่เขตร้อน โดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดจะอพยพหนี ขณะสายพันธุ์ที่อยู่บริเวณขั้ว

แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล

รูปภาพ
แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล  งานวิจัยเผย แพขยะยักษ์แห่งแปซิฟิก Great Pacific Garbage Patch ที่มีขยะมหาศาลลอยตัวกลางทะเล กำลังกลายมาเป็นระบบนิเวศ ที่เป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเผยความกังวลผลกระทบต่อสัตว์เหล่านี้ หากมีการกำจัดขยะออกไป  แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) คือ 1 ใน 5 แพขยะในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มันเป็นแพขยะ ที่เป็นการรวมตัวกันของขยะพลาสติกจำนวนมาก ลอยตัวอยู่ภายในวงวนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (North Pacific Gyre) กินพื้นที่มากกว่า 610,000 ตารางไมล์ระหว่างแคลิฟอร์เนียและฮาวายมีขยะมากองอยู่ 79,000 เมตริกตัน ประกอบไปด้วยขยะหลากหลายชนิดทั้งตะขอ ตาข่าย ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ไมโครพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ  มีการประมาณว่า 80% ของขยะในแพนั้นมาจากบนบก ส่วนอีก 20% มาจากเรือที่แล่นไปมาในมหาสุมทร กระแสน้ำจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี ที่จะพัดเอาขยะเหล่านี้จากชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ และใช้เวลา 1 ปีจากชายฝั่งตะวันออกของเอเชีย จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์ว่า ภายในแพขยะแปซิฟิก มีเศษพลาสติกประมา

ปูยุคไดโนเสาร์ตัวแรกในอำพันอายุ 100 ล้านปีถูกระบุว่าเป็น " true crabs " ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

รูปภาพ
true crabs, อำพันอายุ 100 ล้านปี, ปูยุคไดโนเสาร์ ปูยุคไดโนเสาร์ตัวแรกในอำพันอายุ 100 ล้านปีถูกระบุว่าเป็น " true crabs " ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด การสร้างงานศิลปะของ Cretapsara athanata ฟอสซิลที่ติดอยู่ในอำพันให้ภาพรวมอันเป็นเอกลักษณ์ของกายวิภาคศาสตร์ ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดในอำพันที่เกิดจากเรซินที่ขับออกมาจากเปลือกไม้ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบกซึ่งส่วนใหญ่เป็นแมลง และมีโอกาสยากมากที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบอำพันที่มีสิ่งมีชีวิตในน้ำ ในปี 2015 นักวิจัยสองคนของพิพิธภัณฑ์ Longyin Amber บังเอิญไปเจอเครื่องประดับอำพันในตลาดแห่งหนึ่งในเมืองเถิงชง ประเทศจีน ซึ่งถูกค้นพบโดยคนงานเหมืองในเมียนมาร์ ชิ้นนี้มีปูตัวเล็กยาวห้ามิลลิเมตรฝังอยู่โดยไม่คิดว่าปูตัวนั้นจะเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของปู หลังจากศึกษาฟอสซิลมาหลายปี ทีมวิจัยได้เปิดเผยการค้นพบของพวกเขาในการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2021 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science Advances ระบุว่า มันเป็นปูตัวแรกจากยุค Cretaceous dinosaur ที่เก็บรักษาไว้ในอำพัน แล

เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ

รูปภาพ
เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ ขณะอุณหภูมิร้อนขึ้น เกิดเหตุไฟไหม้ภูเขาขยะยักษ์ใหญ่ในเดลีห์ อินเดีย สูงกว่าตึก 17 ชั้น ครั้งที 4 ในรอบเดือน ปล่อยควันพิษอันตรายต่อสุขภาพ ขณะอุณหภูมิร้อนขึ้น ขนะอินทรีย์ย่อยสลาย ปล่อยก๊าซมีเทน เพิ่มความเสี่ยงเผาไหม้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุไฟไหม้บ่อภูเขาขยะขนาดใหญ่ใน Bhalswa ทางตอนเหนือของเดลีห์ เมื่อคืนวันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา และไหม้อย่างเนื่อง ขณะเจ้าหน้าระดมกันเข้าไปพยายามดับไฟ โดยนี่ถือเป็นการไหม้ของบ่อขยะครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ของแหล่งทิ้งขยะของเดลีห์ในรอบ 1 เดือน โดย 3 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดการไหม้ของภูเขาขยะ Ghazipur ทางตะวันออกของเดลีห์ โดยควันไฟเหล่านี้เป็นมลพิษส่งผลกระทบต่อผู้คนใกล้เคียง อีกทั้งยังปนเปื้อนสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ ภูเขาขยะใน Bhalswa มีขนาดยักษ์ใหญ่สูงกว่าตึก 17 ชั้น พื้นที่ใหญ่กว่า 50 ขนาดฟุตบอล มีขยะเกินขีดจำกัด แต่ก็มีขยะจากเมืองนำมาทิ้งที่นี่กว่า 2,300 ตันต่อวัน โดยยะออร์แกนิกย่อยสลาย ปล่อยก๊าซมีเทนที่มักทำให้ติดไฟได้ง่า